น้ำอัดลม VS น้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล ทำไมควรดื่มแต่พอดีเสี่ยงสุขภาพพัง
ไขข้อสงสัย น้ำอัดลมแบบไม่มีน้ำตาลดีต่อสุขภาพมากกว่าจริงหรือไม่? เปิดเหตุผลทำไมควรเลี่ยงหรือดื่มแต่พอดี และปริมาณน้ำตาลในน้ำอัดลม
น้ำอัดลม นับเป็นเครื่องดื่มที่มีให้เลือกอย่างหลากหลายรสชาติในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นที่นิยม เพราะความหวานความซ่า สดชื่น ตอบโจทย์เมืองร้อนอย่างไทยอย่างยิ่ง จากข้อมูลพบว่าสถานการณ์การบริโภคนํ้าตาลของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา และมีค่าเฉลี่ยของการบริโภคค่อนข้างสูง คือ 22 ช้อนชา/คน/วัน
จากการสำรวจปริมาณนํ้าตาลในนํ้าอัดลมประเภทต่างๆ พบว่า กลุ่มนํ้าดํา มีปริมาณน้ำตาล 9.3 ช้อนชา กลุ่มน้ำสีมีปริมาณน้ำตาล 14.5 ช้อนชา และกลุ่มน้ำใสมีปริมาณน้ำตาล 11 ช้อนชา
4 อาหารยิ่งกินกระดูกยิ่งพรุน ทำลายแคลเซียมส่งผลเสียต่อไต!
วิจัยประโยชน์ของ “ไข่” โปรตีนราคาย่อมเยา ควบคุมน้ำหนัก ลดเบาหวาน
น้ำอัดลม VS น้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล
น้ำอัดลม ส่วนประกอบหลัก
- สีธรรมชาติ
- สารให้ก๊าซคาร์บอน
- สารควบคุมความเป็นกรด
- น้ำตาล
- วัตถุกันเสีย
ข้อควรระวังกินน้ำอัดลม
- กินเป็นประจำติดน้ำตาล
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- น้ำหนักเกิน โรคอ้วน
- ภูมิคุ้มกันตก
- แก่ก่อนวัย
- ตับอ่อนผลิตอินซูลินลดลงเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคติดต่อเรื้อรัง
ปริมาณน้ำตาลในน้ำอัดลม
- 325 ซีซี : ปริมาณน้ำตาล 8.5 ช้อนชา เทียบเท่าน้ำตาลในลูกอมจำนวนมากถึง 17 เม็ด
- 375 ซีซี : ปริมาณน้ำตาล 9.5 ช้อนชา เทียบเท่าน้ำตาลในลูกอมจำนวนมากถึง 19 เม็ด
น้ำอัดลม (ปราศจากน้ำตาล) ส่วนประกอบหลัก
- สีธรรมชาติ
- สารให้ก๊าซคาร์บอน
- สารควบคุมความเป็นกรด
- สารให้ความหวานแทนน้ำตาล
- ซูคราโลสและแอซีซัลเฟมโพแทสเซียม
ข้อควรระวังกินน้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล
- กินเป็นประจำติดรสหวาน
- กระตุ้นหิวบ่อยขึ้น
- บริโภคมากไปอาจส่งผลกับสุขภาพ
- กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็กอายุน้อย หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้เป็นไมเกรน ผู้ป่วยโรคลมชักควรหลีกเลี่ยง
เลือกอาหารอย่างไร? ช่วยลดอาการแพ้ผงชูรส เลี่ยงโซเดียม สุขภาพดีมากกว่า
อันตรายจากการดื่มน้ำอัดลมทุกชนิด
- โรคอ้วน เพราะน้ำอัดลมมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก หากดื่มเยอะต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลให้มีน้ำหนักตัวมากขึ้น ส่งผลต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิต
- เบื่ออาหาร เด็กที่ดื่มน้ำอัดลมมากๆ จะทำให้อิ่มเร็ว และกินอาหารมื้อหลักได้น้อย
- โรคกระเพราะ เพราะในน้ำอัดลมมีกรดคาร์บอนิกเยอะ หากดื่มสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เด็กจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง และกลายเป็นโรคกระเพาะ
- ฟันผุ เด็กที่ดื่มน้ำอัดลมจะทำให้ฟันผุ เพราะสารเคลือบฟันจะถูกทำลาย และน้ำตาลในน้ำอัดลมเป็นแหล่งอาหารของเชื้อแบคทีเรีย
- สูญเสียแคลเซียม ตาเฟอีนมีผลต่อการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้มีโอกาสสูญเสียแคลเซียมจากร่างกายโดยไม่จำเป็นทำให้เกิดภาวะกระดูกผุ กระดูกเปราะได้
- นอนไม่หลับ เพราะคาเฟอีนในน้ำอัดลม มีผลต่อการกระตุ้นหัวใจ และระบบประสาท
องค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่แนะนำให้คนทั่วไปใช้สารความหวานแทนน้ำตาล เพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือลดความเสี่ยงการเกิด โรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCDs) เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยเช่นกัน ทางที่ดีควรเลี่ยงหรือลดปริมาณการกินเพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลในแต่ละวัน ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงไม่ติดหวาน
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ สสส.
อาหารกินบ่อยเสี่ยง “ไขมันพอกตับ” ปัจจัยก่อมะเร็งตับถึงไม่ดื่มแอลกอฮอล์
แจก 3 สูตรทำน้ำขิงด้วยตนเอง สมุนไพรแก้หนาว ช่วยขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ