“ภาวะหมดใจ” สาเหตุการลาออกเงียบ สะท้อนปัญหาในองค์กรกระทบจิตใจ
มากกว่าหมดไฟ ก็หมดใจนี้แหละ รู้จักภาวะภาวะหมดใจ (Brown-out Syndrome) เกิดจากอะไรสัญญาณและวิธีแก้ไข
ภาวะหมดใจ (Brown-out Syndrome) คล้ายกับ ภาวะหมดไฟ (Burn-out Syndrome) แต่ร้ายแรงกว่า!ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ภาวะหมดไฟ (Burn-out Syndrome) เป็นภาวะความผิดปกติที่เกิดจากการทำงานแต่ไม่จัดว่าเป็นความเจ็บป่วยสาเหตุของภาวะหมดไฟมาจากความเครียดเรื้อรังจากการทำงานที่จัดการได้ไม่ดีพอแต่สามารถหายได้ในระยะสั้น ต่างจากภาวะหมดใจที่สังเกตได้ยาก พวกเขาอาจจะดูเป็นปกติ สามารถทำงานได้ แต่ภายในใจกลับรู้สึกอยากหยุดงานทุกอย่างและสะสมเป็นระยะยาวนำไปสู่การลาออกเงียบ ๆ ในที่สุด
ปรับพฤติกรรมลดภาวะเบิร์นเอาท์ ปลุกไฟทำงานหลังหยุดยาว
ปีใหม่นี้! เริ่มต้นสุขภาพจิตที่ดี แนะสิ่งที่ควรทำให้ชีวิตดีกว่าเดิม

หากคนระดับหัวหน้าหรือผู้บริหารมีภาวะหมดใจ อาจส่งผลต่อสภาพแวดล้อมองค์กร ทำให้พนักงานคนอื่น ๆ เกิดภาวะดังกล่าวตามไปด้วย
ภาวะหมดใจอาการอย่างไร ?
- รู้สึกว่าภาระงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ต้องการหยุดพักผ่อนความกระตือรือร้นในการทำงานลดลง
- ไม่อยากจะสนใจงานของตน มีส่วนร่วมในการประชุมหรือแสดงความคิดเห็นน้อยลง ไม่ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมขององค์กร
- ไม่อยากทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นเคยทำได้
- พักผ่อนไม่เพียงพอ ป่วยบ่อยขึ้น ดูแลตัวเองน้อยลง
- ปลีกตัวห่างจากสังคมเพื่อนร่วมงาน มีความทุกข์ทางจิตใจ
- ขาดความสนใจในเรื่องทั่วไป ฯลฯ
- มีปัญหาการใช้ชีวิต เช่น กิน นอน และออกกำลังกาย
- ไม่มีอารมณ์ขัน ก้าวร้าว ปิดกั้นตัวเองจากครอบครัวและเพื่อน เป็นต้น
5 เทคนิคต้านภาวะซึมเศร้าหลังเทศกาลปีใหม่ New Year’s Blues
ภาวะหมดใจ เป็นสาเหตุที่ทำให้คนลาออกจากงานจำนวนมาก จากผลสำรวจของ คอร์ปอเรท บาลานซ์ คอนเซ็ปท์ (Corporate Balance Concepts) ระบุว่า พนักงานต้องเผชิญกับภาวะหมดใจถึง 40%นับเป็นภัยเงียบที่องค์กรต้องหันมาให้ความสำคัญ
แก้ไขและป้องกันภาวะหมดใจ
- ต้องย้อนกลับไปดูที่สาเหตุจะพบว่า องค์กรมีส่วนสำคัญถ้าองค์กรไม่มีทิศทางในการทำงาน มีกฎระเบียบเข้มงวด จุกจิก ตีกรอบพนักงานมากเกินไป มีความไม่เท่าเทียม ไม่เป็นธรรม ขาดความสัมพันธ์ที่ดี ก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะหมดใจได้
- แบ่งเวลาการทำงานและการพักผ่อนให้ชัดเจนขึ้น
- ปรับเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ หาเวลาพักร้อน
- ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน
หากมีอาการเศร้า หดหู่ เบื่อหน่าย ทุกข์ทรมาน มีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ ฯลฯ ควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ
ขอบคุณข้อมูลจาก : สสส.
ปัจจัย “ภาวะสมองล้า” ในวัยทำงาน รีบพบแพทย์ก่อนความจำ-สมาธิถดถอย