ไปดูบัตรเลือกตั้งก่อนครับ รอบนี้ ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ บัตรเลือกตั้งใบแรก บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ หรือ บัตรพรรค จะมี หมายเลข , โลโก้พรรค และชื่อพรรค รวมถึงช่องกากบาท ถือว่าค่อนข้างชัดเจน แต่บัตรเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จะมีแค่หมายเลข และช่องกากบาทเท่านั้น
บัตรเลือกตั้งเขตถูกวิจารณ์ว่า ใช้บัตรโหลทั่วประเทศ แต่เบอร์ผู้สมัคร 400 เขต ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า ผู้สมัคร แต่ละเขตจับได้เบอร์อะไร ทำให้ประชาชนอาจสับสนเมื่อเข้าไปในคูหา
เลือกตั้ง 2566 : ทภ.4 แจง ไม่สั่งห้าม "ก้าวไกล" รณรงค์เลิกเกณฑ์ทหาร
ส่องสถิติราคาก่อนสงกรานต์ ทองไทยไม่ขยับ ต่างประเทศปิด Good Friday
ปัญหาเรื่องบัตรเลือกตั้ง สร้างความสับสน ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก 4 ปี ก่อน ตอนเลือกตั้ง 2562 พีพีทีวี เคยคุยกับ ศาสตราจารย์ ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่าบัตรเลือกตั้ง เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับประชาชน เพื่อให้ประชาชนเลือกคนที่ต้องการได้มากที่สุด ยิ่งมีข้อมูลครบถ้วนมากเท่าไหร่ เจตจำนงค์ของประชาชนก็จะถูกแสดงออกมาผ่านคะแนนเสียงมากเท่านั้น
การเลือกตั้งรอบนี้ ได้พูดคุยกับ อาจารย์สิริพรรณ เพิ่มเติม ที่เชื่อว่า แม้กติกาปี 2566 จะซับซ้อนมากขึ้น คือ คนละเขต คนละเบอร์ แต่หาก กกต.ใส่รายละเอียดลงไปในบัตรเพิ่ม น่าจะเพิ่มงานไม่มากนัก ขณะที่ผลลัพธ์ที่ได้ จะทำให้การสื่อสารถึงประชาชนตรงจุดมากขึ้น มองว่า คุ้มค่า
อีกประเด็นที่ อาจารย์สิริพรรณ มอง คือ หากบัตรเลือกตั้งมีข้อมูลน้อยเกินไป พรรคที่จะเสียเปรียบ คือ พรรคใหญ่ที่มีฐานเสียงแน่น เพราะหากประชาชนจำเบอร์ผิด ก็อาจจะเข้าไปกาเบอร์อื่น และเมื่อนำคะแนนก็จะไม่รุ้ด้วยว่า เป็นการกาผิด เพราะ แค่กาผิดเบอร์ ไม่ใช่บัตรเสีย
ทีมข่าวพีพีทีวี ลองดูตัวอย่างเขตเลือกตั้งที่ 11 สายไหม พบว่า เอกภาพ หงส์สกุล เพื่อไทย เบอร์ 1 , ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ก้าวไกล เบอร์ 3 , วัทธิกร หรุ่นศิริ ประชาธิปัตย์ เบอร์ 4 , สุภดิช อากาศฤกษ์ รวมไทยสร้างชาติ เบอร์ 5 , เอกภพ เหลือประเสริฐ ภูมิใจไทย เบอร์ 6 , น.อ.บัญชา อรัญยะนาค พลังประชารัฐ เบอร์ 7
หากเป็นอย่างที่ อาจารย์สิริพรรณ ยกตัวอย่าง ผู้ใช้สิทธิจะเข้าไปเลือก เอกภพ จาก ภูมิใจไทย แต่ในบัตรมีแค่ หมายเลข แล้วบังเอิญจำหมายเลขไม่ได้ ไปกากเบอร์ 5 หรือ เบอร์ 7 บัตรเลือกตั้งใบนี้จะไม่ใช่บัตรเสีย แต่จะกลายเป็นคะแนนถูกพรรคอื่นได้ไป แทนที่จะได้ตามที่ผู้ใช้สิทธิอยากเลือก
ทีนี้เราพาไปดูบัตรเลือกตั้งในต่างประเทศกันบ้าง การจะใส่ข้อมูลเยอะๆ ลงไปในบัตร จะกระทบกับการจัดทำบัตรเลือกตั้งหรือไม่ ปรากฎว่าบัตรเลือกตั้งในหลายประเทศ ใบใหญ่เท่า กระดาษ A2 อย่างของ อินโดนีเซีย ปี 2014 มีทั้งหมายเลข ชื่อผู้สมัคร ชื่อพรรค โลโก้พรรค ขนาดบัตรใหญ่มาก แต่สุดท้ายเมื่อพับออกมาก็เหลือขนาดไม่ต่างจากของไทย
บัตรเลือกตั้งของตุรกี ปี 2018 ใบหนึ่งเป็นบัตรเลือกพรรคการเมืองในการเลือกตั้งรัฐสภาครั้งที่ 27 บนบัตรประกอบด้วยรายละเอียดชื่อพรรคการเมือง โลโก้พรรคการเมือง ชื่อหัวหน้าพรรค รวมถึงมีการระบุด้วยว่า พรรคไหนเป็นแนวร่วมเดียวกัน
ส่วนอีกใบเป็นบัตรเลือกประธานาธิบดี มีรายละเอียดชื่อและรูปผู้สมัคร ไม่มีหมายเลข ขณะที่ บัตรเลือกตั้งของชิลี ปี 2021 อันนี้เป็นบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดี มีแค่หมายเลข และชื่อผู้สมัคร และช่องทำเครื่องหมายด้านหน้า บนกระดาษเรียบๆ
ส่วนบัตรเลือกตั้งไนจีเรีย 2023 อันนี้เป็นตัวอย่างบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดี ลักษณะเป็นกระดาษแผ่นยาว ประกอบด้วย 2 ช่อง ช่องซ้ายเป็นโลโก้พรรคการเมือง ช่องขวาสำหรับประทับลายนิ้วมือลงคะแนน