สัญญาณ “เสพติดความเครียด” จนต่อมหมวกไตล้า เจอ 5 ข้อ รีบรักษา!
นอนเท่าไหร่ก็ง่วง เพลียทั้งวัน! หนึ่งในสัญญาณ ว่าคุณกำลังชอบเสพติดความเครียดไม่รู้ตัว จนหมวกไตล้า เช็ก 12 อาการ พบ 5 ข้อรีบรักษา!
เสพติดความเครียด (Adrenal Addict) คล้ายกับคนที่ติดออกกำลังกายอย่างหนัก คนส่วนมากที่มีภาวะนี้ในระยะแรกมักจะยังไม่รู้ตัว เนื่องจากร่างกายมีความทนทานสูงต่อกับความเครียดที่เข้ามาในแต่ละวัน รู้ตัวอีกทีก็ล้มป่วย ติดเชื้อเฉียบพลันจนต้องเข้าโรงพยาบาล ทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า ภาวะต่อมหมวกไตล้า
ภาวะต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Fatigue) เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความเครียดเรื้อรังเป็นตัวกระตุ้น
ความเครียดแบบไหนอันตราย ควรพบแพทย์ก่อนเปลี่ยนเป็นโรคจิตเวช!
ผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากอะไร ทำไมรักษาหายแล้วยังมีอัตราการเกิดซ้ำสูง?
โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่ถูกลืม เนื่องจากภาวะนี้มักจะไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและทันท่วงที สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเจาะเลือดตรวจสุขภาพทั่วไปที่ไม่เพียงพอสำหรับการวินิจฉัยภาวะนี้ ในการวินิจฉัยภาวะต่อมหมวกไตล้าจะต้องมีการวัดระดับของฮอร์โมนต่อมหมวกไต (Adrenal Hormones) 2 ตัวที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone – DHEA) ซึ่งสามารถวัดได้จากผลเลือด Cortisol และ DHEA คือ ฮอร์โมนแห่งความเครียดในร่างกายมนุษย์ ปัจจุบันนี้การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าจะมุ่งเน้นไปที่การปรับให้ฮอร์โมน 2 ตัวนี้ให้อยู่ระดับที่สมดุล
รู้ได้อย่างไรว่าเสี่ยงภาวะต่อมหมวกไตล้า
ถ้าคุณมีอาการผิดปกติที่ตรงกับอาการแสดงดังต่อไปนี้อย่างน้อย 5 ข้อ แสดงว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงสูง
- ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับช่วงกลางวัน
- ง่วงแต่นอนไม่หลับ
- มีอาการวิงเวียนศีรษะเวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก – นั่ง)
- อยากทานของหวานและของเค็ม
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
- ปวดประจำเดือนบ่อย
- เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อย ๆ
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก
- เครียด ซึมเศร้า
- คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่น้ำหนักไม่ลดลด รู้สึกดีขึ้นทันทีเมื่อได้กินน้ำตาล
- ผิวแห้งและแพ้ง่าย
สัญญาณแรกโรคไต หมั่นสังเกตปัสสาวะช่วยได้ พร้อมเปิดสาเหตุโรคไม่ควรละเลย
ภาวะต่อมหมวกไตล้าทำอย่างไร
- นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ควรเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม
- กินอาหารเช้าก่อน 10.00 น. เพราะหลัง 10.00 น. ระดับ Cortisol จะลดลง ทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย Cortisol จะทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอ
- รับประทานมื้อเล็ก ๆ และบ่อย ๆ แทนการทานอาหารมื้อหลัก ๆ เพียง 1 – 2 มื้อ
- ออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง (Moderate Intensity Exercise) การออกกำลังกายที่หนักเกินไปจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น
- หาวิธีคลายความเครียด เช่น หางานอดิเรกทำ เดินทางไปเที่ยว เป็นต้น
นอกจากการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ การกินอาหารเสริมและสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยลดอาการต่อมหมวกไตล้าได้ เช่น Ashwaghandha (โสมอินเดีย) L-theanine (สารสกัดจากชาเขียว) Phosphatidylserine (สารสกัดจากถั่วเหลือง) วิตามิน C วิตามิน B3 วิตามิน B5 วิตามิน B6
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
10 สัญญาณซึมเศร้าจากการทำงาน วิธีป้องกันเยียวยาสุขภาพจิต!
9 นิสัยเสี่ยงโรคไต ภัยเรื้อรังจากพฤติกรรมเสี่ยงทำซ้ำทำนานอันตราย!