“ดอกอัญชัน”สมุนไพรกินได้! ช่วยบำรุงสายตา กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
“อัญชัน” สมุนไพร ที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน และหลายบ้านมักเอามาทาคิ้ว-ทาศีรษะและเชื่อว่าจะดกดำสวยงาม และปัจจุบันได้ถูกนำมาเพิ่มมูลค่าในขนม น้ำ อาหาร รวมทั้งเครื่องสำอางด้วย อย่างหลากหลาย และที่สำคัญเห็นสีสวยๆแบบนี้ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายมากอีกด้วยนะคะ
รู้จักอัญชัน พืชล้มลุกที่ชอบขึ้นกลางแจ้งในที่รับแดดเต็มที่ ดอกอัญชันมี 3 สี คือ สีขาว สีน้ำเงินและสีม่วง ดอกสีม่วงเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ ดอกสีขาวกับดอกสีน้ำเงิน
การแพทย์แผนไทยใช้ประโยชน์ของอัญชันในแง่ยารักษาโรคโดยใช้ทุกส่วนทั้ง ราก ใบ และดอก
- ราก มีรสเย็นจืด บำรุงสายตา ใช้ขับปัสสาวะ ใช้ถูฟันและแก้ปวดฟันทำให้ฟันทน
- น้ำคั้นจากใบสดและดอกสดใช้หลอดตา แก้ตาอักเสบ ฝ้าฟาง น้ำคั้นจากดอก เป็นยาปลูกผมและขนทำให้ผมดกดำเงางาม ใช้ทาคิ้ว ศีรษะ หนวดเครา
ชู “ขมิ้นชัน”สมุนไพรหมื่นล้านไทย ทางออกรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร
“ใบบัวบก”สมุนไพรแก้ช้ำในมีฤทธิ์ช่วยต้านไวรัส ฮีลใจแก้ปัญหาการนอนหลับ
- ดอกอัญชัน สามารถสกัดสีมาทำสีประกอบอาหารได้ สีจากดอกอัญชันสีน้ำเงินมีสารแอนโทไซยานิน(Anthocyanin) มีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดเล็กๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมและนัยน์ตาได้ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ กระตุ้นภูมิคุ้มกันลดอาการแพ้ ลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด และพบว่าการดื่มน้ำดอกอัญชันสามารถลดอาการเมื่อยล้าของดวงตาแต่ยังมีการศึกษาไม่มากนัก
สารแอนโทไซยานินจะพบในผลไม้และดอกไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีแดง หรือสีม่วง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ ละลายน้ำได้และยังเปลี่ยนสีไปตามความเป็นกรด-ด่าง รู้ว่าอัญชันมีประโยชน์อย่างนี้ แล้ว หลายคนคงอยากลิ้มรสน้ำอัญชันกันบ้าง ? นอกจากนี้ยังสามารถนำไปทำขายต่อยอดรายได้อีกทางอีกด้วย
เตรียมส่วนผสม
- เตรียมดอกอัญชัน 100 กรัม
- ใบเตย 30 กรัม
- น้ำผึ้งแท้ 30 กรัม
วิธีทำน้ำอัญชัน-ใบเตย
- นำดอกอัญชันและใบเตยล้างน้ำให้สะอาดใส่หม้อ เติมน้ำเปล่า 1 ลิตร
- ต้มจนเดือน ปินฝาทิ้งไว้ 2-3 นาทีแล้วกรองน้ำออก
- เติมน้ำผึ้งตามใจชอบและคนให้เข้ากัน
นอกจากนี้หาก เติมน้ำมะนาวลงไปสีจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงอีกด้วย ขณะที่การเก็บดอกอัญชันไว้ให้นานควรใส่ถุงพลาสติกมัดปากถุงให้แน่นเก็บไว้ในตู้เย็นจะรักษาความสดได้ประมาณ 1 สัปดาห์นะคะ
“มะนาว”ที่ไม่ได้มีดีแค่แก้เจ็บคอ ยังช่วยบรรเทาต่อมทอนซิลอักเสบ
ข้อควรระวังอัญชัน
แม้ปัจจุบันยังไม่มีการรายงานความเป็นพิษของการบริโภคดอกอัญชันในรูปแบบของอาหารหรือเครื่องดื่มแต่ไม่ควรใช้อัญชัญร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน และวาร์ฟาริน เพราะมีรายงานว่ามีพบ Ternatin D1 ในดอกอัญชัน มีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด อาจมีผลเสริมฤทธิ์กันจนเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ สำหรับการใช้ภายนอกร่างกาย ควรระมัดระวังในผู้ที่แพ้ดอกไม้ชนิดต่างๆ ให้หมั่นสังเกตตนเอง หากใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของอัญชันแล้วก่อให้เกิดอาการระคายเคืองควรหยุดใช้ทันที
ข้อมูลจาก : siweb.dss และ กระทรวงสาธารณสุข
“มะละกอ” ผลไม้สนับสนุนการขับถ่าย ช่วยลดน้ำหนักป้องกันโรคหัวใจ
“ดอกคาโมมายล์” สมุนไพรต้านการอักเสบ ตัวช่วยผ่อนคลายหลับสบาย