ประโยชน์ “ชามะลิ” เผยสรรพคุณทางยา ของขวัญแทนใจวันแม่แห่งชาติ 2567
เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 2567 หลายคนคงนึกถึงดอกมะลิ ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ และกลิ่นหอม เป็นของขวัญแทนใจให้กับคุณแม่ เพื่อแสดงถึงความรักกตัญญูกตเวที เผยประโยชน์ของชามะลิ และสรรพคุณทางยา เพิ่มตัวเลือกของขวัญวันแม่ที่หาง่ายและมีประโยชน์
ชามะลิ (Jasmine Tea) นับเป็นหนึ่งในชาดอกไม้ มีลักษณะเป็นใบชาแห้งผสมกับดอกมะลิแห้ง ส่วนผงชาเขียวมะลิ โดยใบชานั้นจะซึมซับความหอมของดอกมะลิ ทำให้มีกลิ่นหอมชาและมะลิที่เป็นเอกลัษณ์จนหลายคนติดใจ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ร่างกายสดชื่น ผ่อนคลาย แก้อาการอ่อนเพลียช่วยในการปรับสมดุลฮอร์โมน ลดความเครียด ลดอาการปวดท้อง อีกทั้งเป็นยาระบาย
ตำรายาไทย “ดอกมะลิ” จัดเป็นยาในพิกัดเกสร ทั้ง 5, ทั้ง 7 และทั้ง 9 แต่ใช้ทั้งดอก เมื่อพิจารณาจากรสของยา
ดอกมะลิ กินได้ไหม? สัญลักษณ์วันแม่แห่งชาติ สรรพคุณมะลิแก้ร้อนในบำรุงหัวใจ
ชาขาว และ ชาเขียว ต่างกันอย่างไร? เปิดประโยชน์และกรรมวิธีผลิต

ดอกมะลิถูกจัดเป็นยารสหอมเย็น จึงมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แต่อย่าใช้มากเกินไป เพราะจะแสลงกับโรคลมจุกเสียด แน่น มีการนำดอกมะลิ ผสมเข้าในตำรับยาหอม ที่มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำจิตใจให้ชุ่มชื่น แก้ลมวิงเวียน ได้
ดอกมะลิประโยชน์ใช้ในตำรับยาไทย
- ยาหอมเทพจิตร ซึ่งมีมะลิเป็นส่วนผสมหลักของตำรับ สรรพคุณ แก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย อาการที่รู้สึกใจหวิววิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม ใจสั่น และบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น สำหรับวิธีการรับประทานยาหอมเทพจิตร ปัจจุบันได้มีการผลิตในรูปแบบยาชนิดผง และชนิดเม็ด
ทั้งยังมีการศึกษาเกี่ยวกับยาหอมเทพจิตรกับคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งพบว่า ตำรับยาหอมเทพจิตร ช่วยเพิ่มคุณภาพของการนอนหลับได้
- ยาประสะจันทน์แดง บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน (ไข้พิษ) แก้ร้อนในกระหายน้ำ วิธีใช้ ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 กรัม ทุก 3 - 4 ชั่วโมง เด็กอายุ 6 - 12 ปี รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ทุก 3 - 4 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก และผู้แพ้เกสรดอกไม้ไม่ควรใช้ยานี้ หากใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน 3 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการ
ด้วยสรรพคุณมะลิ ที่มีกลิ่นหอมเย็น จึงช่วยผ่อนคลาย บรรเทาความเครียด ปัจจุบันจึงมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามหลากหลายชนิด เช่น สบู่ แชมพู ครีมทาผิว ช่วยผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ช่วยปรับสภาพจิตใจและอารมณ์ให้ดีขึ้น
ยาระบายจากธรรมชาติ ช่วยกระตุ้นลำไส้ แก้ปัญหาการขับถ่าย
นอกจากชามะลิ และสรรพคุณทางยาแล้ว ยังนิยมนำมาทำน้ำลอยดอกมะลิ ข้าวแช่ ขนมวุ้นดอกมะลิ ชาเบญจเกสร(เกสร 5 ชนิด ได้แก่ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี ดอกมะลิ และเกสรบัวหลวง)ซึ่ งมีสรรพคุณ รสหอมเย็นช่วยผ่อนคลาย ช่วยบำรุงหัวใจ ทั้งนี้การจะนำดอกมะลิมาใช้เป็นส่วนประกอบ ในชา หรืออาหารเพื่อรับประทาน ไม่ควรใช้ในปริมาณที่สูงเกินไป เพราะกลิ่นที่แรง อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะได้
ที่สำคัญการนำดอกมะลิมาทำอาหาร และ เครื่องดื่ม ควรใช้ดอกมะลิที่ปราศจากสารเคมี และสิ่งเจือปน ล้างให้สะอาด หากใช้ เป็นดอกที่ตากแห้งควรต้องตรวจสอบดูว่าเก็บรักษาอย่างดีไม่มีเชื้อรา ไม่มีสีที่เข้มคล้ำจนเกินไป หรือแมลงขนาดเล็กเจือปน เพื่อจะได้ประโยชน์และปลอดภัยอย่างแท้จริง
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และ ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร ม.อุบลราชธานี
“ชาเขียว” ออกฤทธิ์ช่วยลดความอ้วนและระดับน้ำตาลในเลือด
5 แหล่งวิตามินบี 12 จากพืช เพื่อชาววีแกน หลีกเลี่ยงการขาดสารอาหาร