เทคนิคลดโพแทสเซียม ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และอาหารที่ควรกินอย่างพอดี
โพแทสเซียม แน่นอนว่าเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย แต่ไม่ใช่กับผู้ป่วยโรคไต ที่ควรได้รับอย่างจำกัด หรือหลีกเลี่ยง!
โพแทสเซียม (Potassium) แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีบทบาทสำคัญให้ร่างกายทำงานได้ปกติ ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จะช่วยในการควบคุมระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ควบคุมสมดุลอิเล็กโตรไลต์ และสมดุลกรด-เบส
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมลดลง ทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือดได้
เกณฑ์ในการจำแนกระดับโพแทสเซียม
- <3.5 *mEq/L ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว หัวใจเต้นผิดจังหวะ
“มันฝรั่ง” ผักโพแทสเซียมสูง ที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วย “โรคไตเรื้อรัง”
8 อาหารว่างผู้สูงอายุมีปัญหาการบดเคี้ยว-เบื่ออาหาร เสริมโภชนาการมื้อหลัก!
Freepik/ jcomp
แตงกวา

- >5.0 *mEq/L ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจหยุดเต้น
ควรจำกัดการได้รับโพแทสเซียมจากอาหารอยู่ที่ 2,000 มิลลิกรัม/วัน เพื่อรักษาระดับโพแทสเซียมในเลือด
- ผักที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำถึงปานกลาง (100-200 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน) อาทิ แตงกวา แตงร้าน ฟักเขียว ฟักแม้ว หอมใหญ่ กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว ผักกาดหอม พริกหวาน พริกหยวก เป็นต้น
- ผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำถึงปานกลาง (100-200 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน) อาทิ แอปเปิล 1 ผลสับปะรด 5 ชิ้นคำ เงาะ 4 ผล มังคุด 4 ผลเล็ก และ องุ่นเขียว 15 ผลเล็ก เป็นต้น
- อาหารมีปริมาณโพแทสเซียมต่ำถึงปานกลาง (100-200 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน) อาทิ ข้าวขาว หอยนางรม เต้าหู้ไข่ไก่ หอยแมลงภู่ เต้าหู้เหลืองแข็ง นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม โยเกิร์ต นมพร่องมันเนย
ผักผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง
- ผลไม้โพแทสเซียมสูง มักมีรสชาติหวานจัด หรือเปรี้ยวจัด เนื้อแน่น และนิ่ม หรือมีสีสวยสด
- ผลไม้แห้ง ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป และน้ำผลไม้มีความเข้มข้นโพแทสเซียมสูง
- ผักที่มีสีสวยสด และพืชหัว จะได้ปุ๋ยโพแทสเซียม เร่งสี เร่งผล จึงมีโพแทสเซียมสูง
ภูมิปัญญาไทย! น้ำสมุนไพรคลายร้อนตามแพทย์แผนไทยแนะนำ! ลดโรคยอดฮิต!
เทคนิคลดโพแทสเซียมสูง
-
งด/หลีกเลี่ยง การใช้ในผู้ป่วยรคไตบางระยะที่ไม่สามารถขับไพแทสเซียมออกจากร่างกายได้ หรือผู้ป่วยโรคหัวใจ
-
เลือกกลุ่มผักโพแทสเซียมต่ำ-ปานกลาง รวมกันวันละ 3 ทัพพี
-
เลือกกลุ่มผลไม้โพแทสเซียมต่ำ-ปานกลาง รวมกันวันละ 1-2 ส่วน
-
การหั่นผักเป็นชิ้นเล็ก แล้วต้มในน้ำ จะเป็นการลดปริมาณโพแทสเซียมลง เนื่องจากโพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุที่ละลายในน้ำ แต่วิธีการนี้ก็จะทำให้สูญเสียวิตามินบางชนิดไปกับน้ำและความร้อน การทอดไม่ได้ทำให้โพแทสเซียมสลายไป
-
การรับประทานผัก ผลไม้ กลุ่มโพแทสเซียมต่ำ-ปานกลางปริมาณมาก จะส่งผลทำให้ได้รับปริมาณโพแทสเซียมสูงได้
-
สามารถใช้ผักโพแทสเซียมสูงถ้าใช้ในปริมาณน้อยมาก ๆ ได้ในบางกรณี เช่น ขิงซอยโรยหน้าข้าวต้ม กระเทียมใส่ในผัดผัก
-
หลีกเลี่ยงน้ำผักผลไม้ ผลไม้แห้ง ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป
งดการใช้เครื่องปรุงที่ลดโซเดียม เพราะ เค็มเท่าเดิมแต่ “โพแทสเซียม” เพียบ!
ในบางกรณีแพทย์นักกำหนดอาหารอาจพิจารณาให้งดผัก ผลไม้ หากมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงเกินเกณฑ์แล้วแต่กรณี ฉะนั้นผู้ป่วยทุกคนควรทำตามและบริโภคอาหารตามที่แพทย์แนะนำ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2
อาหารเสี่ยงท้องเสียหน้าร้อน เช็กก่อนกินลดท้องร่วงร่างกายขาดน้ำอันตราย!
10 อาหารเช้าที่ควรหลีกเลี่ยง แม้จะหาง่ายหรือเร่งรีบแค่ไหนก็ตาม