6 อาหารช่วยลดอาการปวดหัวบ่อย บำรุงปลายประสาท ช่วยผ่อนคลาย
อาการปวดหัวบ่อยควรเลี่ยงยาบ่อยๆ หันมากินอาหารบำรุงประสาท เช่น อัลมอนด์ แซลมอน กล้วย พร้อมเทคนิคลดปวดที่ทำได้เลย!
หลายคนมีอาการปวดหัวบ่อย ไม่ว่าจะจากความเครียดสะสมหรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจทำให้บางคนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จำเป็นต้องทานยาระงับปวดดังกล่าว ซึ่ง ควรหยุดพฤติกรรมรับประทานยาแก้ปวดบ่อยๆ ได้แล้ว เพราะนอกจากจะทำให้ตับพังไม่รู้ตัว ยังเป็นการแก้ที่ปลายเหตุอีกด้วย รู้หรือไม่ ? มีอาหารบางชนิดช่วยบำรุงระบบประสาท ช่วยผ่อนคลาย มีวิตามิน ช่วยให้คุณผ่อนคลาย ลดการตึงเครียดของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ บรรเทาการอักเสบของร่างกาย ทำให้คุณหายปวดหัวได้!

6 อาหารลดอาการปวดหัวบ่อย
- ข้าวโพด มีสารวิตามินบี3 สูง ช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
- อัลมอนด์ ช่วยบำรุงระบบประสาทและช่วยผ่อนคลายจากความตึงเครียด
- ผักใบเขียว มีเส้นใยอาหารสูงและวิตามิน ลดอาการปวดศีรษะได้
- แซลมอน อุดมไปด้วยโอเมก้า3 ลดการแข็งตัวของเลือด และบรรเทาอาการอักเสบ
- กล้วย มีแมกนีเซียมสูง ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย แก้อาการนอนไม่หลับได้
- แตงโม มีแมกนีเซียมสูง บรรเทาอาการปวดหัวได้ดี
เทคนิคลดปวดหัว
- นวดกดจุด และยืดกล้ามเนื้อ ลองนวดกดตรงกล้ามเนื้อบริเวณที่เรียกว่า Trapezius คือช่วงบ่า และ ไหล่ นวดกดไว้จนกล้ามเนื้อมัดที่จับเป็นก้อนเริ่มคลายตัว หลังจากนั้นให้ยืดกล้ามเนื้อคอ โดยใช้มือขวาดึงศีรษะเอียงไปด้านขวาค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้าง อาการปวดหัวจะผ่อนคลายลง
- เติมน้ำให้ร่างกาย คนที่ปวดศีรษะเป็นประจำ ควรสังเกตตัวเองว่า เป็นคนไม่ค่อยดื่มน้ำหรือเปล่า การที่ร่างกายขาดน้ำคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดศีรษะ ให้ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น หากไม่ชอบน้ำเปล่า ควรเปลี่ยนมาเป็นน้ำมะนาวใส่น้ำผึ้ง หรือน้ำขิงอุ่นๆ หรือ ชาเปปเปอร์มิ้นท์ ที่มีกลิ่นที่ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะลงได้
- ออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง และยังทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมน ที่เป็นสารบรรเทาอาการปวดตามธรรมชาติในร่างกาย
- ดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหย อาทิ น้ำมันเปปเปอร์มิ้นต์ หรือลาเวนเดอร์ที่มีคุณสมบัติช่วยลดอาการปวดหัว ความเครียด หรือไมเกรนได้โดยตรง
ทั้งนี้หากมีอาการ ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยตาไม่พร่ามัว มองไม่เบลอไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรงอาการปวดหัวแต่ละครั้งไม่ได้รุนแรงขึ้นกว่าเดิม ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน และ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร