ตรวจยีนเช็กความเสี่ยง “มะเร็งเต้านม” วางแผนป้องกันถึงระดับพันธุกรรม
มะเร็งเต้านม มะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิงทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็น อันดับ 1 ของหญิงไทย หนึ่งในวิธีป้องกัน คือ การตรวจยีน BRCA1 และ BRCA2 ซึ่งผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม ควรรับการตรวจหากพบความผิดปกติ แพทย์จะวางแผนป้องกัน ร่วมกับแมมโมแกรม (Mammogram) และอัลตราซาวนด์เป็นประจำทุกปี
มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิงทั่วโลกพบบ่อยเป็น อันดับ 1 ของหญิงไทย และคร่าชีวิตไปเป็นจำนวนมากเพราะไม่มีอาการแรกเริ่ม บางรายกว่าจะรู้ตัวมะเร็งก็ลุกลามรุนแรงจนคุมไม่อยู่ รักษาไม่ทัน ซึ่งหนึ่งในปัจจัยการก่อโรคคือ การกลายพันธุ์ของยีนที่ส่งต่อทางพันธุกรรมได้
จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุไว้ว่า ยีน BRCA1 และ BRCA2 เป็นยีนที่อยู่ในกลุ่มสร้างโปรตีนช่วยซ่อมแซม DNA จึงมีบทบาทช่วยให้เซลล์มีความเสถียร
“มะเร็งเต้านม” คัดกรองด้วยแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์ รู้ทันโรคก่อนลุกลาม
“ภูมิคุ้มกันบำบัด” นวัตกรรมรักษามะเร็งเต้านมแบบใหม่ เพิ่มโอกาสหายขาด
เมื่อมีการกลายพันธุ์ (Mutation) อาจส่งผลให้เซลล์มีโอกาสเกิดความผิดปกติ เพิ่มโอกาสการเกิดโรคมะเร็งเต้านมที่สืบทอดทางพันธุกรรมได้
ความผิดปกติของยีน BRCA1 และ BRCA2 สามารถตรวจพบได้
- การตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรม (DNA) ในยีน BRCA1 และ BRCA2 (Gene Mutations)
- การตรวจดูความผิดปกติของโปรตีนที่สร้างมาจากยีนที่ผิดปกติเหล่านี้
- อาจใช้หลายๆ วิธีร่วมกัน ซึ่งการตรวจนี้ทำได้โดยการเก็บตัวอย่างเลือด และส่งไปตรวจยังห้องปฏิบัติการพิเศษ ฯลฯ
นพ.สาธิต ศรีมันทยามาศ ผู้อำนวยการศูนย์เต้านม โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ระบุว่า การตรวจยีนมีประโยชน์มาก เพราะสาเหตุการเกิดมะเร็ง เกิดจาก 2 ปัจจัยหลักๆ คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งปัจจัยจากพันธุกรรม โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหลายคน และญาติสายตรง หากพบว่ามียีนผิดปกติ ก็จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่า 70%
นพ. สาธิต ระบุว่า อันที่จริงผู้ป่วยสามารถตรวจยีนได้ตั้งแต่เกิด แต่แพทย์จะแนะนำให้ตรวจได้ตั้งแต่วัยรุ่น หากตรวจเจอความเสี่ยงก็สามารถวางแผนรับการผ่าตัดเต้านม และเสริมซิลิโคนหรือการใช้ยาเพื่อลดโอกาสการเป็นมะเร็งได้
ผู้ที่ควรตรวจหาความผิดปกติของยีน BRCA
- ผู้มีประวัติบุคคลในครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
- มีประวัติผู้ป่วยในครอบครัวอย่างน้อย 3 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม
- ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 45 ปี
- ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกช่วงอายุ ที่เป็นมะเร็งเต้านมแบบ triple negative หรือเป็นมะเร็งเต้านมในผู้ชาย
นอนไม่หลับเกิดจากอะไร? มีวิธีไหนบ้างที่ช่วยทำให้นอนหลับ?
วิธีจัดการหลังจากตรวจพบว่ามีความผิดปกติของยีนแต่ยังไม่ได้รับการผ่าตัดรักษา คือการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่ได้มียีนผิดปกติควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเช่นกัน ได้แก่ การตรวจเกี่ยวกับโรคมะเร็งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ตรวจพบโรคมะเร็งและรับการรักษาได้แต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม (Mammogram) และอัลตราซาวนด์ทุกปี การคลำเต้านมด้วยตนเอง หรือ การตรวจอื่น ๆ เช่น การตรวจโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการวางแผนร่วมกับแพทย์ในการผ่าตัดเต้านมออก ร่วมกับการปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ ความอ้วน การใช้ยาคุมกำเนิดการใช้ยาบางชนิดก็จะช่วยลดโอกาสก็ลุกลามของโรคมะเร็งเต้านมได้
ทั้งนี้โรคมะเร็งเต้านม คือภัยร้ายของผู้หญิงทุกคน ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำเนื่องจากปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาช่วยตรวจหาและป้องกันได้ง่ายขึ้น
วางแผนตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ ป้องกันการส่งต่อไปยังลูกคนที่ 2 ได้
ตาเข ตาเหล่ ในเด็ก รีบรักษาก่อนมี“ภาวะตาขี้เกียจ”อันตรายถึงขั้นตาบอดได้