อาหารแก้เหน็บชา จากการขาดวิตามิน บำรุงเส้นประสาท อุดมสารอาหาร
หลายคนโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิต มักเกิดอาการเหน็บชาตามที่ต่างๆ เนื่องจากนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน แต่รู้หรือไม่ ? อาการเหน็บชา เกิดจากการขาดวิตามินบางประเภทได้เช่นกัน แล้วกินแบบไหน? แก้เหน็บชาบำรุงเส้นประสาทได้?
หลายคนคงเคยเกิดอาการ “เหน็บชา” โดยเฉพาะตามปลายมือหรือเท้า มีอาการยุบยิบหรือคล้ายเข็มเล็ก ๆ ทิ่มจำนวนมาก ซึ่งอาการนี้โดยทั่วไปแล้วเกิดได้ทั้งจากการกดทับเส้นประสาทส่วนปลายช่วงแขน ข้อมือ เท้าหรือข้อเท้า เกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทหรือการขาดสารอาหารบางประเภทก็ได้ ซึ่งสาเหตุหลักที่ไม่รุนแรง ทั้งการนั่งหรือยืนในท่าเดิมเป็นเวลานาน ขาดการขยับเขยื้อนเป็นช่วงเวลาหนึ่ง และ การขาดวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี 1 บี 12 ซึ่งแก้ไขได้ไม่ยาก แต่ต้องกินให้ถูกและเพียงพอ
วิตามินอะไรเหมาะกับเรา? กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุดไม่สิ้นเปลือง
รู้จักวิตามินแต่ละชนิด รับวิตามินธรรมชาติได้จากไหน? และอาการขาดวิตามิน
รู้จักวิตามิน B1 และ B12
- วิตามิน B1 มีหน้าที่เผาผลาญน้ำตาล ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง และโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงประสาท กล้ามเนื้อ ช่วยให้หัวใจทำงานเป็นปกติ หากร่างกายขาดวิตามิน B1 จะทำให้อ่อนเพลีย ชาตามนิ้วมือ นิ้วเท้า และส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
- วิตามิน B12 มีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการอ่อนเพลียจากโรคโลหิตจาง
สาเหตุของการเกิดอาการเหน็บชาที่เกิดจากวิตามิน
ขาดการบริโภคแหล่งธัญพืชบางชนิด โดยเฉพาะธัญพืชไม่ขัดสี เพราะวิตามินบี 1 จะอยู่ในส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งจะสูญหายไปหลังจากที่ขัดเมล็ดจนกลายเป็นข้าวขาว หรือผลิตภัณฑ์แป้งขัดขาว และการบริโภคอาหารที่ขัดขวางกระบวนการดูดซึมวิตามินบี 1 เช่น พืชบางชนิด อาทิ ใบเมี่ยง หมากพลู ดื่มชา หรือปลาร้าเป็นต้น
ความต้องการของร่างกายสูงขึ้นชั่วคราว จากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร เด็กที่อยู่ในช่วงวัยเจริญเติบโต คนที่มีการใช้แรงงานร่างกายหนักกว่าปกติ นักกีฬา ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ผู้ที่มีปัญหาไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติอาการเจ็บป่วยบางชนิด เช่น มีการผ่าตัดเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไต
วิตามินดี ลดเสี่ยงโรคกระดูกพรุน ช่วยปรับสมดุลในเลือดป้องกันเบาหวาน
กินแบบไหนป้องกันอาการเหน็บชาได้?
- เลือกกินอาหารกลุ่มธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ลูกเดือย ข้าวฟ่าง งาต่าง ๆ เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับวิตามินบี 1 เป็นประจำ
- ดื่มนมได้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเพิ่ม วิตามิน B12
- เลือกกินอาหารจากเนื้อสัตว์เป็นปกติ แต่ให้ความสำคัญในการเลือกให้ไขมันไม่สูงเกินไป โดยตัดมันหรือหนังทิ้งออกไปก่อนนำมาปรุงอาหาร จะทำให้ได้รับวิตามินบี 12 เพียงพอ
สำหรับปัญหาเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท ควรมีการวางแผนการออกกำลังกายให้ครบถ้วนเป็นประจำ และอาจปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือนักวิทยาศาสตร์การกีฬาเบื้องต้นได้ หากต้องการคำแนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ โรงพยาบาลเปาโล
10 เรื่องวิตามินที่ควรรู้ ฟื้นฟูร่างกายหลังใช้ร่างกายหนักตลอดปี
ความลับของ “วิตามินซี” กินวันละเท่าไหร่มีผลดีต่อร่างกายมากที่สุด?