เลือกตั้ง 2566 : เลือกตั้งล่วงหน้า ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กกต.ไขคำตอบ เอกสารที่ต้องใช้ และเปิดขั้นตอนในการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตและนอกเขตเลือกตั้ง

ใกล้เข้ามาทุกทีกับการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้เปิดให้ประชาชนที่ไม่สะดวกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ได้รักษาสิทธิของตนเองโดยการยื่นเอกสารขอลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 โดย กกต.ได้ชี้แจงเอกสารที่ต้องเตรียมมาในวันเลือกตั้งฯ พร้อมเปิดขั้นตอนการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า ดังนี้

คลิก! ตรวจสอบสิทธิ

คอนเทนต์แนะนำ
เลือกตั้ง 2566 : เช็กเบอร์ "พรรคการเมือง 2566" แบบบัญชีรายชื่อ
เลือกตั้ง 2566 : วิธีดูบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ - สีบัตร ป้องกันความผิดพลาด! ก่อนเข้าคูหา
เลือกตั้ง 2566 : การมีส่วนร่วมของประชาชน คือ หัวใจของการเลือกตั้ง

จะใช้สิทธิเลือกตั้งได้ต้องใช้หลักฐานแสดงตนอะไรได้บ้าง?


•    บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)
•    บัตรหรือหลักฐานที่ราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้โดยมีรูปถ่ายและหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนเช่น บัตรประจำตัวเจ้า หน้าที่ของรัฐ ใบขับขี่ พาสปอร์ต
•    บัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์จาก แอปพลิเคชัน D.DOPA หรือ ใบอนุญาตขับขี่อิเล็กทรอนิกส์จากแอปพลิเคชัน DLT QR LICENCE สามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงตนได้

 

คอนเทนต์แนะนำ
เลือกตั้ง 2566 : เช็กรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. กทม. 33 เขต มีผู้สมัครรวม 498 คน
เลือกตั้ง 2566 : เช็กรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. นครศรีธรรมราช 10 เขต มีผู้สมัครรวม 123 คน
เลือกตั้ง 2566 : เช็กรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. อุบลราชธานี 11 เขต มีผู้สมัครรวม 152 คน

7 ขั้นตอนง่ายๆ ในการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต-นอกเขตเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบรายชื่อ ตรวจสอบรายชื่อและลําดับที่จากบัญชีรายชื่อ ผู้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งที่ประกาศไว้หน้าที่เลือกตั้งกลางที่ผู้มีสิทธิลงทะเบียนขอใช้สิทธิไว้ หรือตรวจสอบข้อมูลการใช้สิทธิทางแอปฯ Smart Vote

ขั้นตอนที่ 2 ยื่นหลักฐานแสดงตน ยื่นบัตรประชาชนหรือหลักฐานแสดงตนให้กรรมการประจําที่เลือกตั้งกลางเพื่อตรวจสอบข้อมูลและยืนยันตัวตน พร้อมลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่ 3 รับบัตรเลือกตั้ง และซองใส่บัตร รับซองใส่บัตรเลือกตั้ง และบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวา บนต้นขั้วบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ประเภท โดยกรรมการประจําที่เลือกตั้งกลางลงลายมือชื่อ ในต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง พร้อมลงรายการเกี่ยวกับจังหวัด เขตเลือกตั้งและรหัสเขตเลือกตั้ง ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงบนซองใส่บัตรเลือกตั้ง (ส.ส. 5/2)

ขั้นตอนที่ 4 ทําเครื่องหมายกากบาท เข้าคูหาลงคะแนน ทําเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทําเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้ง แต่ละประเภท โดยสามารถเลือกผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ได้เพียงบัตรละหมายเลขเดียว หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครใดหรือบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดเลยให้ทําเครื่องหมายกากบาท X ในช่องไม่ประสงค์เลือกผู้สมัครผู้ใดหรือไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด

ขั้นตอนที่ 5 พับบัตรเลือกตั้งที่ทําเครื่องหมายแล้ว ใส่ซองใส่บัตรเลือกตั้ง เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วพับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ ให้เรียบร้อย แล้วใส่ลงในซองใส่บัตรเลือกตั้งปิดผนึก ให้เรียบร้อยก่อนออกจากคูหาเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่ 6 กปน. ลงลายมือชื่อกํากับซองใส่บัตรเลือกตั้ง มอบซองใส่บัตรเลือกตั้งที่ปิดผนึกเรียบร้อยให้กรรมการประจําที่เลือกตั้งกลาง ผู้ทําหน้าที่ควบคุมหีบบัตรลงลายมือชื่อ กํากับตรงรอยต่อผนึกซองดังกล่าวพร้อมปิดทับรอยต่อผนึกซอง ด้วยเทปกาวใส เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้กรรมการประจําที่เลือกตั้งกลางยื่นซองใส่บัตรเลือกตั้งคืนให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่ 7 หย่อนซองใส่บัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนําซองใส่บัตรเลือกตั้ง ใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง

คอนเทนต์แนะนำ
เลือกตั้ง 2566 : เช็กรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.บุรีรัมย์ 10 เขต มีผู้สมัครรวม 112 คน
เลือกตั้ง 2566 : เช็กรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. ขอนแก่น 11 เขต ผู้สมัครรวม 165 คน
เลือกตั้ง 2566 : เช็กรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. สมุทรปราการ 8 เขต มีผู้สมัครรวม 90 คน

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ