“มะเร็งเต้านม” 6 วิธีลดเสี่ยงโรค แพทย์เผยอายุเท่าไหร่ควรตรวจแมมโมแกรม?
มะเร็งเต้านม หนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตในหญิงไทย แนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ นับเป็นภัยใกล้ตัวที่ต้องระวัง แพทย์เผย 6 ข้อช่วยลดความเสี่ยงได้
มะเร็งเต้านมสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันมะเร็งเต้านมจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย
6 วิธีลดเสี่ยงและป้องกันมะเร็งเต้านม
- การตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน
หากคลำเจอก้อนได้เร็วย่อมรักษาได้เร็ว นอกจากนี้ หลังอายุ 35 ปีขึ้นไปควรตรวจเต้านมกับแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางและตรวจแมมโมแกรม
น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำมะพร้าว คุณผู้หญิงดื่มเยอะเสี่ยงมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่?
ตรวจยีนเช็กความเสี่ยง “มะเร็งเต้านม” วางแผนป้องกันถึงระดับพันธุกรรม

เพื่อเช็กความผิดปกติของเนื้อเยื่อเต้านม ทุก 2 – 3 ปี และหลังอายุ 40 ปีควรตรวจเป็นประจำทุกปี แต่ในกรณีที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งเต้านมควรต้องตรวจแมมโมแกรมทุกปีตั้งแต่อายุ 35 ปี เพราะหากพบเจอความผิดปกติจะได้รับมือให้ทันท่วงที
- คุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า 1 ใน 5 หรือ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวที่เพิ่มสูงขึ้น และข้อมูลจากสมาคมการวิจัยเพื่อการป้องกันโรคมะเร็งประเทศสหรัฐอเมริกา (American Institute for Cancer Research – AICR) ระบุว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เซลล์ไขมันยังคงผลิตและมีการหลั่งฮอร์โมนเข้าไปในกระแสเลือดอยู่ตลอดเวลา จึงกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ ผู้หญิงวัยนี้จึงควรคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด เน้นกินโปรตีนที่ดีและลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต
- เลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์
ธัญพืชไม่ขัดสี อาทิ ถั่วเหลือง เมล็ดแฟลกซ์ ฯลฯ รวมถึงเนื้อปลาช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมได้ โดยสัดส่วนการรับประทานอาหารที่แนะนำคือ กินผักผลไม้ 2 ใน 3 จากอาหารมื้อหลัก และกินเนื้อสัตว์เพียง 1 ใน 3 จากอาหารมื้อหลัก เพื่อให้อยู่ในระดับการกินอาหารที่พอดี นอกจากนี้การดื่มชาเขียวหรือชาดำ มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ช่วยป้องกันการเกิดเซลล์ร้ายในร่างกายได้
เช็ก! เจ็บเต้านมบ่อยแค่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง หรือ สัญญาณมะเร็งเต้านม!
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลงได้ เมื่อผู้หญิงอยู่ในวัยหมดประจำเดือน การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ โดยไม่ต้องออกกำลังกายแบบหักโหม แต่ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เน้นให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น แค่เดินเร็วก็เพียงพอแล้ว
- ห่างสารพิษเข้าร่างกาย
ไม่ว่าจะเป็นสารพิษจากผักผลไม้ที่ผ่านยาฆ่าแมลงหรือสารพิษจากบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คุณผู้หญิงควรหลีกเลี่ยงทั้งหมดเพราะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้ควรใส่ใจดูแลตัวเองเลือกรับสิ่งที่ดีต่อร่างกายปรับพฤติกรรมให้ห่างจากสารพิษในร่างกาย
- เสริมวิตามินช่วยลดเสี่ยง
อาหารเสริมที่ดีต่อสุขภาพเต้านมของผู้หญิงมีชื่อว่า Calcium D – Glucarate จากแคลเซียมและกรดกลูคาริกที่ร่างกายผลิตได้น้อย มักพบในพืชกระกูลกะหล่ำ เป็นต้น นอกจากลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ยังช่วยให้ตับขับฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปริมาณที่รับประทานควรเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้วิตามินดี วิตามินซี วิตามินรวมสามารถรับประทานเสริมได้ แต่ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เช่นกัน
การป้องกันมะเร็งเต้านมย่อมดีกว่าการรักษาคุณผู้หญิงจึงควรใส่ใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อดูแลตัวเองให้ห่างไกลมะเร็งเต้านม
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ
แมมโมแกรม คัดกรองมะเร็งเต้านม ควรทำเมื่อไหร่ ? เรื่องที่หญิงยุคใหม่ต้องรู้!