8 กลุ่มอาหารควรหลีกเลี่ยง โซเดียมสูง เสี่ยงโรคไตเรื้อรัง -โรคหัวใจ
เนื่องในสัปดาห์ วันไตโลก (World Kidney day) กรมอนามัย เผยประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงที่สุดแนะหลีกเลี่ยง 8 ประเภทอาหาร เพื่อยืดอายุของไต ไม่เป็นโรคเรื้อรัง
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยประเทศไทย มีผู้ป่วยไตเรื้อรัง จำนวน 11.6 ล้านคน และมีจำนวนมากกว่า 1 แสนคนที่ต้องล้างไต และจากรายงานของ The United States Renal Data System (USRDS) พบว่า ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงที่สุด
ซึ่งปัจจัยหลักของโรคไตคือการบริโภคผิดหลัก ทั้งการกินอาหารรสจัด อาหารแปรรูป ที่เต็มไปด้วยโซเดียม หากกินเค็มมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไตเรื้อรัง
9 มีนาคม วันไตโลก 2566 ตระหนักภัย ใส่ใจไต ป้องกันไว้ เน้นกลุ่มเสี่ยง
7 เมนูจานโปรด “โซเดียมสูง” อร่อยปากลำบากไต กินบ่อยเสี่ยงไตเรื้อรัง
การป้องกันภาวะไตเสื่อมที่จะนำไปสู่โรคไตเรื้อรังด้วยการบริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม โดยบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน และเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับโซเดียมไม่เกินที่ร่างกายต้องการ ซึ่งการบริโภคต่อวันควรไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่า เกลือ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัม
8 ประเภทอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ผงชูรส ผงปรุงรส ซุปก้อน ผงฟู ซอสต่างๆ
- เนื้อสัตว์ปรุงรสหรือแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แฮม
- อาหารที่มีส่วนผสมของเนยและครีม เช่น เค้ก พิซซ่า ขนมอบต่างๆ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องในสัตว์ เมล็ดถั่ว กุ้งแห้ง
- อาหารหมักดอง เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักกาดดอง
- เนื้อสัตว์ปรุงรสหรือแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แฮม หมูหยอง และอาหารเติมเกลือ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวต้มซอง โจ๊กซอง
- ลดการกินเนื้อสัตว์ลงโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น คอหมูย่าง เอ็นหมู เอ็นวัว ข้อไก่
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอล หรือไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไข่แดง ไข่ปลา ปลาหมึก หอยนางรม ขาหมู รวมทั้งอาหารที่มีส่วนผสมของเนย และครีม เช่น เค้ก พิซซ่า และผลิตภัณฑ์ขนมอบ
ทั้งนี้ประชาชนควรอ่านฉลากโภชนาการ ด้วยการสังเกตปริมาณโซเดียม รวมถึงโซเดียมแฝงที่ปรากฎบนภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อทุกครั้ง หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice) ซึ่งการลดกินเค็มเป็นการยืดอายุการทำงานของไต
วิจัยพบ "อาหารแปรรูป" เชื่อมโยงกับโรคมะเร็ง ปัจจัยเสียชีวิตก่อนวัย
อาหาร 6 กลุ่มที่ผู้ป่วย “โรคไตเรื้อรัง” ต้องรู้ กินแบบไหนช่วยชะลอโรค?
@stayfitbybdms ลดเค็มหน่อยไหม ไตร้องขอชีวิตแล้ว #Stayfit #StayfitbyBDMS #bdms #healthbringswealth #มิย่าทองเจือ #มิย่าไม่มีปู่ #tiktok #ทุกวัน #ทำได้ #สุขภาพดี #เฮลตี้ #ลดน้ำปลา #เค็มปี๋ #ไม่ดี #พริกน้ําปลา #ร่างกาย #ท้าให้ลอง #เพื่อสุขภาพที่ดี #กินเค็ม #อย่ามาเล่นกับไฟ #อย่าเล่นกับไต เสียงต้นฉบับ - Stay Fit by BDMS