ประโยชน์ขององุ่นหลากสี ช่วยให้อารมณ์ดี ป้องกันมะเร็งบางชนิดได้!
ผลไม้ตระกูลเบอร์รียอดนิยมอีกหนึ่งชนิดคือ “องุ่น” เผยประโยชน์แต่ละสี และ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น ที่มีโปรเเอนโธไซยานิดิน ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมากกว่าวิตามินซีถึง 20 เท่า และมากกว่าวิตามินอีถึง 50 เท่า!
องุ่น (Grape) ผลไม้ตระกูลเบอร์รี เป็นพืชเถาเลื้อยชนิดที่มีเนื้อไม้ซึ่งมีอายุยืนยาวได้หลายสิบปีหรือนับร้อยปี กระจายอยู่ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยนั้น มีการสันนิษฐานว่าน่าจะมีการนำเข้ามาปลูกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งนับเป็นผลไม้ยอดนิยม ทั้งกินสด นำมาแปรรูปเป็น แยม ลูกเกด หรือ ไวท์ อาหารเสริมต่างๆ ซึ่งมีรสชาติโดดเด่นหวานอร่อย และหลากหลายสีสัน
ตระกูลเบอร์รี ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งได้ กินง่ายช่วยลดน้ำหนัก!
5 สีของผัก ประโยชน์ไม่ซ้ำกินทุกวัน ช่วยปกป้องเซลล์ ต้านมะเร็ง

ทำให้กลายมาเป็นผลไม้สุดโปรดของใครหลายคน ซึ่งเอามาแช่เย็นซะหน่อย กินแทนไอศกรีมสดชื่นได้เลย! และเพราะความนิยมจึงทำให้องุ่นบางชนิดมีราคาที่สูงตามไปด้วย
ประโยชน์ขององุ่น
องุ่น 100 กรัม มีแคลอรี ประมาณ 66.9 kcal ขณะที่มีน้ำตาลสูงถึง 16 กรัม จึงไม่เหมาะเท่าไหร่นักหากจะกินเพื่อลดน้ำหนักและในผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องกินในปริมาณ ที่เหมาะสม แต่หากจะให้พูดถึงเรื่องความสดชื่นแล้วละก็! องุ่นกินขาดนะคะ!
เนื่องจากน้ำตาลที่ได้จากองุ่นนั้น เป็นน้ำตาลที่สามารถดูดซึมได้เร็ว จึงทำให้รู้สึกสดชื่นและให้พลังงานได้เร็ว และยังช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอการรับประทานองุ่นเป็นประจำจะมีส่วนช่วยในการบำรุงหัวใจ บำรุงสมอง บำรุงกำลัง แก้อาการกระหายน้ำ และคนที่มีร่างกายผอมแห้งแรงน้อย ไร้เรี่ยวแรง แก่ก่อนวัย หากรับประทานองุ่นเป็นประจำ จะช่วยส่งเสริมร่างกายค่อย ๆ แข็งแรงขึ้นมาได้
ประโยชน์ขององุ่นแต่ละสี
-
องุ่นเขียว อุดมไปด้วยสารพฤษเคมีซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารแอนติออกซิแดนต์ เช่น คาเทชิน(Catechin) เทอโรสติลบีน(Petrostilbene) ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม โรคหลอดเลือกหัวใจ โรคของระบบประสาท โรคอัลไซเมอร์ ลูคิเมีย และป้องกันการติดเชื้อราและเชื้อไวรัส
-
องุ่นแดง มีสารสำคัญคือ เรสเวอราทรอล(Resverratrol) ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และช่วยชะลอวันนอกจากนี้สารซาโปนิน(Saponin) ช่วยต้านแบคทีเรียไวรัส ป้องกันเนื้องอก ลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ซึ่งป้องกันโรคหัวใจได้
-
องุ่นดำ ช่วยเพิ่มระดับสารแอนตี้ออกซิแดนท์ในเลือด และลดอนุมูลอิสระ
แน่นอนว่าองุ่นเป็นผลไม้ที่มีความหวาน จึงควรกินแต่พอดี หวังเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกายเพราะองุ่นจะช่วยให้คุณอารมณ์ดีได้แน่ๆ ดีกว่ากินขนมจิบจุบที่มีแต่แป้งและน้ำตาลที่มากกว่านะคะ
ถั่วเขียว ประโยชน์ธัญพืชช่วยป้องกันโรคหัวใจคุมน้ำตาลในเลือดได้!
สารสกัดที่ได้จากเมล็ดองุ่น
เป็นสาระสำคัญอีกชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกลุ่มของไบโอฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติที่สำคัญ ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงมีประสิทธิภาพมาก ในการปกป้องเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย จากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ
นอกจากนนี้ ในการวิจัยของนพ.คล๊าก แฮนเซน พบว่า ในเมล็ดองุ่นจะมีสารฟลาโวนอยด์(Flavonoid) ที่เรียกกันว่า โปรเเอนโธไซยานิดิน (Oilgomeric Proanthocyanidins) หรือเรียกย่อๆ ได้ว่า OPC ที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูงมากกว่าวิตามินซีถึง 20 เท่า และมากกว่าวิตามินอีถึง 50 เท่า OPCS ที่สกัดจากเมล็ดองุ่น ยังมี OPCs เข้มข้นถึง 80 – 90% ในขณะที่สกัดจากเปลือกสนจะมี OPCs เพียง 85% สารสกัดจากเมล็ดองุ่น มีสัดส่วนของ OPCs ชนิดต่างๆ ซึ่งต่างจากสารสกัดจากเปลือกสน จึงทำให้คุณสมบัติแตกต่างกัน โดยที่สารสกัดจากเปลือกสน จะเด่นในเรื่อง ลดเลือนฝ้า กระ จุดด่างดำ เท่านั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง สารสกัดจากเมล็ดองุ่น เป็น 1 ใน 10 ของสมุนไพรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเลยทีเดียว
ดังนั้นปัจจุบันจึงมีการใช้สารสกัดจากเมล็ดองุ่น เป็นวิตามินเสริมอาหารและ ผสมลงไปในเครื่องสำอาง เพราะมีส่วนช่วยให้ผิวยืดหยุ่นดี และดูสดใส มีน้ำมีนวลสวยอยู่เสมอด้วย
ข้อแนะนำการใช้สารสกัดเมล็ดองุ่น
-
สารสกัดจากเมล็ดองุ่นอาจมีผลในเรื่องของการชะลอการแข็งตัวของเลือด (ทำให้เลือดแข็งตัวช้า)
-
ผู้ที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือผู้ที่เป็นโรคเลือดไหลไม่หยุด ไม่ควรรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่น
-
ก่อนการผ่าตัดหรือทำฟัน คุณควรหยุดรับประทานอาหารเสริมจากสารสกัดจากเมล็ดองุ่น เพราะจะทำให้เลือดออกง่ายไหลไม่หยุด
-
หากจะรับประทานอาหารเสริม ที่ทำจากสารสกัดเมล็ดองุ่น ให้ได้ผลดี ควรทาน ก่อนอาหารเช้า และก่อนเข้านอน(ตอนท้องว่าง) จะได้ผลดีที่สุด
-
จำเป็นที่ต้องพิจารณาปริมาณของสารเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพที่เหมาะสม ซึ่งโดยปกติแล้ว สารสกัดจากเมล็ดองุ่นควรมีปริมาณสาร POC อยู่ที่ประมาณ 92-95%
ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์ว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นจะทำให้เกิดผลข้างเคียงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สาร OPC ภายในเมล็ดองุ่น อาจจะทำให้เกิด “อาการโลหิตแข็งตัวช้า” ดังนั้นควรทำการปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้สารสกัดจากเมล็ดองุ่น รวมไปถึงเด็กและสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ไม่ควรรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโลรังสิต,กรมอนามัย และ disthai
ชนิดวิตามินบี ประโยชน์เด่นด้านสุขภาพ ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง!
โกโก้ ช่วยต้านเศร้า-เสริมภูมิ แพทย์แนะกินให้ถูกช่วยสุขภาพมากกว่า!