นักลุงทุน “กานา” สนใจข้าวไทย ลุย! ลงทุนด้านเกษตร หวังเป็นเกษตรพึ่งพาตนเอง

โดย PPTV Online

เผยแพร่

นักลงทุนชั้นนำกานา สนใจลงทุนไทย จัดตั้ง “บริษัท เอเชียน แอฟริกัน คอร์เปอร์เรชั่น” ลุยลงทุนด้านเกษตร พร้อมขอถ่ายทอดโครงการเศรษฐกิจพอเพียง หวังกานา มีผลผลิตการเกษตรพึ่งพาตนเองเหมือนไทย

ดร.สิชา สิงห์สมบุญ กงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐกานาประจำประเทศไทยพร้อมด้วย ดร.โจเซฟ เซียว อาชพง ประธานบริษัท โจสพง กรุ๊ป ออฟ คอมปานีส์ สาธารณรัฐกานา ร่วมกันแถลงข่าว ความร่วมมือการค้า การลงทุนระหว่างไทยและกานา ที่โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน โฮเทล กรุงเทพฯ

ดร.สิชา กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศถือว่าประสบผลสำเร็จที่เจริญสัมพันธไมตรี กับกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตก อย่างสาธารณรัฐกานาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สภาพอากาศวันนี้! อากาศเปลี่ยนแปลง เหนือทั้งหนาว-มีฝน ขณะทั่วไทยฝนตก 30-60%

'ทนายตั้ม' เตรียมเผยคลิป 'ม้า อรนภา' ตบหน้าดารารุ่นน้องที่เกาหลี

โดยตนเองได้รับหน้าที่มาแล้วเกือบ 20 ปี จึงใช้ความสัมพันธ์และวัฒนธรรมของไทยไปเผยแพร่ในสาธารณรัฐกานามามากมาย จนกระทั่งวันนี้มีผลชัดเจน เนื่องจากว่าได้ใช้โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 ไปดำเนินการเผยแพร่ที่สาธารณรัฐกานา  ซึ่งได้รับ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบจากการระบาดของ โควิด-19 ทำให้ทั่วโลกเดือดร้อน ห่วงโซ่อาหารขาดไป

ดังนั้นทางกานาจึงตระหนักในการหาอาหารให้ประชาชนเก็บเอาไว้  โดยที่ผ่านมารัฐบาลกานาเริ่มลดการนำเข้า ข้าว น้ำมันปาล์ม และอีกหลายชนิด ซึ่งตอนนี้เริ่มลดการนำเอาไปแล้ว ตนเองจึงได้รับการประสานงานมาจากสถานทูตกานา ประเทศมาเลเซีย นำประธานบริษัท โจสพง กรุ๊ป ออฟ คอมปานีส์  มาศึกษาดูงาน เดินสายพบปะกระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัทเอกชน โดยใช้แนวทางเกษตรพอเพียงไปใช้ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดีที่บริษัทชั้นนำในกานาจะเป็นหัวเรือในการขับเคลื่อนเรื่องนี้

ด้าน ดร.โจเซฟ เซียว อาชพง เปิดเผยว่าการเดินทางมายังประเทศไทยครั้งนี้ ได้มาศึกษาดูงานการค้า การลงทุน การประกอบธุรกิจหลายด้านในประเทศไทย ซึ่งในฐานะเป็นบริษัทเอกชนในกานา ต้องการเห็นตัวอย่างการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะได้ตอบสนองนโยบายของประธานาธิบดีกานา  ดังนั้นจึงได้มองหาประเทศผู้นำ ด้านต่างๆ และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรม หลายอย่าง

โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร การปลูกข้าว การแปรรูปอาหาร  จึงสนใจการค้า การลงทุนในด้านนี้ และการเดินทางมาครั้งนี้ยัง ได้มีโอกาสดูงานวิจัยด้านข้าว ได้พูดคุยกับบริษัทเครื่องมือทางการเกษตร โรงสี และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นต้น จึงทำให้เห็นโอกาส การค้า การลงทุน ในประเทศไทย  ทำให้ได้จัดตั้งบริษัท  เอเชียน แอฟริกัน คอร์เปอร์เรชั่นขึ้นมา เงินลงทุนเบื้องต้น 5 ล้านเหรียญสหรัฐ

เพื่อที่จะขยายการค้า การลงทุน ที่สำคัญยังสนใจนโยบายพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประเทศกานา เพื่อให้คนกานาที่มีภูมิประเทศคล้ายประเทศไทย ได้ศึกษา และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้ตนเอง จึงเชื่อว่าหากได้รับการสนับสนุนถ่ายทอดสิ่งๆต่างๆจะทำให้เกิดการลงทุนเกิดขึ้นระหว่างทั้งสองประเทศอย่างแน่นอน โดยในเร็วๆนี้ ทางบริษัทของตนเองก็จะสั่งซื้อเครื่องมือทางการเกษตรทันที   แลจะจัดตั้งศูนย์วิจัยข้าว โรงสี ที่กานา โดยอาศัยองค์ความรู้จากประเทศไทย

“กานา นำเข้าข้าว 1.5 ล้านตันต่อปี ทั้งจากประเทศไทย เวียดนาม อินเดีย พร้อมยืนยันว่า การที่สนใจเรื่องการเกษตร เพราะต้องการยืนด้วยลำแข้งของตนเอง ซึ่งเป็นนโยบายของประธานาธิบดี แต่การจะสำเร็จได้ด้วยดีนั้น ก็ต้องมีประเทศที่ให้ความช่วยเหลือ ไทยจึงเป็นประเทศหนึ่งที่กานาสนใจ และยืนยันว่า เมื่อกานามีผลผลิตเพิ่ม การขยายด้านการลงทุนอื่นๆจากไทยก็จะตามมา เช่น การค้าเครืองมือทางเกษตร ปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น และกานาเชื่อในเศรษฐกิจพอเพียง ว่าทำได้จริง และเป็นโครงการที่ดี ดร.โจเซฟ เซียว อาชพง กล่าว

ดร.โจเซฟ เซียว อาชพง ยังกล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้ ยังได้ศึกษาดูงานสถาบันวิจัยและพัฒนาอาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดการขยะ บริษัทด้านเครื่องมือการเกษตร ซึ่งจะนำไปต่อยอดธุรกิจ ในกลุ่มบริษัทของตนเอง ที่มีมากกว่า 60 บริษัท พร้อมให้ความเชื่อมั่นว่า กานามีแผนงานพื้นที่เพาะปลูก ประมาณ 250,000 ไร่ และในตอนนี้ มีอยู่ถึง30,000ไร่ แล้ว และรัฐบาลกานาให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี

ดังนั้นเมื่อเกิดการลงทุนและจัดตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นจะเกิดการสั่งซื้อสิ้นค้าทางการเกษตรจากไทยทั้งหมด พร้อมขยายการลงทุน ในช่วง 3 -5 ปี  เนื่องจากกานา เป็นฮับในกลุ่มแอฟริกาตะวันตก และนับจากนี้หวังจะได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือจากทางการไทยในทุกภาคส่วน

“อีลอน มัสก์” พร้อมพัฒนาสมาร์ทโฟนใหม่ หากกูเกิล-แอปเปิล แบน “ทวิตเตอร์”

แทงค์น้ำคอนกรีตถล่มขณะรื้อถอน ในอาคารตำรวจสื่อสาร รถเสียหายนับสิบคัน

 

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ