อาหารเสริมธาตุเหล็ก บำรุงเลือด สร้างเม็ดเลือดแดงป้องกันโลหิตจาง
หลายคนไม่สามารถบริจาคเลือดและมีปัญหาสุขภาพ เนื่องจากประสบกับปัญหาโลหิตจาง ซึ่งการบำรุงเลือดที่ดีที่สุดคือการสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะการบริโภคอาหารที่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ ซึ่งเหล่านี้คือสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
โลหิตจาง ที่มีสาเหตุจากการขาดสารอาหารนั้นมักพบได้ 3 ชนิด คือ โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ขาดกรดโฟลิค และขาดวิตามินบี 12 ซึ่งหากเพิ่มสารอาหารเหล่านี้ไปจะสามารถเข้าไปซ่อมแซ่มร่างกายและเพิ่มปมิมาณเลือดได้
ธาตุเหล็ก เมื่อขาดธาตุเหล็ก จึงทำให้เกิดภาวะเลือดจาง ร่างกายใช้ธาตุเหล็กเพื่อสร้างฮีโมโกลบินเพื่อลำเลียงออกซิเจนไปยังปอดและเลี้ยงอวัยวะต่างในร่างกาย ซึ่งความต้องการธาตุเหล็กในแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ สรีรวิทยา การสูญเสียทางประจำเดือน และการเจริญเติบโต
ภาวะโลหิตจาง รู้ไม่ทันสัญญาณภัยเงียบ เสี่ยงหัวใจวาย-น้ำท่วมปอด
กลุ่มอาหารบำรุงกระดูกแข็งแรงไม่เปราะแตกหักง่าย ชะลอโรคกระดูกพรุน
ดังนั้นปริมาณเหล็กที่ร่างกายควรได้รับ ผู้ใหญ่ชาย 1.04 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ใหญ่หญิง 9.4 – 24.7 มิลลิกรัมต่อวัน ควรบำรุงเลือดด้วยแหล่งอาหารสำหรับธาตุเหล็ก ได้แก่
- เครื่องในสัตว์ (ตับและม้าม)
- เนื้อสัตว์
- ไข่แดง
- กลุ่มหอย (หอยกาบ หอยนางรม หอยแมลงภู่)
- ถั่วต่างๆ
- ผักใบเขียว
- แอปริคอต
- ลูกเกด
การบริโภคอาการข้างต้นจะช่วยเพิ่มธาตุเหล็กและวิตามินที่ต้องการในร่างกาย แต่ไม่ควรบริโภคร่วมกับสารอาหารบางชนิดซึ่งอาจขัดขวางและยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น
- แคลเซียม พบได้ในนม ชีส รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ทำจากนม ดังนั้น ไม่ควรดื่มนมพร้อมกับการรับประทานอาหารหรือยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก
- แทนนิน พบได้ในผักที่มีใบเขียวเข้ม เครื่องเทศ ชา กาแฟ จึงไม่ควรดื่มชาหรือกาแฟพร้อมมื้ออาหารหรือหลังมื้ออาหารทันที
- ไฟเตท พบได้ในผักใบเขียวและผักที่มีรสฝาด เช่น ขี้เหล็ก กระถิน ถั่วเหลือง ข้าวฟ่าง ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด ข้าวที่ไม่ขัดสี เป็นต้น
- โพลีฟีนอล พบได้ในผักที่มีใบเขียวเข้ม ขมิ้นชัน รวมถึงสมุนไพรหลายชนิด
อาหาร-วิตามินชะลอข้อเสื่อม และวิธีการออกกำลังกายที่ถูกกับโรค
วิตามินบี12 หากขาดวิตามินชนิดนี้ไปจะทำให้มีภาวะเลือดจางที่เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ อาหารที่มีวิตามินบี12 สูงได้แก่
- เนื้อ
- ปลา
- ไข่
- นม
- ตับ
- รำข้าว
- ข้าวซ้อมมือ
- ถั่วเมล็ดแห้ง
- ถั่วหมัก (ถั่วเน่า)
- เต้าเจี้ยว ซี
- อิ๊ว
- ผักใบสีเขียวแก่
กรดโฟลิค (วิตามินบี 9 ) เป็นวิตามินบีที่ช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ให้มีสุขภาพดีทำงานร่วมกับวิตามินบี12 ควรบำรุงเลือดด้วยอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง ได้แก่
- ผักใบเขียว เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักปวยเล้ง บล็อกโคลี่ ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง
- ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วลิสง
- อะโวคาโด
- เมล็ดทานตะวัน
- ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้องลูกเดือย
ทั้งนี้การบริโภคอาหารควรอยู่ในปริมาณที่แพทย์กำหนดควบคู่ไปกับการรักษาที่ถูกวิธี
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ pobpad
สูงวัยก็เก๋าได้! สารอาหารจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ยืดอายุขัยให้ยาวนาน
รวมลิสต์อาหาร ผัก ผลไม้ -สมุนไพร ล้างพิษตับ-ป้องกันและชะลอโรคตับ