อาหารโซเดียมสูงเพิ่ม “อาการบวมน้ำ” กินเยอะเสี่ยงโรคไต ความดันสูง
เคยไหม ตื่นมาตอนเช้าแล้วหน้าบวม จนแทบกรี๊ด เพราะเมื่อคืนเผลอปาร์ตี้หนักไปหน่อยซึ่งสาเหตุมาจาการทานอาหารที่มีโซเดียมเยอะเกินไป!
โซเดียม (Sodium) เป็นองค์ประกอบอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิด โดยปกติโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของเหลวในร่างกาย หากร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป ร่างกายจะดูดซึมน้ำเก็บไว้ที่ ”ใต้ผิวหนัง” มากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้และหากบริโภคเกินความต้องการของร่างกาย เป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้เป็นโรคไต ความความดันฯ โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ได้เช่นกัน
กิมจิ เครื่องเคียงยอดฮิต มีโปรไบโอติกช่วยสุขภาพลำไส้ แต่โซเดียมสูง!
อาหารโซเดียมแฝง แนะชิมก่อนปรุง! เทคนิคลดกินเค็มลดโรคเรื้อรัง
อาหารอร่อยแต่หน้าบวมเพราะโซเดียม!
ปริมาณขึ้นอยู่กับชนิดอาหารและการปรุงรส โซเดียมพบได้สูงในอาหารสำเร็จรูป อาหารที่ใช้เกลือในการถนอมอาหาร เครื่องปรุงรสต่างๆ โดยเฉพาะอาหารที่เราตุ้นเคยที่มีทั้งส่วนประกอบของเกลือและน้ำมันจำนวนมาก จนมีปริมาณโซเดียมที่สูงทะลุ
- ของทอดของมัน
- ขนมขบเคี้ยว
- ของหมักดอง
- อาหารแช่แข็ง
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นอกจากนี้ยังมีโซเดียมแฝงอยู่ในอาหาร เช่น ผงฟู เบกกิ้งโซดา สารกันเสีย สารกันรา ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในขนมปัง เค้ก เบเกอรี่ ทั้งนี้ในอาหารตามธรรมชาติก็มีโซเดียมเช่นกัน เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ แต่จะมีปริมาณน้อยกว่าอาหารที่ผ่านการแปรรูปแล้ว และอาหารประเภทธัญพืช ผัก ผลไม้ มักมีโซเดียมน้อยกว่าอาหารประเภทเนื้อสัตว์และนม
แนวทางการบริโภคโปรตีน-โซเดียมของผู้ป่วยโรคไตระยะหลังฟอกไต
วิธีแก้บวมน้ำ
- ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อให้โซเดียมในร่างกายก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ
- กินผัก ผลไม้ฉ่ำน้ำเพื่อเพิ่มน้ำให้กับร่างกาย เช่น มะเขือเทศ แตงกวา และส้ม
- ลดน้ำอัดลม หรือ น้ำหวาน แอลกอฮอล์
- ออกกำลังกาย ช่วยขับโซเดียมออกทางเหงื่อได้
อย่างไรก็ตามแทนที่จะมาแก้อาการบวมน้ำ สู้ป้องกันตั้งแต่แรก โดยการลดปริมาณโซเดียมลงให้เหมาะสมกับที่ร่างกายต้องการ เพราะอันที่จริงโซเดียมเองก็มีประโยชน์ในการช่วย ควบคุมสมดุลของเกลือแร่ กรด-ด่าง ของเหลวในร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนของของเหลวภายในร่างกายเป็นปกติ
สำหรับผู้ใหญ่ ปริมาณโซเดียมที่แนะนำ คือไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับเด็กอายุ 2-15 ปี ปริมาณโซเดียมควรลดสัดส่วนตามความต้องการพลังงานที่ลดลง สามารถเช็กได้ตามฉลากโภชนาการที่อยู่บนซองขนม หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท และ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกวัน ระวังโซเดียมทะลุ เสี่ยงโรคหัวใจ-ไตวาย