เตือน! เดินเท้าเปล่าย่ำโคลน ระวังพยาธิไชเท้า เผยอาการเสี่ยงวิธีป้องกัน
โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เพราะอันตรายและสามารถเกิดขึ้นได้จริง ยิ่งฝนตกน้ำท่วม ยิ่งเสี่ยง เผยอาการและการป้องกันที่ดีที่สุด
ในช่วงหน้าฝน พายุเข้า วิกฤติน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก ในหลายจังหวัด และในบางพื้นที่น้ำก็ลดลงแล้ว เหลือไว้เพียงความเสียหาย หลายต่อหลายบ้านเริ่มเข้าสำรวจความเสียหายและทำความสะอาดบ้านเรือน และสถานที่ต่างๆที่เต็มไปด้วยสิ่งสกปรกดินโคลน ซึ่งหนึ่งข้อห้ามที่อยากเตือนคือการดินเท้าเปล่า หรือ การไม่ใส่ถุงมือก่อนทำความสะอาด เพราะ ดินโคลนเหล่านั้นอาจเต็มไปด้วยพยาธิที่ซ่อนตัวอยู่!
อย่าหาทำ! กินพยาธิตัวตืดสดๆ เสี่ยงแบคทีเรียปรสิต ฟักตัวอ่อนชอนไชทั่วร่าง!
“โรคตาแดง” โรคที่ต้องระวังช่วงฝนตกน้ำท่วม เผยอาการอันตราย-วิธีป้องกัน

ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง ระบุว่า โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากพยาธิตัวกลมระยะตัวอ่อนที่ชอนไชเข้าสู่ผิวหนัง โดยมักเกิดจากพยาธิปากขอที่พบในสัตว์หลายชนิด ที่พบบ่อยที่สุดคือ จากแมวและสุนัข จากวัว ควาย และพยาธิเส้นด้ายของสัตว์ สำหรับตัวจิ๊ดการเคลื่อนที่ตัวอ่อนของพยาธิจะอยู่ในผิวหนังชั้นลึกกว่า จึงทำให้เกิดอาการบวมแดง อักเสบและปวด ย้ายที่ไปมา ต่างกับกลุ่มพยาธิปากขอ เนื่องจากไม่ใช่ที่อยู่ของพยาธิเหล่านี้ ทำให้พยาธิไม่สามารถเติบโตเป็นตัวแก่ในคนได้ จึงไชอยู่ในผิวหนัง จนตายไปเอง หรือภูมิต้านทานของร่างกายมาจัดการหรือจากการรักษา
โดยพยาธิตัวอ่อนในระยะติดต่อพบในดินที่ชื้นแฉะที่ปนเปื้อนมูลสัตว์ และจะไชเข้าสู่ผิวหนังปกติ หรือผิวที่มีแผล ในคนที่เดินเท้าเปล่า หรือเด็กที่นั่งเล่นบนพื้นดิน หรือทรายบริเวณชายหาด
ป้องกันท้องร่วง โรคระบบทางเดินอาหารช่วงน้ำท่วม เผยอาหารปนเปื้อนง่าย
อาการของผู้ที่ถูกพยาธิไชผิว
- ผื่นบริเวณมือ เท้าหรือก้นที่สัมผัสกับดินทรายโดยตรง เห็นเป็นเส้นนูน แดง หรือตุ่มน้ำใส ขนาดประมาณ 3 มม. และอาจยาวถึง 20 ซม. คดเคี้ยวไปมาตามการไชของพยาธิ ซึ่งจะเคลื่อนที่ได้วันละ 2-3 มิลลิเมตร ถึงหลายเซนติเมตร มีอาการคันมาก
- อาการทางผิวหนังมักจะเกิดใน 1-5 วันหลังสัมผัส และคงอยู่ได้นาน 2-14 สัปดาห์หรือนานเป็นปี อาการอื่นๆ ที่อาจพบในผู้ป่วยบางราย เช่น อาการทางปอด เช่น ไอ หรือ ผื่นลมพิษ
การรักษาใช้ยาฆ่าพยาธิ ชนิด albendazole 400 มก.ต่อวัน นาน 3 วัน หรือ ivermectin รับประทานครั้งเดียว เป็นการรักษาที่ได้ผลดี เนื่องจากในประเทศไทยพบอัตราการเป็นโรคพยาธิปากขอสูงในแมวและสุนัข จึงมีโอกาสที่พยาธิปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมาก
การป้องกันพยาธิชอนไชเท้าที่ดีที่สุด
- สวมรองเท้าเวลาเดินเสมอ
- หลีกเลี่ยงการนั่งหรือสัมผัสบนดิน ทราย ที่อาจมีการปนเปื้อนมูลสัตว์
- ควรถ่ายพยาธิให้แมวและสุนัขเพื่อไม่ให้มีการแพร่ปรสิตสู่ดิน
- ขับถ่ายอุจจาระลงส้วมทุกครั้ง
- ที่สำคัญควรล้างมือบ่อย ๆ ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร และก่อนออกจากห้องน้ำ
- ล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้งหลังเดินย่ำน้ำย่ำโคลน
- มีแผลที่เท้าไม่ควรลุยน้ำ ย่ำโคลน
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการแพทย์
อาการ “โรคน้ำกัดเท้า” จากการเดินลุยน้ำ ระยะไหนควรระวัง-วิธีป้องกัน
โรคติดต่อและโรคติดเชื้อช่วงน้ำท่วม เผยอาการสัญญาณอันตรายและการป้องกัน