เบาหวาน กับ เบาจืด ต่างกันอย่างไร? ทำไมต้องสังเกตและระวัง!
เปิดข้อแตกต่างระหว่างเบาหวานและเบาจืด ที่ชื่อคล้ายกันแต่อาการและสาเหตุ ต่างกัน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงรู้ทันโรคได้
โรคเบาหวาน (Diabetes) คือความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง หรือต่ำเกินไป จนทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินต่อร่างกาย โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน แต่ในผู้ที่เป็นเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ได้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลต่อการทำลายหลอดเลือด
ชนิดโรคเบาหวานตามสาเหตุของโรค เช็กสัญญาณเสี่ยงโรคแทรกซ้อนอันตราย
“โรคเบาหวาน” กับความเชื่อชวนเข้าใจผิด เพิ่มผู้ป่วยหน้าใหม่ เข้าถึงการรักษาช้า!

หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ปัจจุบันพบว่าแนวโน้มของผู้เป็นเบาหวานมีอายุต่ำลงเรื่อยๆ ยิ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นโรคมากขึ้น
โดยคำว่า “เบาหวาน” มาจากคำว่า 'เบา' กับคำว่า 'หวาน' เบาก็คือปัสสาวะ ส่วนหวานในที่นี้หมายถึงการมีน้ำตาลผสมอยู่ 'เบาหวาน' จึงมีความหมายว่า ปัสสาวะหวาน นั่นเพราะมีน้ำตาลในปัสสาวะ
อาการเบาหวาน
- ปัสสาวะบ่อย
- กระหายน้ำมาก
- หิวบ่อย
- ชาตามมือ
- เหนื่อย อ่อนเพลีย
- แผลหายช้า
- คันตามผิวหนัง
- ตามัว
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
โรคเบาจืดต่างจากโรคเบาหวานอย่างไร?
โรคเบาจืด (Diabetes Insipidus) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายสูญเสียการควบคุมสมดุลของน้ำ ส่งผลให้ผู้ป่วยปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ความผิดปกติของต่อมใต้สมองหรือสมองส่วนไฮโปธาลามัส สามารถพบได้ทุกวัย โดย 100,000 คน จะพบผู้ป่วยเพียง 3-4 คน เท่านั้น แต่เป็นโรคที่ไม่มียารักษาให้หายขาด ต้องกินยาตลอดชีวิต
อาการของโรคเบาจืด
จะปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะครั้งละมากๆ ปัสสาวะมักไม่มีสีหรือกลิ่น เมื่อร่างกายเสียน้ำไปมาก ผลที่ตามมาคือ ผู้ป่วยจะกระหายน้ำบ่อย หากดื่มน้ำทดแทนส่วนที่เสียไปไม่ทันหรือไม่เพียงพอ จะเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง อาจทำให้ช็อกหรือหมดสติได้ สาเหตุหลักของโรคเกิดจากร่างกายไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนออกมาได้
เนื่องจากร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย นอกจากนี้อาจพบอาการปวดบริเวณเอว ท้องน้อย เนื่องจากการคั่งของปัสสาวะบริเวณท่อไต กรวยไต กระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้อวัยวะดังกล่าวโตขึ้น สาเหตุหลักของโรคเกิดจากร่างกายไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนออกมาได้ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณใกล้ต่อมใต้สมอง มีผลแทรกซ้อนตามมาทำให้เกิดโรคเบาจืด และไตผิดปกติแต่กำเนิด โดยเมื่อแรกเกิดมักไม่ค่อยแสดงอาการของโรคเบาจืด แต่จะแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 1-3 ขวบ หรือพบในบางรายเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยไม่สามารถรักษาให้หายขาด ผู้ป่วยต้องใช้ยาฮอร์โมนทดแทนตลอดชีวิต
วิธีคุมโรคเลี่ยง “เบาหวานขึ้นตา” รู้ทันอาการลดอัตราสูญเสียการมองเห็น
เบาหวานกับเบาจืดต่างกันอย่างไร
โรคเบาจืด คือ โรคที่ทำให้ร่างกายผลิตปัสสาวะมากเกินไป โดยอาจปัสสาวะมากถึง 20 ลิตร/วัน ซึ่งผู้ที่มีร่างกายปกติจะปัสสาวะเฉลี่ยเพียง 1-2 ลิตร/วัน เท่านั้น โดยโรคเบาจืดไม่เหมือนกับโรคเบาหวาน แม้ว่าจะมีอาการกระหายน้ำมากและมีการปัสสาวะมากขึ้นเหมือนกัน แต่โรคเบาหวานเกี่ยวข้องกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปและไตจะพยายามขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ ส่วนโรคเบาจืดจะมีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ แต่ไตมีความผิดปกติที่ไม่สามารถขับปัสสาวะได้อย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเบาหวานเบาจืด การรู้ทันโรคด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี กินดีออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายหากพบอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อรักการวินิจฉัยและรักษาอย่างตรงจุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโลพระประแดง,กรมการแพทย์และhellokhunmor
“ภาวะก่อนเบาหวาน” รู้ทันก่อนเป็นโรคเรื้อรังรักษายากอันตรายถึงชีวิต
ตรวจระดับน้ำตาลด้วยเครื่อง BGM ขั้นตอนใช้-วิธีการอ่านค่ารู้ทันเบาหวาน