“ป่วยจริง”หรือ“โรคคิดไปเองว่าป่วย”เช็กก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนซึมเศร้า
การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ คำนี้ไม่เกินจริง เพราะสุขภาพที่ดีคือรางวัลที่ยิ่งใหญ่ของชีวิต แต่หากวิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำมาเกินไป กลัวว่าตัวเองจะป่วยและมีอาการที่คิดไปเองตื่นตระหนกพึ่งพาการวินิจฉัยโรคจากการเสริชอินเตอร์เน็ตมากเกินไป ไม่เชื่อคำวินิจฉัยของแพทย์ว่าไม่ป่วย ...คุณกำลังอาจเผชิญกับโรคทางจิตเวช คิดไปเองว่าป่วย (Hypochondriasis)
การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ คำนี้ไม่เกินจริง เพราะสุขภาพที่ดีคือรางวัลที่ยิ่งใหญ่ของชีวิต แต่หากวิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำมาเกินไป กลัวว่าตัวเองจะป่วยและมีอาการที่คิดไปเองตื่นตระหนกพึ่งพาการวินิจฉัยโรคจากการเสริชอินเตอร์เน็ตมากเกินไป ไม่เชื่อคำวินิจฉัยของแพทย์ว่าไม่ป่วย ...คุณกำลังอาจเผชิญกับโรคทางจิตเวช
โรคคิดไปเองว่าป่วย (Hypochondriasis) พบได้บ่อยในวัยทำงานช่วงอายุ 20-30 ปี ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย โดยผู้ป่วยมักแสดงลักษณะอาการ
วิจัยพบปัญหาสุขภาพจิต-สูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเร่งแก่ก่อนวัย แนะวิธีเอาชนะความโศกเศร้า
ปัญหาสุขภาพจิตไทยพุ่ง 3.3 หมื่นคน สธ.เร่งขยายสิทธิด้านรักษา
- หมกมุ่นอยู่กับความคิดที่ว่าตัวเองป่วยหรือเป็นโรคร้ายแรงบางอย่าง
- กังวลมากกว่าปกติเกี่ยวกับอาการที่ยังไม่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นเล็กน้อย
- กังวลเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมที่พบในครอบครัวมากเกินไป
- ตื่นตัวเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายของตนเอง
- พูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองและความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้น
- หาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับอาการหรือโรคที่อาจเกิดขึ้น
- ไม่วางใจในข้อมูลหรือผลตรวจที่ได้จากการพบแพทย์ มาพบแพทย์ซ้ำมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป หรือหลีกเลี่ยงการพบแพทย์เนื่องจากกลัวผลการตรวจ
- มีความกังวลเกิดขึ้นติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน
- กลัวการเจ็บป่วยที่ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติหรือการเจ็บป่วยโรคอื่น
- หลีกเลี่ยงสถานที่หรือกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
ภาวะแทรกซ้อน Hypochondriasis ไม่ใช่โรครุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาจส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ยาเกินขนาดกระทบกับการเงิน หรือเกิดความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ เช่น ภาวะโซมาติก,ภาวะวิตกกังวล,บุคลิกภาพผิดปกติ,ภาวะซึมเศร้า หากมีอาการร่วมกับภาวะซึมเศร้าอาจเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ซึ่งหากเช็กดูแล้วพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีความเสี่ยงในโรคดังกล่าวสามารถเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์เฉพาะทางได้เพื่อหาแนวทางการรักษา โดยผู้ป่วยควรดูแลตนเองได้ร่วมกับการรักษาจากแพทย์
- ให้ความร่วมมือกับแพทย์อย่างตรงไปตรงมา
- จัดตารางเวลาในการไปหาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยอาจจะเป็น ไปตรวจร่างกายทุกๆ 6 เดือน เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับสภาพร่างกายของตัวเอง
- ทำกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อลดความวิตกกังวล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติดเพื่อการผ่อนคลาย
- หลีกเลี่ยงการหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเนื่องจากอาจทำให้เกิดความสับสนและความวิตกกังวล
- หลีกเลี่ยงการหมกมุ่นกับความวิตกกังวลด้วยการทำกิจกรรมต่างๆ
- ดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายและกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบร่างกายและสมอง
ป่วยจริงไม่หงายการ์ด “ป่วยจิตเวช” แบบไหนละเว้นโทษได้
ทั้งนี้การสังเกตถือเป็นเรื่องดี และหากมีอาการต่างๆแต่ไปพบแพทย์ถึง2 ครั้งได้รับผลวินิจฉัยว่าปกติ แนะนำว่าให้หากิจกรรมอื่นที่ทำให้สดชื่นลดการจดจ่ออยู่กับเรื่องเดิมๆ เพื่อให้ความวิตกกังวลนั้นค่อยๆหายไป
ข้อมูลจาก: โรงพยาบาลพญาไท,hellokhunmor
“โรคดึงผมตัวเอง” ป่วยจิตเวชแบบย้ำคิดย้ำทำ หายได้หากรู้ตัวทัน
รู้จักภาวะ High Place Phenomenon ยืนที่สูงแล้วอยากกระโดดลงไป