อันตราย “น้ำมันทอดซ้ำ” กินบ่อยเสี่ยงสารพัดปัญหาสุขภาพ ก่อโรคมะเร็ง
“ของทอด” อร่อยกรุบกรอบกินง่าย กินซ้ำกินนานกนอกจากอ้วนแล้วยังเสี่ยงสารพัดโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะจากน้ำมันทอดซ้ำ ที่เสี่ยงมะเร็งทั้งคนกินและกินทอด
ของทอด นับเป็นอาหารสุดโปรดของใครหลายคน เพราะนอกจากความกรุบกรอบ กินง่าย อร่อย หาซื้อง่าย อาหารแปรรูปหลากหลายชนิดทำให้กินแล้วไม่เบื่อ สามารถกินได้เรื่อย ๆ ยิ่งจิ้มคู่กับน้ำจิ้มหลากหลายอย่าง ยิ่งเพลิน! ซึ่งแน่นอนว่าการกินซ้ำไปนานๆ ไม่ตลกแน่สำหรับสุขภาพ
ทางการแพทย์ระบุว่า การที่เราทานอาหารทอดหรือเนื้อสัตว์ติดมันบ่อยๆ จะมีผลทำให้ร่างกายได้รับปริมาณไขมันที่มากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ร่างเผาพลาญไขมันส่วนเกินได้ไม่หมด เกิดการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

หากไขมันส่วนเกินเหล่านั้น ไปสะสมที่บริเวณผนังหลอดเลือดเป็นเวลานานๆ จนเกิดการอุดกั้น ส่งผลให้หลอดเลือดตีบตัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองตีบ หัวใจวายเฉียบพลัน และโรคเรื้อรังอันตรายอื่นๆ
ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในระบุว่าในแต่ละปี คนไทยบริโภคน้ำมันพืชกว่า 8 แสนตัว และพบว่ามีการนำกลับมาใช้ซ้ำ จนเสื่อมคุณภาพและหลายเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้หรือกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ไอของน้ำมันที่เสื่อมสภาพจะมีกลุ่มสารก่อมะเร็ง ทำให้ผู้ทอดอาหารเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดจากกการสูดดม
อันตรายของน้้ามันที่เสื่อมคุณภาพเกิดจากโครงสร้างของน้้ามันถูกเปลี่ยน เป็นสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น สารโพลาร์ ซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคความดัน โลหิตสูงและหลอดเลือดหัวใจตีบ และสารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นสาร ก่อมะเร็ง เป็นต้น
น้ำมันเสื่อมสภาพ ควรทิ้งทันที
- มีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้น สีด้า เกิดฟอง ควันหรือเหม็นไหม้
- เมื่อใช้ชุดตรวจสารโพลาร์ ผลเป็นสีชมพูอ่อนหรือไม่มีสี
- อุณหภูมิที่เป็นควันหรือจุดเกิดควันต่้ากว่า 170 องศาเซลเซียส
ทั้งนี้ควรสังเกตน้ำมันการทอดก่อนซื้อตามร้านค้า และควรเลือกกินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ไม่กินของทอดบ่อยหรือซ้ำเป็นเวลานาน กินแต่พอดี เลือกกินผักผลไม้สดให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายของน้ำมันทอดซ้ำ และของทอดที่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เพราะล้วนมีมีไขมันอันตรายซ่อนอยู่ โดยเฉพาะไขมันทรานส์ (Trans Fat) และไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat) รวมทั้งเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในอนาคต
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท และ สำนักโภชนาการ