“มะพร้าว” ประโยชน์ตั้งแต่ผลยันราก ข้อแนะนำในการกินน้ำมะพร้าว
มะพร้าว ผลไม้ที่รู้จักกันทั่วโลก จัดเป็นพืชเศรษฐกินทั่วโลก อีกทั้งยังมีประโยชน์และสรรพคุณทางยาด้วย แพทย์เผยข้อควรรู้ก่อนกินน้ำมะพร้าว ที่ควรกินแต่พอดี
มะพร้าว (Coconut) เป็นพืชตระกูลปาล์ม ผลไม้ที่มีเนื้อด้านในเมล็ดที่ล้อมรอบด้วยเปลือกแข็ง และนับว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย โดยมีหลากหลายสายพันธ์ อาทิ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ มะพร้าวพวงร้อย อีกทั้งยังมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการในทุกส่วน อีกทั้งยังมีน้ำและเนื้อที่หวานหอมสดชื่น ดับร้อนได้เป็นอย่างดี คุณประโยชน์ได้หลายอย่างมาหลายยุคหลายสมัยเป็นเวลานานแล้ว บนเกาะหลายแห่ง มะพร้าวเป็นส่วนสำคัญในอาหารที่คนส่วนใหญ่บริโภค
“ตำลึง” สมุนไพรฤทธิ์เย็น โภชนาการสูง แหล่งสารฟลาโวนอยด์ช่วยต้านมะเร็ง
“ลูกเนียง”ช่วยคุมเบาหวาน แต่ไม่ควรกินดิบเสี่ยงไตวายเฉียบพลันได้!
เกือบ 1 ใน 3 ของประชากรโลกที่นำมะพร้าวเป็นส่วนประกอบของอาหารและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ทั่วโลกมีการปลูกมะพร้าวมากกว่า 80 ประเทศ ซึ่งมีการผลิตมะพร้าวมากกว่า 61 ล้านตันต่อปี ประเทศที่ติดอันดับ 10 ประเทศในปี 2553 ที่เป็นผู้ผลิตมะพร้าวออกสู่ตลาดโลกมากที่สุด คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อินเดีย ส่วนประเทศไทย ติดอันดับ 6 เลยทีเดียว
ประโยชน์จากมะพร้าว
- ผลมะพร้าวอ่อน มีน้ำมะพร้าวใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ดี เนื่องจากมีโพแทสเซียมอยู่มาก
- เนื้อมะพร้าวจากผลแก่ สามารถนำมาปรุงอาหารทำขนมได้หลายชนิด และใช้สกัดน้ำมัน และกากที่เหลือสามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้
- น้ำมะพร้าว นำไปทำวุ้นมะพร้าวได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในมะพร้าว
- ยอดอ่อนของมะพร้าว นำไปทำอาหาร แต่ยอดอ่อนจะมีราคาแพง เพราะการเก็บยอดอ่อนของมะพร้าวในแต่ละครั้งทำให้ต้นมะพร้าวตาย
- ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร
- เปลือกมะพร้าว นำไปแยกเอาเส้นใยใช้ทำเชือก เบาะ ที่นอน
- ขุยมะพร้าว ใช้ทำวัสดุเพาะชำต้นไม้
- กะลา ใช้ทำภาชนะตักของเหลว ทำกระดุม เครื่องประดับ เครื่องดนตรี
- ใบมะพร้าว ทั้งอ่อนและแก่ ตลอดจนก้านใบใช้มุงหลังคา ทำเครื่องจักสาน ไม้กวาดทางมะพร้าว
- ลำต้นแก่ ใช้ในการก่อสร้างประดิษฐ์เครื่องเรือน
- ราก ใช้ทายา สีย้อมผ้าและเชื้อเพลิง
มะพร้าวในทางการแพทย์แผนโบราณ
คนที่มีความหลากหลายวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนาที่กระจายอยู่ทั่วโลกมีความเชื่อว่า มะพร้าวมีคุณค่าทั้งด้านอาหารและยา ทางการแพทย์แผนโบราณทั่วโลกมีการน ามะพร้าวมาใช้ในการรักษาปัญหาสุขภาพ เช่นฝี โรคหอบหืด หัวล้าน หลอดลมอักเสบ แผลถลอก แผลจากไฟไหม้ เป็นหวัด ท้องผูก ไอ ท้องมาน โรคบิด อาการปวดหู มีไข้จากหวัด โรคเหงือกอักเสบ โรคหนองใน ปวดประจ าเดือน และอื่น ๆ อีกมากมาย
“กุยช่าย” ผักกลิ่นฉุน มีประโยชน์ธาตุเหล็กสูงช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
มะพร้าวในการการแพทย์แผนปัจจุบัน
วิทยาศาสตร์ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันมีการยืนยีนการใช้มะพร้าวในการรักษาอาการหรือโรคดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่ามะพร้าวในรูปแบบต่าง ๆ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งบางส่วนสามารถสรุปได้ดังนี้
- ฆ่าไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ เริม หัด ไวรัสตับอักเสบซี โรคซาร์ส โรคเอดส์ และโรคอื่น ๆ
- ฆ่าแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของแผลที่มีหนอง การติดเชื้อที่ลำคอ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคเหงือกอักเสบ และฟันผุ
- ฆ่าเชื้อราและยีสต์ที่ก่อให้เกิด กลาก ผื่นคันและการติดเชื้ออื่น ๆ
- ช่วยเพิ่มการย่อยและการดูดซึมของสารอาหารอื่น ๆ รวมทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และกรดอะมิโน
- ช่วยเพิ่มการหลั่งอินซูลินและการใช้ประโยชน์ของน้ำตาลกลูโคสในเลือด
- ช่วยลดอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคตับอ่อนอักเสบ
- ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
- ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคถุงน้ำดี
- ช่วยลดการอักเสบต่าง ๆ
- ช่วยสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
- ช่วยป้องกันระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ช่วยรักษาสุขภาพของหนังศีรษะ ไม่มีรังแค
- ช่วยป้องกันโรคตับอักเสบ
- ช่วยป้องกันโรคอ้วนและน้ำหนักเกิน
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติเป็นสารรักษาความชุ่มชื้น ช่วยให้ผิวหนังนุ่ม ชุ่ม และเนียน ป้องกันการเกิดความแห้งกร้านของผิวหนัง
น้ำมะพร้าวคือน้ำผลไม้ชนิดหนึ่ง นอกจากประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่นแล้ว ควรคำนึงถึง ปริมาณน้ำตาลที่ได้รับ ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลการศึกษาในคนที่บ่งบอกว่าการดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันจะส่งผลเสียกับสุขภาพหรือไม่ แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้ปริมาณน้ำตาลที่ร่างกายต้องการต่อวัน ไม่ควรเกิน 10% ของปริมาณพลังงานที่ได้รับทั้งวัน สำหรับคนไทยปริมาณน้ำตาลที่ได้รับไม่ควรเกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม เนื่องจากมีการได้รับน้ำตาลจากอาหารอื่นแล้ว ดังนั้นใน 1 วันไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าวเกิน 1 ลูก หรือ 1 แก้ว เพื่อป้องกันไม่ไห้ได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไป ที่สำคัญควรเลือกกินน้ำมะพร้าวควรดื่มแบบสดๆ เฉาะใหม่ๆ หรือหากเป็นแบบถุงหรือแบบขวดควรซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และไม่ควรเติมน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมเพราะในน้ำมะพร้าวมีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบอยู่แล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ medthai
อาหารบำรุงเลือด สำหรับผู้ต้องการบริจาคโลหิต ป้องกันขาดธาตุเหล็ก
“ไข่ผำ” ซุปเปอร์ฟู้ดขนาดจิ๋ว คุณค่ามาโภชนาการสูง อาหารแห่งอนาคต