4 อาหารคนวัยทอง ป้องกันอาการ “เลือดจะไป ลมจะมา” รักษาสมดุลฮอร์โมน
“เลือดจะไป ลมจะมา” อาการของสตรีวัยทอง ที่สามารถป้องกันและบรรเทาได้ด้วย อาหาร 4 ประเภทที่แพทย์แนะนำ
สตรีวัยทอง มักพบในช่วงอายุ 45-55 ปีมักเป็นช่วงใกล้หมดประจำเดือนหรือช่วงที่ไม่มีประจำเดือนต่อเนื่องกัน 1 ปี ทำให้สตรีวัยทองเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ขณะที่ในทางแพทย์แผนไทย(ตามคัมภีร์เวชศาสตร์)เมื่อเข้าสู่ช่วงปัจฉิมวัย คือวัยช่วงอายุ 32 ปีเป็นต้นไป จะเป็นช่วงวัยที่มีธาตุลมในร่างกายเด่น ควรระมัดระวังไม่ให้ร่างกายเสียสมดุลของธาตุทั้ง 4 เพราะอาจทำให้ธาตุลมในร่างกายถูกกระทบได้ง่าย และเกิดอาการเจ็บป่วยตามมา ในทางแผนไทยจึงมีคำเรียกว่า “เลือดจะไป ลมจะมา” แปลความหมายได้ว่า
5 สมุนไพรที่วัยทองควรติดบ้าน บำรุงเลือดลมสตรีและประจำเดือนมาไม่ปกติ
“บรอกโคลี”ควรกินดิบหรือสุก? ช่วยต้านมะเร็ง-ป้องกันกระดูกพรุนได้มากกว่า
- เลือดจะไป คือ ต่อมโลหิตระดูจะไม่ทำงานได้เหมือนเดิม หมายถึงการหมดประจำเดือน
- ลมจะมา ช่วงวัยเปลี่ยน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีธาตุลมเป็นหลัก ซึ่งลมในร่างกายจะถูกกระทบได้ง่าย หากธาตุเสียสมดุล จะมีอาการแตกต่างกันไป ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบ(ขี้หนาวขี้ร้อน) ท้องอืด ท้องผูก ผิวแห้งและคัน ปวดเมื่อยตามร่างกาย นอนไม่หลับ มีการเปลี่ยนสภาพทางจิตใจ เช่น โมโหง่าย ซึมเศร้า ขี้ลืม ใจน้อย เป็นต้น
อาหารที่เหมาะกับสตรีวัยทอง
- น้ำมันมะพร้าว
ผิวหนังอาจแห้ง และคัน เมื่อฮอร์โมนเพศลดลง สามารถบำรุงผิวด้วยสมุนไพร เช่น ทาน้ำมันมะพร้าวหลังการอาบน้ำ หรือใช้สบู่ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ลดอาการคันที่ผิวหนัง เช่น สบู่ขมิ้นชัน สบู่เหงือกปลาหมอ
- พืชที่มีไฟโตรเอสโตรเจน
เนื่องจากฮอร์โมนเพศลดลง ทำให้ร่างกายควบคุมอุณหภูมิในร่างกายได้ไม่ดีพอ ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ โดยเฉพาะกลางคืน ดังนั้นควรรับประทานพืชที่มีไฟโตรเอสโตรเจน ซึ่งคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน และสารไอโซฟลาโวน(isoflavone) จะช่วยทำให้อาการร้อบวูบวาบลดลง เช่น เต้าหู้เหลือง เต้าเจี้ยว งา แครอท น้ำมะพร้าว
- เครื่องดื่มสมุนไพรบำรุงร่างกาย
เครื่องดื่มสมุนไพรบำรุงร่างกาย เช่น น้ำใบเตย น้ำมะตูม น้ำฝาง ชาเกสรบัวหลวงหรือเครื่องดื่มรสเผ็ดร้อนเพื่อทำให้ธาตุลมในร่างกายเดินได้สะดวก เช่น น้ำขิง น้ำตะไคร้
- สมุนไพรที่มีแคลเซียมสูง
เมื่อเข้าสู่วัยทอง โดยเฉพาะช่วงหมดประจำเดือนไปหลายปี จำมีโอกาสเสี่ยงเรื่องกระดูกบาง ดั้งนั้นควรรับประทานสมุนไพรที่มีแคลเซียมสูง เช่น ยอดแค ยอดใบขี้เหล็ก ยอดสะเดา ผักคะน้า ผักแพว ตำลึง
9 อาหารสำหรับคุณผู้หญิง ช่วยควบคุมน้ำหนัก-ลดเสี่ยงมะเร็งบางชนิด
อย่างไรก็ตามการรักษาอาการวัยทองในปัจจุบัน สามารถทำได้โดยการปรับสมดุลพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหาร การบริหารจัดการด้านอารมณ์ การออกกำลังกาย และการพิจารณาการใช้ฮอร์โมนทดแทน สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงกระทบเป็นปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆจนไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติแม้จะมีอาหารที่จำเพาะแต่ควรกินอาหารอย่างหลากหลายครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : มหาวิทยาลัยมหิดล
ลิสต์อาหารป้องกัน “มะเร็งเต้านม”ชะลอโรคลุกลามกระตุ้นภูมิคุ้มกัน!
วิจัยเผยอาหารลดการอักเสบ ป้องกันมะเร็งที่ผู้หญิงต้องระวังมากกว่า!