ชนิดวิตามินบี ประโยชน์เด่นด้านสุขภาพ ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง!
วิตามินบี เป็นประเภทที่ละลายในน้ำได้ ไม่ค่อยก่อผลข้างเคียงเพราะมีโอกาสสะสมในร่างกายน้อยและระยะสั้น แต่กลับมีบทบาทสำคัญด้ายสุขภาพ!
วิตามินบี เป็นประเภทของ วิตามินที่ละลายในน้ำ เช่นเดียวกับวิตามินซี ซึ่งจะอยู่ในร่างกาย 2 – 4 ชั่วโมง ส่วนที่เหลือจากการใช้งานจะถูกขับออกทางไตมากับปัสสาวะ โอกาสที่จะสะสมในร่างกายจึงมีน้อยไม่ค่อยก่อผลข้างเคียง โดยเป็นมิตรกับร่างกาย สมอง และระบบประสาทอย่างมาก โดยถึงแม้จะเป็นวิตามินบี แต่ก็มีถึง 8 ชนิด แยกย่อยออกมา ซึ่งมีประโยชน์เด่นที่แตกต่างกัน หากขาดไปก็เสี่ยงสุขภาพพังได้!
วิตามินบี 3 ตัวท็อปช่วยดูแลผิว ป้องกันการอักเสบ เพิ่มชุ่มชื้นหน้าร้อน
วิตามินบี 3 ตัวท็อปช่วยดูแลผิว ป้องกันการอักเสบ เพิ่มชุ่มชื้นหน้าร้อน
แหล่งวิตามินบี 8 ชนิด
วิตามินบี 1 (ไทอามีน)
ช่วยเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคเหน็บชา หากขาดจะเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้
แหล่งวิตามินบี 1
- พบในเนื้อหมู เมล็ดทานตะวัน ข้าวซ้อมมือ ซึ่งจะพบมากที่เปลือกและจมูกของข้าว
ข้าวที่ขัดสีจะพบปริมาณวิตามินบี 1 น้อยกว่าข้าวซ้อมมือถึง 10 เท่า
วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน)
เกี่ยวข้องกับการสร้างเส้นผม เล็บ และผิวหนัง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก
แหล่งวิตามินบี 2
- พบในอาหารจำพวกข้าว ธัญพืช เนื้อสัตว์ ไข่ นม เครื่องในสัตว์ ตับ ผักใบเขียว โยเกิร์ต ข้าวโอ๊ต
วิตามินบี 3 (ไนอาซิน หรือ ไนอาซินามายด์)
ช่วยเรื่องผิวหนังแห้งเมื่อเจอแสงแดด ถ้าขาดมากจะพบอาการท้องเสีย สมองเบลอ เกิดอาการขี้หลงขี้ลืมได้
แหล่งวิตามินบี 3
- พบในอาหารจำพวก ตับ เนื้อสัตว์ ข้าวโอ๊ต ถั่ว จมูกข้าว ยีสต์ ผักใบเขียว ปริมาณที่ควรได้รับไม่ควรเกิน 35 มิลลิกรัมต่อวัน
วิตามินบี 5 (แพนโททินิก แอซิด)
ถ้าขาดจะทำให้ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยนไป มีอาการเหน็บชาตามปลายมือ ปลายเท้าพบมากใน
แหล่งวิตามินบี 5
- อาหารจำพวกเนื้อไก่ เนื้อวัว ตับ มันฝรั่ง เมล็ดทานตะวัน
วิตามินบี 6 (ไพริดอกซีนหรือไพริดอกซามีน)
จะเกี่ยวกับระบบของเส้นประสาท หากขาดวิตามินบี 6 จะเกิดภาวะซีด โลหิตจางได้
แหล่งวิตามินบี 6
-
พบมากในเนื้อสัตว์ ปลา ไก่ ตับ มันฝรั่ง กล้วย แตงโม นม ไข่แดง ข้าวกล้อง รำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่วต่าง ๆ เมล็ดงา ปริมาณที่ควรได้รับไม่ควรเกิน 100 มิลลิกรัมต่อวัน
วิตามินบี 7 (ไบโอติน)
จะเกี่ยวกับเรื่องผิวหนัง ถ้าขาดจะเป็นผิวหนังอักเสบ ลำไส้อักเสบ
แหล่งวิตามินบี 7
- ส่วนใหญ่พบในดอกกะหล่ำ ถั่ว กล้วย ปลาแซลมอน ไข่ ตับ งา
วิตามินบี 9 (โฟลิกแอซิด)
จะเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือด หากขาดจะเป็นโรคโลหิตจางได้
แหล่งวิตามินบี 9
- พบในถั่ว ผักโขม บรอกโคลี คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักกาดหอม ปริมาณที่ควรได้รับไม่ควรเกิน 1,000 ไมโครกรัมต่อวัน
“วิตามิน” คนวัย 30+ ที่สุขภาพเริ่มแย่ เคล็ดลับฟื้นฟูให้สดชื่นลดอายุ!
วิตามินบี 12 (ไซยาโนโคบาลามิน)
เป็นวิตามินที่มีความสำคัญเกี่ยวกับระบบประสาท หากขาดจะเกิดอาการโลหิตจางได้ มีขนาดเม็ดเลือดแดงโตกว่าปกติ
แหล่งวิตามินบี 12
- พบในกลุ่มเนื้อสัตว์ นม เนย ไข่แดง โยเกิร์ต
จะเห็นได้ว่า วิตามินบีที่มีหลากหลาย และครบทั้ง 5 หมู่ ฉะนั้นควรกินอาหารแต่ละมื้อให้หลากหลายครบ 5 หมู่ หากได้รับวิตามินบีไม่เพียงพอจึงอาจกระตุ้นโรคและความเครียด ความวิตกกังวล จนนำมาซึ่งโรคที่เกิดจากความเครียดได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
ไขมัน-คาร์โบไฮเดรต "ไม่ควรงด" มีส่วนช่วยบำรุงสมอง ลดเสี่ยงอัลไซเมอร์
รวมวิตามินบำรุงสายตา ลดจอประสาทตาเสื่อม เพิ่มการมองเห็นในที่มืด