“ใบเตยหอม” เครื่องดื่มสดชื่นคลายร้อน สรรพคุณทางยาบำรุงหัวใจ
ใบเตยหอม พืชที่คนไทยคุ้นเคย และนิยมนำมาประกอบอาหาร ขนมหวานโดยเฉพาะขนมไทย เช่น วุ้นกะทิ ขนมชั้น หรือจะแค่นำมาต้มกับน้ำเป็นน้ำใบเตย ก็ชื่นใจคลายร้อนเหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทยที่มีอากาศร้อนอบอ้าวเหมือนมีพระอาทิตย์หลายดวงเป็นที่สุด และหลายคนก็ยังไม่ทราบว่า ความจริงแล้วเตยหอมนั้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจและลดระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานอีกด้วย
เตยหอม (Pandanus amaryllifolius) จัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ขึ้นเป็นกอ ลำต้นสูงประมาณ 2-3 เมตร ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ และใกล้น้ำ ลำต้นกลมต่อเป็นข้อ ๆ ข้อที่อยู่ใกล้โคนลำต้นจะมีรากงอกออกมา เพื่อค้ำลำต้น ใบจะออกจากลำต้นเรียงเวียนแน่นรอบลำต้น ใบมีสีเขียว รูปเรียวยางคล้ายหอกปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ไม่มีหนาม ใบมีกลิ่นหอมเย็น ไม่มีดอก ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อเล็ก ๆ
“คอมบูชา” เครื่องดื่มยอดฮิตอุดมจุลินทรีย์ ช่วยปรับปรุงการทำงานของลำไส้
8 สุดยอดเครื่องดื่ม อุดมประโยชน์ ต้านสารก่อโรคป้องกันอักเสบเรื้อรัง
โดยใบเตยหอม 100 กรัม จะให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี และยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น น้ำ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เบต้า-แคโรทีน วิตามินบี 2 ไนอะซีน วิตามินซี
สรรพคุณทางยาของเตยหอม
- ส่วนของใบ ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เพราะใบเตยมีฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจ จึงช่วยบำรุงหัวใจได้อย่างดี ขณะที่การศึกษาวิจัย แพทย์ได้นำใบเตยหอมมาผลิตในรูปแบบชาชง บรรจุซองละ 6 กรัม ให้คนปกติรับประทานวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน ผลปรากฏว่า ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานชาชงใบเตยลดลงอย่างมีนัยสำคัญจึงเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ หากนำมาผสมน้ำรับประทาน จะช่วยดับกระหาย คลายร้อน ทานแล้วรู้สึกชื่นใจ ช่วยแก้อ่อนเพลีย ดับพิษไข้ และชูกำลังได้ ทั้งนี้หากนำใบเตยมาบดผสมน้ำแล้วมาพอกบนผิวรักษาโรคหัด หรือ โรคผิวหนังได้
- รากและลำต้น ใช้รักษาโรคเบาหวาน เพราะรากและลำต้นของเตยหอมนั้น มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด วิธีรับประทานก็คือ ใช้ราก 1 กำมือนำไปต้มเป็นน้ำดื่ม ทุกเช้า-เย็น ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยการนำต้นเตยหอม 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ไปต้มกับน้ำดื่ม
6 สุดยอดเครื่องดื่มอายุยืน ลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์-โรคหัวใจ ร่างกายอักเสบ
วิธีทำน้ำใบเตย
นำใบเตยหอมที่มาจากแหล่งที่ไว้ใจเรื่องความสะอาดได้และนำมาล้างให้สะอาด ก่อนหั่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง หรือจะนำใบเตยที่หั่นเรียบร้อยแล้วไปคั่วในกระทะโดยใช้ไฟอ่อน ๆ จนแห้งดีแล้วก็เก็บในภาชนะที่ปิดฝาสนิท เมื่อจะรับประทานก็นำมาชงกับน้ำร้อนดื่มหรือหากอยากสดชื่นก็เปลี่ยนมาใส่น้ำแข็งได้ ที่สำคัญต้องไม่ผสมน้ำตาลหรือใส่ให้น้อยที่สุดนะคะ ทั้งนี้ถ้าระดับน้ำตาลสูงมาก ควรรับประทานควบคู่กับยาแผนปัจจุบันภายใต้คำแนะนำของแพทย์
ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ และ โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์
5 เครื่องดื่มแก้ง่วงยามบ่าย เติมไฟเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าในการทำงาน
8 เครื่องดื่มทดแทนกาแฟ ลดคาเฟอีนอุดมด้วยประโยชน์ เลิกกาแฟได้ไม่หักดิบ