อาหารธาตุเหล็กสูง บำรุงเซลล์ทำลายเชื้อก่อโรค ป้องกันโลหิตจาง!
หนึ่งแร่ธาตุที่สำคัญ ระบบภูมิคุ้มกันและระบบเลือด คือธาตุเหล็ก (Iron) แนะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง กินแต่พอดีช่วยสุขภาพ ป้องกันภาวะขาดธาตุเหล็กและโลหิตจางด้วย
ธาตุเหล็ก (Iron) แร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์มีความเสี่ยงที่จะขาดธาตุเหล็กสูงกว่าผู้ชาย ธาตุเหล็กจะถูกสะสมในร่างกายหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง ตับ กล้ามเนื้อ ไขกระดูก รวมถึงเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ (Macrophage) ซึ่งภาวะขาดธาตุเหล็กจะส่งผลต่อความสามารถในการจับกินสิ่งแปลกปลอมของแมคโครฟาจ
นอกจากนี้ ภาวะขาดธาตุเหล็กยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด และระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ทำให้จำนวนของเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดทีเซลล์ ลดลง
แหล่งวิตามินบี 12 ลดอัลไซเมอร์ผู้สูงอายุได้ 4 เท่า ป้องกันโลหิตจาง
3 Superfood กรดโฟลิก ดีกับหญิงตั้งครรภ์ ลดเสี่ยงทารกพิการ!
เพราะเกิดความบกพร่องของกระบวนการการเพิ่มจำนวน ลดการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์ไมอีไลเพอร์ออกซิเดส (Myeloperoxidase: MPO) ที่มีส่วนสำคัญในการทำลายเชื้อก่อโรค และภาวะขาดธาตุเหล็กยังส่งผลให้การทำงานของเซลล์อ่อนแอลง
อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
- เนื้อสัตว์ เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู
- เลือด ตับ เครื่องในจากสัตว์ เป็นแหล่งโปรตีน วิตามินบี ทองแดง ซีลีเนียม
- อาหารทะเล เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ กุ้ง ปลาทูน่า
- ไข่แดง เด็กวัยเรียน และผู้ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพควรกินเป็นประจำ เพื่อไม่ให้ขาดธาตุเหล็ก
- ผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า ตำลึง บรอกโคลี
- ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ไม่ควรกินอาหาร พร้อมกับนมวัว นมถั่วเหลือง เพราะแคลเซียมในนม และไฟเตทในนมถั่วเหลืองจะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กลดลง โดยกรมอนามัยแนะนำปริมาณความต้องการอยู่ที่ 20 มิลลิกรัมต่อวัน ในผู้หญิงอายุ 19-50 ปี และลดลงเหลือ 10 มิลลิกรัมต่อวัน เมื่ออายุมากกว่า 50 ปี
อาหารแก้หวัด ลดอาการไอ-คัดจมูก เสริมวิตามิน เพิ่มภูมิต้านทานหน้าฝน
ถึงธาตุเหล็กจะมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน แต่การเสริมธาตุเหล็กในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยไม่มีการปรึกษาแพทย์ อาจเสี่ยงต่อการได้รับธาตุเหล็กในปริมาณที่มากเกินไป จนเกิดผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร หรือในระยะยาว อาจสะสมในอวัยวะภายใน จนเกิดความเสียหายได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานธาตุเหล็กเสริม
ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS Wellness Clinic และ กรมอนามัย
“กล้วยหอม”ผลไม้เติมความสดชื่น ป้องกันท้องผูก แต่กินเกินอาจแคลอรีพุ่ง!