นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการเรียกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาหารือถึงการวางไทม์ไลน์ในการเลือกตั้งแต่อย่างใด พร้อมยังอธิบายว่า มีความเป็นไปได้อยู่ 3 อย่างคือ ยุบสภาฯ ก่อนหมดสมัยประชุม ยุบสภาฯหลังปิดสมัยประชุม หรือไม่ยุบแต่ปล่อยให้สภาฯหมดวาระ ในวันที่ 23 มี.ค. 2566 นี้ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป โดยทาง กกต.เองก็เตรียมการเอาไว้ว่าสภาฯ จะอยู่ครบวาระ จึงได้มีการกำหนดวันเลือกตั้ง
เตือนภัย!ช่วงตรุษจีน ระวังมิจฉาชีพหลอกแจก“อั่งเปาออนไลน์” เผลอกดลิงก์ถูกดูดเงินเกลี้ยง
เวียดนาม แอร์ไลน์ ให้สิทธิ์ ปาร์ค ฮัง ซอ บินฟรีเกาหลี-เวียดนาม ตลอดชีพ
ในวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. ซึ่งจะไม่มีการเลยไปจากนี้ และก็เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าการเลือกตั้งจะเกิดในวันหยุด ไม่วันเสาร์ ก็วันอาทิตย์อยู่แล้ว
นายวิษณุ ยอมรับว่า เมื่อครั้งที่จะกำหนดให้วันที่ 5 พ.ค.เป็นวันหยุดราชการพิเศษได้มีการหารือกันเป็นการภายใน ว่า หากสมมุติว่าการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 7 พ.ค. การหยุดยาวต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 4-7 พ.ค. จะทำให้เป็นปัญหาหรือไม่ ซึ่ง กกต. ก็มองว่า ไม่เป็นปัญหา แต่หากเกิดอะไรขึ้น ครม.ก็สามารถเชิญ กกต.เข้ามาหารือได้อยู่แล้ว
ส่วนเรื่องของงบประมาณ มีการประมาณการ ว่าใช้งบประมาณ 5 พันล้านบาท ซึ่งมีงบประมาณที่เหลือจากปีก่อนๆ ที่เตรียมการไว้บ้างแล้วแต่ก็ต้องเพิ่มเติมไปอีกจำนวนหนึ่ง โดยขณะนี้ได้มีการสอบถามไปยังผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
นายวิษณุ ยังกล่าวว่า ทาง กกต. ไม่ได้มีการประสานหรือหารือถึงเรื่องการหาเสียง ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้หากมีการกระทำผิด ทาง กกต. ก็คงมีคำสั่งออกมา หรือ หากคิดว่าเป็นเรื่องที่เกรงว่าคนอื่นจะมีการกระทำผิดซ้ำ ก็จะมีการประกาศออกมา
ทั้งนี้ ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีควรจะมีการนำระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติในการเลือกตั้งของ กกต. มาแจ้งให้ทราบ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้แจ้ง เนื่องจากระเบียบยังไม่ออกมาทั้งหมด รวมถึงกฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับ ยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่เมื่อประกาศใช้กฎหมายลูกฉบับใหม่ ก็ควรทำตอนนั้น ยุบสภาหรือไม่ยุบสภาไม่สำคัญ โดยที่ผ่านมา กกต. มีการออกระเบียบมาหลายครั้ง อาจจะมีการจับต้นชนปลายไม่ถูก แต่เมื่อมีความชัดเจนแล้ว ก็ต้องมีการประมวลออกมา เพื่อให้เกิดความชัดเจน และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีและข้าราชการการเมืองรับทราบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่ข้าราชการการเมืองมีการปฏิบัติงาน แต่เพจของพรรคการเมือง นำไปถ่ายทอดสด(ไลฟ์สด)การประชุมนั้นด้วย ถือว่าทำได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ถือว่ามีความเสี่ยง หากนำไปถ่ายทอดเอง ซึ่ง กกต. เคยเตือนแล้ว และตนเคยพูดแล้วว่า 1.อย่าใช้ทรัพยากรของทางราชการ ซึ่งรวมถึงงบประมาณและบุคลากร สถานที่ เพื่อประโยชน์ในการหาเสียงให้แก่ตน ผู้อื่นหรือพรรคการเมืองและ 2.อย่าใช้เวลาของทางราชการ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องดูทั้งหมดก่อนถึงจะตัดสินได้ว่าเป็นการถ่ายทอดเพื่อเป็นการทำซ้ำ (repeat) ธรรมดา หรือเพื่อแฝงประโยชน์ของพรรคการเมือง
“เพราะฉะนั้นจะสังเกตว่าบางท่านลาราชการตรงนั้นก็หนีเรื่องเวลาไป เช่นไปในเวลา 4 โมงครึ่งหรือ 5โมงเย็น ก็หลบเรื่องเวลาไป บางคนก็ใช้รถส่วนตัว ซึ่งทาง กกต. บอกว่าใช้รถก็ยังใช้ได้อยู่ เพราะว่าไปเติมน้ำมันเอง แต่คุณอย่าใช้รถส่วนกลางเท่านั้นเพราะรถส่วนกลางเป็นน้ำมันหลวง” นายวิษณุ กล่าว
ส่วนกรณีการประชุมของหน่วยงานรัฐ ผู้ที่ถ่ายทอดสดจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหากเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมืองเข้าไปในที่ประชุมของหน่วยงานรัฐ จะอันตรายหรือไม่นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ตนตอบไม่ถูก เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียด
“บุคคลสาธารณะ ใครๆ ก็อยากจะเห็น อยากจะรู้ แต่ต้องไปดูคำพูด และเนื้อหา ของการประชุมนั้นว่าเป็นอย่างไร เช่น หากจะขึ้นไปอวยพรในงานแต่งงาน ก็สามารถทำได้ แต่ต้องไม่เป็นในลักษณะหาเสียง เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามให้ผู้สมัครเลือกตั้งทำกิจกรรมทางสังคมใดๆ ไปงานศพก็ไปได้และให้ซองก็ให้ได้ ไม่ใช่ว่าห้ามให้ แต่ก็ต้องห้ามให้เกิน 3,000 บาท” นายวิษณุ กล่าว
ส่วนที่มีข้าราชการการเมืองบางคน กังวลว่าในเวลาราชการไม่อยากพูดเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง ของพรรคการเมืองที่สังกัด นายวิษณุ กล่าวว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น พูดให้เป็น เพราะเลือกตั้งกันมาตั้งหลายครั้งแล้ว ก็รู้อยู่แล้ว จะถูกหรือผิด บางทีก็ไม่รู้ แต่ถ้าดูของเก่า เราก็จะเห็นบรรทัดฐาน