อาหารโซเดียมแฝง แนะชิมก่อนปรุง! เทคนิคลดกินเค็มลดโรคเรื้อรัง
รู้หรือไม่? โซเดียมไม่จำเป็นต้องเค็มก็เกิดโรคได้ เผยอาหารโซเดียมแฝงและเทคนิคกินลดเค็ม ลดโซเดียม ลดโรคเรื้อรัง ง่ายๆแบบไม่ฝืน
อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน คือการบริโภคอาหารหรือการใช้เครื่องปรุงที่มีโซเดียมมากเกินไป ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือดและนำมาซึ่งการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งในแต่ละวัน ร่างกายควรได้รับโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่ควรกินโซเดียมเกิน 1500- 2,000 มิลลิกรัม หรือเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา โดยเทียบกับน้ำปลาไม่เกิน 4 ช้อนชา เท่านั้น และรู้หรือไม่ มีอาหารบางประเภทที่ดูเหมือนไม่เค็มแต่โซเดียมพุ่งสูงไม่แพ้กัน
7 เมนูจานโปรด “โซเดียมสูง” อร่อยปากลำบากไต กินบ่อยเสี่ยงไตเรื้อรัง
แนวทางการบริโภคโปรตีน-โซเดียมของผู้ป่วยโรคไตระยะหลังฟอกไต
อาหารโซเดียมแฝง
- เครื่องปรุงรสชนิดต่างๆ อย่างน้ำปลา ซีอิ๊ว กะปิ ซอสหอยนางรม ปลาร้า ซุปสำเร็จรูป ผงชูรส หรือเครื่องปรุงรสแทบทุกชนิด
- อาหารแปรรูป เช่น อาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นอาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง ขนมกรุบกรอบ รวมถึงเนื้อสัตว์แปรรูปต่างๆ
- ขนมที่มีการใช้ผงฟูเป็นส่วนประกอบ เช่น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เพราะในผงฟูจะมีปริมาณโซเดียมสูง
- เครื่องดื่มเกลือแร่ที่นักกีฬานิยมดื่ม หากดื่มมากกว่าปริมาณที่แนะนำก็จะได้รับโซเดียมมากเกินไป
- น้ำผลไม้คั้นสดหรือแปรรูปที่ขายตามท้องตลาด มักมีการเติมเกลือหรือมีการใส่ส่วนประกอบอื่นๆ ในการปรุงรส ซึ่งมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ
5 อาหารสุดแซ่บ แต่กินมากเกินไปอาจกระตุ้นเซลล์มะเร็งลำไส้-โรคเรื้อรัง
อยากลดเค็มลดโซเดียมทำแบบนี้!
- เลือกรับประทานอาหารสดตามธรรมชาติ หากต้องการปรุงอาหารควรเลือกใช้เครื่องปรุงรสให้น้อยที่สุด หรือเลือกชนิดโซเดียมต่ำ
- ชิมก่อนปรุงทุกครั้ง เพราะการปรุงอาหารอีกเป็นการเพิ่มโซเดียมโดยไม่จำเป็น
- หลีกเลี่ยงการใส่ผงชูรส
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหมักดอง อาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ และเบเกอรี่ทุกชนิด
- ลดการใช้ซอสปรุงรสหรือน้ำจิ้มประกอบการกินอาหาร
- ปรับนิสัยการรับประทานอาหารให้กินรสจืดขึ้น เพื่อลดการเติมเครื่องปรุงรส
- อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อหรือก่อนรับประทาน โดยเฉพาะดูปริมาณโซเดียมในอาหารนั้นๆ
ทั้งนี้ควรเลือกกินอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ในแต่ละมื้อเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์หากไกลโรคเรื้อรัง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไทและกระทรวงสาธารณสุข
ภาพจาก : Freepik
“ผงชูรส” เครื่องปรุงโซเดียมสูง กินเยอะอาจเสี่ยงโรคอ้วน ดื้ออินซูลิน
"โซเดียม" ตัวการก่อโรคNCDs ไม่ติดต่อแต่เรื้อรังอันตรายถึงชีวิต