เปิดแนวทางเวชปฏิบัติฯแพทย์ การให้ยา"ฟาวิพิราเวียร์-โมนูพิลาเวีย"
กรมการแพทย์เผยแนวทางเวชปฏิบัติฯ โควิด กลุ่มไม่มีอาการ หรืออาการเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องให้ยาฟาวิพิราเวียร์ อย่าให้ร่วมกับฟ้าทะลายโจร
นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ว่า การปรับแนวทางล่าสุด มีประเด็นสำคัญในกลุ่มที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย และข้อบ่งชี้ในการใช้ยาต้านไวรัสที่มีการพัฒนา ดังนี้
1.กลุ่มที่ไม่มีอาการหรือสบายดี จะรักษาแบบผู้ป่วยนอก หรือการแยกกักตัวที่บ้าน หรือสถานที่รัฐจัดให้ตามความเหมาะสม
สธ.ยันยาฟาวิพิราเวียร์มีเพียงพอ เหลือทั่วประเทศ 22.8 ล้านเม็ด
ไทยชู ‘ฟ้าทะลายโจร’ แก้ปัญหาป่วยโควิดตกค้าง เพิ่มทางเลือกให้คนอาการน้อยรักษาตัว
ให้ดูแลรักษาตามอาการตามดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เช่น ฟาวิพิราเวียร์ เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรตามดุลยพินิจของแพทย์
"ที่สำคัญ ไม่ให้ยาฟ้าทะลายโจรร่วมกับยาต้านไวรัส เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงจากยา"
2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญและภาพถ่ายรังสีปอดปกติ
-อาจพิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์ โดยเริ่มให้ยาเร็วที่สุด คือ ไม่เกิน 5 วัน
-หากตรวจพบเชื้อเมื่อผู้ป่วยมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยอาจไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
โดยแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ในตัวยาน่าที่น่าสนใจมีรายละเอียดดังนี้
1.ยาฟ้าทะลายโจร
ชนิด ขนาดยา และการให้ยา ในผู้ใหญ่
-ใช้ยาฟ้าทะลายโจรชนิดแคปซูลหรือยาเม็ดที่มีสารฟ้าทะลายโจรชนิดสารสกัด (extract) หรือผงบด (crude drug) ซึ่งระบุปริมาณของสารandrographolide เป็น มก. ต่อ capsule หรือเป็น % ของปริมาณยา
-คำนวณให้ได้สาร andrographolide 180 มก./คน/วัน แบ่งให้ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร กินติดต่อกัน5 วัน (ถ้าจำนวน capsule ต่อครั้งมาก อาจแบ่งให้ 4 ครั้ง ต่อวัน)
-เริ่มยาเร็วที่สุดหลังการติดเชื้อ SARS-CoV-2
ขนาดยาในผู้ป่วยเด็ก ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะแนะนำการใช้ในเด็กเพื่อการรักษา COVID-19 ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ข้อห้าม : ห้ามใช้ในกรณี
-คนที่มีประวัติแพ้ยาฟ้าทะลายโจร
-หญิงตั้งครรภ์/อาจจะตั้งครรภ์ และหญิงที่กำลังให้นมบุตรเพราะข้อมูลในทางทฤษฎีชี้แนะว่าอาจมีผลต่อ uterinecontraction และทารกผิดปรกติ
ข้อควรระวัง
-การใช้ร่วมกับยาลดความดันและยาที่มีฤทธิ์ป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin, aspirin และclopidogrel เพราะอาจเสริมฤทธิ์กัน
-ยังไม่มีข้อมูลการปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคไตรุนแรงหรือโรคตับ
ผลข้างเคียง
-ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ ใจสั่น เบื่ออาหาร เวียนศีรษะ (พบมากขึ้นเมื่อใช้ยาขนาดสูงหรือนานเกิน)
-อาจเกิดลมพิษหรือ anaphylaxis (พบน้อย)
-ผลไม่พึงประสงค์อาจเกิดจากยาอื่นที่ใช้ร่วมด้วย
2. Favipiravir (200 มก./tab)
ขนาดยาในผู้ใหญ่
วันที่ 1: 1,800 มก. (9 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง วันต่อมา: 800 มก. (4 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง
ถ้าน้ำหนักตัว >90 กิโลกรัม
วันที่ 1: 2,400 มก. (12 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง วันต่อมา: 1,000 มก. (5 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง
ขนาดยาในผู้ป่วยเด็ก วันที่1 : 70มก./กก./วัน วันละ 2 ครั้ง
วันต่อมา : 30มก./กก./วัน วันละ 2 ครั้ง
ข้อควรระวัง/ผลข้างเคียงที่พบบ่อย
-มีโอกาสเกิด teratogenic effect ควรระวังการใช้ในหญิงมีครรภ์หรือ ผู้ที่อาจตั้งครรภ์ และต้องให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจ
-อาจเพิ่มระดับ uric acid ระวังการใช้ร่วมกับ pyrazinamide
-ระวัง hypoglycemia หากใช้ร่วมกับ repaglinide หรือ pioglitazone
-แบ่งหรือบดเม็ดยา และให้ทาง NG tube ได้
-ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ไม่ต้องปรับขนาดยา
-ควรปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับบกพร่องในระดับปานกลางถึงรุนแรง คือ วันที่ 1: 4 เม็ด วันละ 2 ครั้งวันต่อมา: 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง
-ควรให้ยาภายใน 4 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการจึงจะได้ผลดี
3. Molnupiravir (200 มก./เม็ด)
ขนาดยาในผู้ใหญ่ วันที่ 1-5: 4 เม็ด วันละ 2 ครั้ง
ขนาดยาในผู้ป่วยเด็ก ขณะนี้รับรองให้ใช้ในผู้ที่อายุ 18 ปี ขึ้นไปที่มีความเสี่ยงต่อ COVID-19 รุนแรงเท่านั้น
ข้อควรระวัง/ผลข้างเคียงที่พบบ่อย
-มี teratogenic effect ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ในทุกไตรมาส
- ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยตับบกพร่อง
-ต้องให้ยาภายใน 5 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการจึงจะได้ผลดีทำให้ลดการนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ร้อยละ 30
มุกใหม่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ สารพัดเทคโนโลยี Deepfake หลอกเงินคน
สหภาพยุโรปอนุมัติ“ยา Evusheld” ใช้ป้องกันโควิดในกลุ่มอายุ 12 ปีขึ้นไป