ห่วงค่าดัชนีความร้อนสูง ทำประชาชน เกิดฮีทสโตรก แนะวิธีป้องกัน
สธ. ห่วง ประเทศไทยค่าดัชนีความร้อนสูงเกิน 40 องศาเซลเซียสในหลายพื้นที่ อาจทำให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงและผู้ที่ต้องอยู่กลางแจ้งเกิดฮีทสโตรกได้ แนะวิธีป้องกัน
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่มีคลื่นความร้อน (Heat Wave) และอุณหภูมิร้อนถึงร้อนจัด หลายจังหวัดมีค่าดัชนีความร้อนเกิน 40 องศาเซลเซียส อาจทำให้เกิดโรคลมร้อน หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) ได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน ควรอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
แพทย์แนะวิธีสังเกตอาการฮีทสโตรกแตกต่างจากเป็นลมปกติอย่างไร ?
แพทย์เตือน! “ฮีทสโตรก” หน้าร้อนต้องระวัง! ภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิต
ส่วนผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง หากอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน มีโอกาสเกิดฮีทสโตรกได้เช่นกัน ดังนั้น หากต้องทำงานกลางแจ้ง ควรเลี่ยงการสวมชุดที่มีสีเข้ม เนื่องจากจะดูดซับความร้อนได้ดี ดื่มน้ำมากๆ และสลับเข้าพักในที่ร่มเป็นระยะ เช่น ทุก 30 นาที หรือทุกชั่วโมง
อาการของโรคฮีทสโตรก ได้แก่ วิงเวียน อ่อนเพลีย ร่างกายมีความร้อนเพิ่มขึ้น เหงื่อไม่ค่อยออก ผิวร้อน แดง แห้ง หากเริ่มมีอาการให้รีบเข้าที่ร่มหรือห้องที่มีความเย็น และดื่มน้ำมากๆ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าและสะโพกสูง คลายเสื้อผ้าให้หลวม/ถอดเสื้อผ้าออกเท่าที่จำเป็น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว ซอกคอ รักแร้ และศีรษะ ร่วมกับใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล หรือโทรแจ้งสายด่วน 1669
รู้ทัน 8 โรคหน้าร้อน ภัยเงียบที่มากับอากาศแฝงตัวอยู่ในอาหาร
เตือน!กลุ่มเสี่ยง-ทำงานกลางแจ้ง ระวัง “ฮีทสโตรก” จากอากาศร้อนจัด
10 ผักและผลไม้คลายร้อน ฉ่ำน้ำสรรพคุณแก้ร้อนในอ่อนเพลียจากแดด