10 สัญญาณซึมเศร้าจากการทำงาน วิธีป้องกันเยียวยาสุขภาพจิต!
การทำงานย่อมมาพร้อมความเครียด ที่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาแต่บางคนก็ไม่ใช่เพราะมันรุนแรงจนบั่นทอนสุขภาพจิตนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้! เช็ก 10 สัญญาณอันตราย!
“การทำงาน” สาเหตุหลักของความเครียด หลายคนมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่อันที่จริงความเครียดนั้นมีหลายระดับและปัจจัย โดยเฉพาะผู้ที่มีความอ่อนไหวทางด้านอารมณ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพจิตนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งแน่นอนว่าอันตรายมากกว่าภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome)ด้วย
สัญญาณซึมเศร้าจากการทำงาน
- รู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อต้องจัดการกับงานในสถานการณ์ที่ตึงเครียด คิดเรื่องงานตลอดแม้ไม่อยู่ที่ทำงาน
- เบื่องาน ไม่มีความพอใจในงานที่ทำ
สัญญาณซึมเศร้า พบ 5 ข้อรีบพบแพทย์ ผ่อนหนักเป็นเบาหายขาดได้!
โรคซึมเศร้า รักษาหายหรือไม่? เช็คสัญญาณและปัจจัยก่อจิตเวช
- รู้สึกเศร้าหรือไม่มีเวลาเหลือให้ทำกิจกรรมอื่น ๆ (ติดต่อกันเป็นเวลานาน)
- รู้สึกไม่สนใจในงานเท่าที่เคย
- รู้สึกสิ้นหวัง
- ขาดสมาธิกับงาน ความใส่ใจกับงานลดน้อยลง
- งานเกิดข้อผิดพลาดมากขึ้น
- ปวดศีรษะ มีการขาดหรือมาสาย อยากเลิกงาน หรือกลับบ้านก่อนเวลาเป็นประจำ
- ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ลดลงรู้สึกหงุดหงิดง่าย ความอดทนต่ำลง
- มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ จนต้องพึ่งยานอนหลับ หรือดื่มแอลกอฮอล์เพื่อช่วยให้นอนหลับได้
วิธีพูดคุยและดูแลผู้ป่วยซึมเศร้า เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาหายเร็วขึ้น
วิธีป้องกันภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน
- กำหนดเวลาการทำงานที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้กระทบกับเวลาส่วนตัว
- ออกกำลังกาย หากิจกรรมอื่นทำ และพักผ่อนให้เพียงพอ
- คุยกับเพื่อนร่วมงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
- ลองทำกิจกรรมใหม่ ๆ พบเจอผู้คนใหม่ ๆ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ปรับความคิดของตนและเรื่องงานว่าบางอย่างเป็นปัญหาโครงสร้างที่ในความเป็นจริงอาจจะแก้ไขได้ยาก
ทั้งนี้หากรู้สึกว่ากระทบชีวิตมากเกินไป แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อหาทางเยียวยาก่อนสายเกินไป เพราะอย่างไรสุดท้ายสุขภาพจิตก็สำคัญมากกว่างานที่เราทำอยู่ หากเสียไปแล้วเงินเท่าไหร่บางทีก็ไม่อาจเรียกกลับคืน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เปิด 9 ข้อเกณฑ์วินิจฉัย “โรคซึมเศร้า” เป็นนานแค่ไหนควรพบแพทย์
สัญญาณ "ซึมเศร้าในผู้สูงอายุ" รายงานพบวัย 60+ เสี่ยงป่วยกว่า 30%