อารมณ์รุนแรง-หูแว่ว สัญญาณเสี่ยงไบโพลาร์ในเด็ก ปัจจัยและวิธีสังเกต
รู้หรือไม่? “ไบโพลาร์” ปัญหาจิตเวชในเด็ก สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรม 75% แนะวิธีสังเกตจิตเวชในเด็ก และวิธีการรักษา
ไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) ปัญหาด้านจิตเวชที่พบว่าไม่เพียงแค่วัยผู้ใหญ่เท่านั้นที่มีความเสี่ยง แต่เด็กก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นไบโพล่าร์ได้เช่นกัน อีกทั้งยังมีอาการแตกต่างจากผู้ใหญ่ ดังนั้น พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรรู้จักสังเกตความผิดปกติของเด็ก หากพบสัญญาณให้รีบปรึกษาจิตแพทย์ วางแผนการรักษาก่อนเหตุการณ์ไม่คาดคิดจะเกิดขึ้น
อาการไบโพลาร์ในเด็กต่างจากวัยผู้ใหญ่อย่างไร?
- ไบโพลาร์ในผู้ใหญ่ที่ตกอยู่ในภาวะไบโพล่าร์มักจะแสดงอาการ เช่น อารมณ์ดีผิดปกติ คึกคักผิดปกติ
สัญญาณ “ไบโพลาร์” อารมณ์ 2 ขั้ว และปัจจัยการเกิดโรคที่พบบ่อยในวัยรุ่น
“แพนิค” ไม่ใช่แค่ตกใจ แต่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติแนะวิธีบรรเทา
มีความมั่นใจในตนเองสูง หรือมีความคิดในการทำโครงการที่ดูยิ่งใหญ่เกินไป มีอารมณ์ทางเพศสูง ไม่อยากนอน นอนน้อยแต่ไม่อ่อนเพลีย
- ไบโพล่าร์ในเด็กที่จะมีอาการไม่ชัดเจนมาก คือ จะมีอาการหงุดหงิดผิดปกติ อารมณ์รุนแรง มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น พูดมากขึ้น เหมือนมีเรื่องอยากทำมากขึ้นหลายอย่าง และจะแตกต่างจากโรคสมาธิสั้น เพราะไบโพลาร์จะมีอาการเป็นช่วงๆ เท่านั้น เช่น อาการเกิดขึ้นอยู่ 4 วันหรือ 1 อาทิตย์ เป็นต้น
วิธีสังเกตไบโพลาร์ในเด็ก
- การเรียนรู้ หรือการทำงาน การเรียนไม่ดีในช่วงเวลาหนึ่ง
- ส่วนในเด็กที่มีอาการรุนแรง สามารถสังเกตได้จากอาการหลงผิด ก้าวร้าว หูแว่ว หรือเห็นภาพหลอน
สาเหตุไบโพลาร์ในเด็ก
- พันธุกรรมจากการมีคนในครอบครัวเป็นโรคไบโพลาร์ เด็กมักมีโอกาสเป็นไบโพลาร์ได้สูงขึ้น โดยถ้าพ่อและแม่เป็นไบโพลาร์จะทำให้เด็กมีโอกาสเป็นไบโพลาร์ 75% หรือถ้าพ่อหรือแม่ คนใดคนหนึ่งเป็นไบโพลาร์จะทำให้เด็กมีโอกาสเป็นไบโพลาร์ 25%
- ความผิดปกติทางระบบสมองทำงานไม่สมดุล
- สภาพแวดล้อมของครอบครัว ความสูญเสียคนในครอบครัว อารมณ์ซึมเศร้าที่เกิดขึ้น
รู้จักเด็ก “ดิสเล็กเซีย” (Dyslexia) อ่าน-สะกดไม่คล่อง ความบกพร่องการเรียนรู้
แนวทางการรักษาไบโพลาร์ในเด็ก
- การใช้ยา เมื่ออาการดีขึ้น จะพิจารณาการปรับในเรื่องการดูแลในครอบครัว โดยจะให้ยารักษาระยะเฉียบพลันเพื่อช่วยควบคุมอารมณ์ และยาช่วยรักษาอาการประสาทหลอน หูแว่ว ซึ่งจะต้องให้ยาต่อเนื่อง 1- 2 ปี และใน 2 ปีแรกเด็กสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ 50% ซึ่งบางรายที่กลับมาเป็นซ้ำต้องให้ยาต่อเนื่องนานขึ้น หรือทานยาไปตลอด
- การให้คำแนะนำกับครอบครัว ให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น ความขัดแย้งในครอบครัว
- การปรับมุมมอง ความคิด เพื่อให้เด็กลดความกังวลหรือความเศร้า ลง
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมกระตุ้น เช่น การใช้เหล้า สารเสพติด การอดนอน เพราะจะทำให้อาการกำเริบได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : รพ.พญาไท
ภาพจาก : shutterstock
เทคนิคเพิกเฉยสำหรับพ่อแม่มือใหม่ปราบ"เด็กดื้อ ก้าวร้าว" อยู่หมัด!
จิตเวช-จิตเภทแตกต่างกันอย่างไร? อาการปัจจัยเสี่ยงที่ควรสังเกตและรักษา