“ผักกูด”พืชตระกูลเฟิร์นยอดนิยม มีสารต้านอนุมูลอิสระ ปรุงสุกดูดซึมดีกว่า
เปิดประโยชน์ผักกูด ผักยอดฮิต ปรุงเมนูได้อย่างหลากหลาย แนะการกินที่ดีที่สุดคือการปรุงให้สุกก่อน เพื่อการดูดซึมวิตามินที่มากกว่า
ผักกูด หรือ กูดกิน ไม่ใช่พืชตระกูลผัก แต่เป็นพืชตระกูลเฟิร์น ลักษณะขอบใบเป็นเกล็ดหยักเป็นซี่ มักขึ้นอยู่ตามริมทาง ริมลำน้ำ โดยผักกูดมีหลายชนิด สามารถนำมาปรุงประกอบอาหารได้ แต่จะมีรสชาติที่แตกต่างกันไป โดยบางชนิดอาจจะมีรสขมจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก สำหรับส่วนของผักกูดที่นิยมนำมากิน คือ ผักกูดน้ำ โดยใช้เพียงส่วนใบและยอดอ่อน เท่านั้น สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด อาทิ ผักกูดไฟแดง ผักกูดน้ำมันหอย แกงส้มผักกูด ยำผักกูด หรือกินแบบสดๆแนมกับน้ำพริกก็อร่อยได้เหมือนกัน
“คะน้า” ผักแสนอร่อยแคลเซียมสูง ช่วยลดเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจตีบ
ผักแพว ประโยชน์ผักพื้นบ้านกลิ่นหอมฉุน วิตามินสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ
คุณค่าทางโภชนาการผักกูด 100 กรัม
ผักกูดเป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันเซลล์ได้ โดยมีปริมาณแคลเซียม 18.79 มก. ฟอสฟอรัส 72.72 มก. ธาตุเหล็ก 0.82 มก. โพแทสเซียม 507.70 มก. โซเดียม 10.90 มก. วิตามินอี 0.99 มก. และยังประกอบไปด้วย วิตามินบีสอง 0.07 มก. โปรตีน 4.09 ก. ใยอาหาร 4.14 ก. คาร์โบไฮเดรต 3.67 ก. และมีปริมาณแอนติออกซิแดนท์ทั้งหมด 211.92 มก.
นอกจากคุณค่าด้านอาหารแล้วสรรพคุณทางยาก็มีไม่น้อย เพราะสามารถนำส่วนต่างๆของผักกูดมารักษาโรคได้ อาทิ ลดความดันโลหิตสูง ลดคลอเลสเตอรอล แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง เป็นต้น
มะเดื่อฝรั่ง(ลูกฟิก)ประโยชน์ผลไม้โภชนาการสูง ช่วยคุมน้ำตาลในเลือด
ทั้งนี้ผักกูดมีสารออกซาเลตสูงมาก ซึ่งสารชนิดนี้จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นนิ่วและอาจมีปัญหาไตอักเสบได้ จึงไม่ควรกินแบบดิบๆ เป็นอันขาด แนะนำให้นำไปปรุงให้สุกก่อนทุกครั้ง อีกทั้งการทำให้สุกยังดีกับในแง่การดูดซึมสารอาหาร โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีน ที่สำคัญควรดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อลดการผนึกของออกซาเลตออก
ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดอำนาจเจริญ
“ตำลึง” สมุนไพรฤทธิ์เย็น โภชนาการสูง แหล่งสารฟลาโวนอยด์ช่วยต้านมะเร็ง
ประโยชน์ “ถั่วงอก” กินได้ไม่ต้องเขี่ยทิ้ง เหตุผลที่ไม่ควรกินดิบ!