เลือกตั้ง 2566 : เช็กหน่วยเลือกตั้ง - ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง ง่ายๆ ไม่กี่คลิก!
เลือกตั้ง 2566 : วิธีลงทะเบียนเลือกตั้ง นอกราชอาณาจักร
เมื่อ 26 มี.ค. 2566 “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คน กทม. เลือกพรรคไหน” จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวม 2,500 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนกรุงเทพมหานครเลือกพรรคไหน
โดยจากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้
พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 25.08 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล อันดับ 2 ร้อยละ 24.20 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หรือ อุ๊งอิ๊งค์ พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 18.24 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 5.96 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยสร้างไทย และอันดับ 5 ร้อยละ 5.68 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส พรรคเสรีรวมไทย
ทั้งนี้บุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรก จำแนกตามกลุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร พบว่า
กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง
- อันดับ 1 ร้อยละ 50 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล
- อันดับ 2 ร้อยละ 22.14 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรครวมไทยสร้างชาติ
- อันดับ 3 ร้อยละ 21.07 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หรือ อุ๊งอิ๊งค์ พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 4 ร้อยละ 7.86 นายกรณ์ จาติกวณิช พรรคชาติพัฒนากล้า
- อันดับ 5 ร้อยละ 5.36 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยสร้างไทย
กลุ่มเขตกรุงเทพใต้
- อันดับ 1 ร้อยละ 72 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล
- อันดับ 2 ร้อยละ 23.49 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หรือ อุ๊งอิ๊งค์ พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 3 ร้อยละ 19.30 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรครวมไทยสร้างชาติ
- อันดับ 4 ร้อยละ 6.05 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส พรรคเสรีรวมไทย
- อันดับ 5 ร้อยละ 5.81 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยสร้างไทย
กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ
- อันดับ 1 ร้อยละ 16 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล
- อันดับ 2 ร้อยละ 24.43 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หรือ อุ๊งอิ๊งค์ พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 3 ร้อยละ 18.89 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรครวมไทยสร้างชาติ
- อันดับ 4 ร้อยละ 7.60 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยสร้างไทย
- อันดับ 5 ร้อยละ 3.49 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช พรรคชาติพัฒนากล้า
กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก
- อันดับ 1 ร้อยละ 52 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หรือ อุ๊งอิ๊งค์ พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 2 ร้อยละ 22.61 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล
- อันดับ 3 ร้อยละ 19.35 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรครวมไทยสร้างชาติ
- อันดับ 4 ร้อยละ 7.47 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส พรรคเสรีรวมไทย
- อันดับ 5 ร้อยละ 6.71 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ
- อันดับ 1 ร้อยละ 09 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หรือ อุ๊งอิ๊งค์ พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 2 ร้อยละ 19.60 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
- อันดับ 3 ร้อยละ 16.43 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรครวมไทยสร้างชาติ
- อันดับ 4 ร้อยละ 7.20 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส พรรคเสรีรวมไทย และยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
- อันดับ 5 ร้อยละ 6.34 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยสร้างไทย
กลุ่มเขตกรุงธนใต้
- อันดับ 1 ร้อยละ 65 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล
- อันดับ 2 ร้อยละ 23.96 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หรือ อุ๊งอิ๊งค์ พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 3 ร้อยละ 14.06 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรครวมไทยสร้างชาติ
- อันดับ 4 ร้อยละ 6.68 ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
- อันดับ 5 ร้อยละ 5.53 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส พรรคเสรีรวมไทย
สำหรับพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพมหานครจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า
อันดับ 1 ร้อยละ 34.92 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 27.72 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 14.32 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
อันดับ 4 ร้อยละ 6.76 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 5 ร้อยละ 3.32 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า
อันดับ 6 ร้อยละ 2.96 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย
อันดับ 7 ร้อยละ 2.48 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย
อันดับ 8 ร้อยละ 2.16 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 9 ร้อยละ 1.68 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 10 ร้อยละ 1.48 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย
ขณะที่ร้อยละ 2.20 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคไทยภักดี พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเทิดไท พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ และพรรคเศรษฐกิจไทย