เลี้ยงลูกไม่ให้เอาแต่ใจ จนกลายเป็นโรคเจ้าหญิง-เจ้าชาย ที่ไม่มียารักษา
เทคนิค เลี้ยงบุตรหลานไม่ให้ป่วยเป็นโรคเจ้าหญิง-เจ้าชาย เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง ขาดความเมตตาเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ด้วยการรักจนสำลักความรักสปอยจนกู่ไม่กลับ
รู้หรือไม่? ในสังคมปัจจุบันได้มีการพูดถึงโรคเจ้าหญิง Princess Syndrome และ โรคเจ้าชาย (Princess Syndrome) เอาไว้ เรียกกลุ่มคนทั้งชายและหญิงที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางเป็นที่หนึ่งอยู่เสมอ หลงตัวเอง เห็นแก่ตัว ชอบเรียกร้องความสนใจของคนอื่น จิตใจหยาบกระด้าง หยาบคาย ยกตัวเองให้สูงกว่าคนอื่นเสมอ โกหกเก่ง ไปจนถึงขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นตลอดจน ปฏิเสธคำพูดและเหตุผลของผู้อื่น ที่พบมากในกลุ่มวัยรุ่น
“โรคไม่รู้จักความลำบาก” ปัญหาการสปอยล์ลูกมากเกินไปของพ่อแม่ยุคใหม่
วิธีรับมือ “ลูกงอแงก้าวร้าว”ให้ความสัมพันธ์ครอบครัวแน่นแฟ้นไม่เป็นปัญหาสังคม
แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องดีแน่และเสี่ยงที่จะเป็นปัญหาสังคมรวมถึงปัญหาสุขภาพจิตที่ต้องได้รับการเยียวยารักษา ที่ส่วนหนึ่งมาจากนิสัยของตัวเองของพวกเขาเองแต่ก็ปฎิเสธไม่ได้...ว่าครอบครัวสิ่งแวดล้อมที่เขาอยู่และซึมซับทุกวัน มีส่วนที่หล่อหลอมเขาให้เป็นโรคดังกล่าว
รักมากไป ทำร้ายลูกไม่รู้ตัว ?
การเลี้ยงลูกให้เติบโตเป็นคนดีนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่าย พ่อแม่ต้องดูแลตั้งแต่ลูกยังเล็กทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต มีความรับผิดชอบ สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ เข้าสังคมได้ดี การปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีแก่เด็กเป็นส่วนสำคัญที่จะพาให้ลูกของคุณประสบความสำเร็จ
ธรรมชาติของเด็กมักเลียนแบบผู้ใหญ่อยู่เสมอ พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กเสมอ เช่น ถ้าต้องการให้ลูกกินผัก เราต้องกินผักเป็นตัวอย่าง ถ้าอยากให้ลูกออกกำลังกาย เราก็ต้องออกกำลังกายเป็นตัวอย่างให้ลูกดู หรืออยากให้ลูกชอบอ่านหนังสือก็ต้องอ่านหนังสือเป็นตัวอย่างให้กับลูก เพราะเด็กเรียนรู้ได้ดีจากการเลียนแบบ และควรที่จะเริ่มสร้างลักษณะนิสัยที่ดีเมื่อลูกของคุณยังอายุน้อย ที่สำคัญอย่าใช้วิธีต่อรองกับลูกโดยใช้อาหารและของเล่น เพราะนั่นจะเป็นการสร้างนิสัยที่ไม่ดีให้กับลูกของคุณ แต่ควรให้เวลาพูดคุยขัดเกลาจิตใจกับลูก ให้รางวัลแก่ลูก การให้รางวัลแก่เด็กจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการในเชิงบวก เช่น ไปเล่นกีฬาด้วยกัน ไปเดินทางท่องเที่ยวด้วยกัน ให้ลูกวางแผนการทำกิจกรรมที่สนุกด้วยกันตลอดทั้งวัน หรือเป็นสิ่งของที่ลูกอยากได้ แทนการอนุญาตให้เล่นเกมหรือดูทีวี ฉะนั้นพ่อแม่เอง ก็ต้องปรับปรับ Mindset ให้เหมาะสมสอนลูกไปในทางเดียวกัน เพื่อเลี้ยงดูบุตรหลานให้แข็งแรงด้านจิตใจ
เทคนิคเลี้ยงลูกให้จิตใจแข็งแรงสมวัย ?
- ชื่นชมต่อความพยายาม คำชมเป็นแรงจูงใจ
- อย่าใช้อารมณ์กับลูก ถ้าต้องการจะบอกลูกให้ทำอะไรบางอย่าง หรือลงโทษให้ลูกของเราสงบ เด็กจะเรียนรู้การจัดการกับอารมณ์ของเขาโดยการเฝ้ามองเรา
- ดุลูกให้ได้ผล ยึดหลักที่ว่า ถูกก็ว่าไปตามถูก ผิดก็ว่าไปตามผิด ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องคอยตักเตือนและชี้ทางที่ถูกที่ควรเพื่อให้เขาปรับปรุงตัว และเมื่อดุไปแล้ว หากอยากจะปลอบโยนลูก หรือขอโทษที่เสียงดังหรือเผลอกระทำลงไม้ลงมืออะไรไปก็สามารถทำได้ ต้องให้ความสำคัญกับวิธีการดุลูกและการปลอบลูกด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วลองดูวิธีดุลูกอย่างเหมาะสมว่าพ่อแม่ควรดุลูก หรือทำอย่างไรเพื่อให้ลูกรับรู้และเชื่อฟังในความผิดของตนเอง
สอนลูกติดเกราะป้องกันบูลลี่และไซเบอร์บูลลี่ลดปัญหาแผลใจระยะยาว
เลี้ยงลูกให้น่ารักกับคนอื่นด้วย
อย่าเลี้ยงลูกแบบให้ความรักจนเกินพอดี ให้มากไปลูกอาจไม่เห็นคุณค่าหรือไม่ก็สำลักความรัก จนกลายเป็นเด็กไม่น่ารักสำหรับใคร ๆ ทำผิดก็มีการลงโทษตามสมควร จะตีบ้างนาน ๆ ทีก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร อย่ากลัวลูกเสียใจ อย่ากลัวลูกไม่รักกฎกติกาต้องชัดเจน ปฏิบัติได้ และเข้าใจง่าย ถ้าลูกโตพอ บางเรื่องก็ควรให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการกำหนดกฎกติกาภายในบ้านด้วย กฎกติกาต้องมีเหตุผล เหมาะสมกับวัยของเด็กที่จะปฏิบัติได้ ไม่บังคับให้เด็กทำตามความต้องการของพ่อแม่ ควรสร้างทางเลือกเพื่อให้เด็กมีโอกาสเลือกหรือตัดสินใจด้วยตนเองตามวัยของลูก
การสร้างนิสัยที่ดีให้กับลูกยังมีเทคนิคอีกมากมาย การที่ลูกเป็นคนที่ดีย่อมจะเป็นที่รักกับคนในสังคม ควรสร้างนิสัยที่ดีให้ติดตัวลูกไปตลอดชีวิต โดยจะต้องเริ่มปลูกฝังสิ่งที่ดีให้แก่ลูกตั้งแต่ยังเล็กเพื่อจะติดตัวลูกไปในอนาคต
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรคขาดความเมตตา ภาวะเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ดาบ 2 คม ยุคไซเบอร์
“โรคดึงผมตัวเอง” ป่วยจิตเวชแบบย้ำคิดย้ำทำ หายได้หากรู้ตัวทัน