รู้ว่าทำลายสุขภาพแต่ก็ยังกิน ทำไมเราถึงหลงใหล “อาหารขยะ”
8 เหตุผลที่ทำให้เรายังหลงใหลในการกิน “อาหารขยะ” แม้รู้ว่าทำลายสุขภาพแต่ก็ไม่อาจห้ามใจให้หยุดกินได้สักที
เชื่อว่าหลายคนอาจเห็นข้อมูลมากมายบนโลกโซเชียลมีเดียว่า “อาหารขยะ” (Junk food) เป็นอาหารที่อันตรายต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจวาย โรคอ้วน หรือความดันโลหิตสูง ฯลฯ แต่ก็ไม่อาจหักห้ามใจให้หยุดกินอาหารเหล่านี้ได้สักที
จากการศึกษาวิจัยของ Kajal และ Bushra นักโภชนาการอาหาร ได้ค้นพบสาเหตุที่ทำให้เราหลงใหลของกินทำลายสุขภาพที่น่าสนใจดังนี้
“มันฝรั่งทอด” อาหารสุดอันตรายที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอยากให้หยุดกิน
“มะนาว”ที่ไม่ได้มีดีแค่แก้เจ็บคอ ยังช่วยบรรเทาต่อมทอนซิลอักเสบ
1. ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร
หลายคนเชื่อว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการไม่อร่อย จึงไม่ชอบกินอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ผลไม้ และผัก เป็นต้น
ดังนั้นอย่าปล่อยให้ความเชื่อเก่าๆ เหล่านี้หยุดตัวเองจากการลองทานอาหารสุขภาพ นอกจากนี้ต่อมรับรสของเรายังเปลี่ยนไปทุกๆ 5-6 ปี และต้องใช้เวลาถึง 10-12 ครั้งก่อนที่เราจะพัฒนาการชื่นชอบรสชาติของอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง อาหารที่ดีต่อสุขภาพจึงสามารถอร่อยได้เช่นกัน
2. นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
มีผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการนอนน้อยกว่าที่จำเป็น นำไปสู่ความอยากอาหารและอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น โดยผลการศึกษาที่วิเคราะห์การทำงานของสมองและเปรียบเทียบผู้ที่นอนหลับ 9 ชั่วโมง กับ 4 ชั่วโมง พบว่า ผู้ที่นอนหลับน้อยกว่าจะมีความสุขมากกว่าเมื่อดูภาพไอศกกรีมและพิซซ่าเมื่อเปรียบเทียบกับผักและโยเกิร์ต
3. ความเครียด
ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด ร่างกายของเราจะปล่อยฮอร์โมนความเครียดที่เรียกว่า “คอร์ติซอล” (Cortisol) ซึ่งการกินไขมันและน้ำตาลได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าช่วยลดระดับคอร์ติซอลและคลื่นความเครียดในสมองให้รู้สึกสบายตัวขึ้น ทำให้ร่างกายของเรามีความอยากอาหารประเภทนี้มากขึ้น
เปิดประโยชน์ “ฝรั่ง” 33 ข้อ ลบความเชื่อกินเมล็ดแล้วเป็นไส้ติ่ง
ทางเลือกคนกินเค็ม! ญี่ปุ่นพัฒนา “ช้อน-ชามไฟฟ้า” เพิ่มความเค็ม
4. กินเร็วเกินไป
หลายคนอาจได้ยินคำแนะนำมาว่าให้เคี้ยวอาหารให้ได้ 32 ครั้งก่อนกลืน แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่าเพราะเหตุใด ตัวเลข 32 นี้อาจทำให้ทุกคนคิดหนักเพราะชีวิตและตารางของเราที่ยุ่งวุ่นวาย ทำให้ทุกวันนี้เราตั้งเป้าที่จะทานอาหารให้เสร็จภายใน 5-10 นาที
อย่างไรก็ตามการกินเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดการส่งสัญญาณที่ผิดพลาดระหว่างลำไส้และสมองได้ คือสัญญาณของความอิ่มที่ส่งไปยังสมองอาจพลาดนำไปสู่การกินที่มากเกินไปนั่นเอง
5. ฮอร์โมนไม่สมดุล
ในช่วงที่ผู้หญิงกำลังมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายของเราจะแปรปรวน กล่าวคือฮอร์โมนอย่างเลปตินและเซโรโทนิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณระหว่างกันของลำไส้และสมอง ไม่สมดุลกัน นำไปสู่ความอยากอาหารที่รุนแรงในช่วงเวลาเหล่านั้น
6. ดื่มน้ำและโปรตีนไม่เพียงพอ
หลายครั้งที่สัญญาณของความกระหายถูกตีความผิดว่าเป็นสัญญาณความหิวโดยจิตใจของเรา หากเราดื่มน้ำไม่เพียงพอหรือเราขาดโปรตีน ความกระหายเหล่านี้จะทำให้เราต้องออกไปหาอาหารขยะที่ไม่ดีต่อสุขภาพที่อยู่รอบๆ บ้าน
7. การขาดสารอาหาร
การขาดสารอาหารสามารถนำไปสู่ความอยากอาหาร เช่น การขาดแมกนีเซียม จะทำให้เราอยากทานช็อกโกแลต ถั่ว หรือถั่ว, น้ำตาลที่ลดลง การขาดโครเมียม หรือฟอสฟอรัส อาจทำให้เกิดความอยากน้ำตาล และในขณะเดียวกันการขาดโซเดียม จะทำให้เราอยากทานอาหารรสเค็มอย่างมันฝรั่งทอดกรอบ
8. เพื่อน/ครอบครัว/เพื่อนร่วมงาน
เป็นเรื่องปกติที่คน ๆ หนึ่งจะเริ่มอยากทานอาหารฟาสต์ฟู้ด เมื่อเพื่อน ครอบครัวหรือคนใกล้ชิดเปล่งเสียงออกมามาอยากกิน อีกคนก็จะเริ่มอยากกินตามด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : News18