เปิด 9 ข้อเกณฑ์วินิจฉัย “โรคซึมเศร้า” เป็นนานแค่ไหนควรพบแพทย์
หากวันไหน ที่อยู่ ๆ รู้สึกว่าชีวิตแย่ โลกนี้ไม่น่าอยู่ คุณอาจกำลังตกอยู่ในภาวะโรคซึมเศร้า เปิด 9 ข้อเกณฑ์วินิจฉัยของแพทย์ เป็นนานแค่ไหน ? หนักแค่ไหน ? ควรพบแพทย์ทันที
“โรคซึมเศร้า” โรคทางจิตเวชที่คร่าชีวิตคนมาแล้วมากมาย และเราแทบไม่รู้เลยว่า คนที่เดินสวนกัน คนที่นั่งทำงานด้วยกัน หรือแม้กระทั่งคนที่อยู่บ้านเดียวกันเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ อย่าว่าแต่คนรอบข้างเลย แม้แต่ตัวของเราเองยังไม่รู้เลยว่า อาการดิ่งแบบนี้ใช่ซึมเศร้าหรือไม่?
อาการแบบนี้ใช่โรคซึมเศร้าหรือไม่?
- มักมีอารมณ์เชิงลบ มีอารมณ์เศร้า ท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวังอย่างต่อเนื่อง ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีความกังวลหรือหงุดหงิดมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานและความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง
ประเภทซึมเศร้าแบบไหน?บั่นทอนจิตใจ เสี่ยงฆ่าตัวตายมากที่สุด!
ASMR ศาสตร์ของเสียง วิจัยเผยช่วยลดความเครียด ซึมเศร้า ช่วยการนอนหลับ
- เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว เก็บตัว ไม่อยากพบไม่อยากคุยกับใคร เลิกสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบทำ
- พฤติกรรมการกินผิดปกติ เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น กินน้อยไป กินมากไปทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติ
- มีปัญหาในการนอน นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท หรือนอนมากจนเกินไป
- กระวนกระวายหรือเฉื่อยชา มีอาการกระสับกระส่าย กระวนกระวายมากเกินไป หรือมีอาการตรงกันข้าม คือ เฉื่อยชา เคลื่อนไหวช้าลง
- อ่อนเพลียง่าย มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรงที่จะทำอะไรทั้งสิ้น
- สมาธิสั้น ความจำแย่ลง สมาธิในการทำสิ่งต่างๆ และความสามารถในการคิดและการตัดสินใจลดลง
- สูญเสียความมั่นใจ รู้สึกตนเองไร้ค่า คิดว่าตนเองเป็นภาระ สูญเสียความมั่นใจในตนเอง รู้สึกผิดและโทษตนเองอยู่ตลอดเวลาในทุกๆ เรื่อง
- ไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดเรื่องความตายหรือการฆ่าตัวตายอยู่บ่อยครั้ง
ข้อสำรวจนี้เป็นเกณฑ์ที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า หากพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดนั้น
- อาการอย่างน้อย 5 อาการขึ้นไป
- มีอาการในข้อ 1 หรือข้อ 2 ร่วมด้วยอย่างน้อย 1 ข้อ
- มีอาการตลอดทั้งวัน
- เป็นแทบทุกวัน ต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์
ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาแนวทางแก้ไขหรือรักษาต่อไป เพราะอาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้
ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น อาการเสี่ยงและวิธีรับมือป้องกันการฆ่าตัวตาย
เตรียมรับมือ โรคซึมเศร้า
เราต้องหมั่นให้เวลาในการสังเกต “ร่างกาย” และ “จิตใจ” ทั้งของตัวเองและคนใกล้ชิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือมีอะไรที่ผิดปกติบ้างหรือไม่ เพราะ “โรคซึมเศร้า” ยิ่งเรารู้จักมันมากเท่าไหร่ เรายิ่งรับมือกับมันได้ดีมากขึ้นเท่านั้น
- หากยังมีอาการไม่มาก ควรหาความรู้และคำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าจากแพทย์เฉพาะทาง เพราะจะได้เรียนรู้วิธีการประคับประคองและจัดการอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
- หมั่นออกกำลังกาย หรือหากิจกรรมทำร่วมกับเพื่อนๆ หรือคนในครอบครัว จะทำให้ร่างกายสดชื่น มีพลังที่ดี จะช่วยให้อาการไม่แย่ลง
- การหากิจกรรมทำเพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ไม่คิดถึงแต่เรื่องในอดีตที่ทำให้เครียด พยายามให้ผู้ป่วยมีสติอยู่กับปัจจุบัน จะช่วยให้อาการป่วยทางใจค่อยๆ บรรเทาลงได้มาก
- คนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว ควรทำความเข้าใจเรื่องของโรคซึมเศร้าให้มาก เพื่อจะได้เข้าใจและรับมือกับผู้ป่วยอย่างถูกวิธี พร้อมกับเฝ้าระวังและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด สำคัญที่สุดคือการลดปัจจัยกระตุ้นอาการซึมเศร้าต่างๆ เช่น คำพูดที่อาจกระทบกระเทือนจิตใจ การทะเลาะกัน ทำให้บรรยากาศตึงเครียด และควรงดดูสื่อต่างๆ ที่มีเนื้อหาเร้าอารมณ์ เป็นต้น
หากมีอาการจากโรคซึมเศร้าชัดเจนมากขึ้นควรไปพบจิตแพทย์ เพื่อช่วยประเมินและเข้ารับการรักษาบำบัดอย่างถูกต้องและเหมาะสม หากมีอาการโรคซึมเศร้าในขั้นรุนแรง ทำร้ายตัวเอง หรือเสี่ยงต่อผู้อื่นจะได้รับอันตราย ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลทันที
ทั้งนี้โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีโอกาสรักษาให้หายได้ เพียงต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม เริ่มจากการสอบถามอาการ ผลกระทบที่เกิดขึ้น ระดับความรุนแรง โรคประจำตัว ยาที่รับประทานเป็นประจำ ไปจนถึงการใช้ชีวิตประจำวัน จากนั้นแพทย์เฉพาะทางจะเป็นผู้ประเมินว่าควรรักษาแบบใด ถ้าหากสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการบ่งชี้ว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้าควรรีบมาพบแพทย์ทันที
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
ผลสำรวจเยาวชนใน กทม. มีเครียดสูงเสี่ยงซึมเศร้าแนะสิทธิให้คำปรึกษาฟรี!
สัญญาณซึมเศร้าผู้สูงอายุ มีอาการมากกว่า 2 สัปดาห์ควรรีบพบแพทย์