เมื่อวันที่ 5 พ.ค.สํานักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลการศึกษาต่อเนื่อง เรื่อง “โพลล์ เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 7 : ข้อมูลพื้นฐานการปกครองท้องที่ (ภูมิภาค) “ กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 400 เขตเลือกตั้งและผลการประมาณการจํานวน 100 ที่นั่งผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส. ในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 53,094,778 คนทั่วประเทศรวบรวมข้อมูลจาก ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง
ดําเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 1 – 5 พฤษภาคม พ.ศ.2566 โดยยืนยันผลการศึกษาของซูเปอร์โพลมีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องแบบวิธีการผสมผสาน ผลการศึกษาของซูเปอร์โพลล์จึงแตกต่างจากที่อื่น
ทั้งนี้ผลการศึกษาเมื่อพิจารณาความตั้งใจจะไปเลือกตั้งของประชาชนพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.3 หรือประมาณการ จํานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 37,431,819 คน จะไปเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 24.7 หรือ ประมาณการจํานวน ผู้มีสิทธิเลือกต้ังรวมทั้งสิ้น 15,662,959 คน จะไม่ไปเลือกตั้ง ที่น่าสนใจคือ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของจํานวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกต้ังจํานวน 400 ที่นั่ง จําแนกตาม ข้อมูลพื้นฐานการปกครองท้องที่ที่เป็นกลุ่มจังหวัดในแต่ละภูมิภาค พบอย่างชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทย ยังคงครอง ภาคอีสานและภาคเหนือ โดยภาคอีสาน ได้จํานวน ส.ส.เขต ทั้งสิ้น 57 ที่นั่ง และภาคเหนือ 24 ที่นั่ง รวมจํานวนทั้งสิ้น 111 ที่นั่ง
เลือกตั้ง 2566 : ลุงตู่ เปิดใจ เดิมชื่อ "ประลองยุทธ์" ก่อนบอกชอบเชียร์ "แมนซิตี้"
เลือกตั้ง 2566 : "กรณิศ" เดือด! แจ้งความป้ายหาเสียงหาย ซัดใช้วิธีสกปรก-รังแกผุู้หญิง
ในขณะที่ภูมิใจไทย กระจายไปตามภาคต่างๆ ดังนี้ ภาคอีสาน ได้ 36 ที่นั่ง ภาคกลาง 26 ที่นั่ง ภาคตะวันตก และภาคใต้ ได้ภาคละ 10 ที่นั่ง ภาคตะวันออก ได้ 6 ที่นั่ง ภาคเหนือ ได้ 5 ที่นั่ง และ กทม. ได้ 3 ที่นั่ง รวมทั้งสิ้น 96 ที่นั่ง และพรรคก้าวไกลกระจายไปตามภาคต่างๆ ดังนี้ ภาคอีสาน ได้ 23 ที่นั่ง กทม. ได้ 10 ที่นั่ง ภาคกลาง ได้ 5 ที่น่ัง และภาคตะวันออก ได้ 2 ที่นั่ง รวมท้ังสิ้น 40 ที่นั่ง รายละเอียดของ พรรคอื่นๆ พิจารณาได้จากตารางที่ 2
เมื่อนําผลการประมาณการจํานวนที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ร่วมกับ จํานวนที่นั่งของ ส.ส.เขตเลือกตั้ง พบว่า พรรคเพื่อไทย ได้จํานวน 139 ที่นั่ง จํานวนต่ําสุด 114 ที่นั่ง และจํานวนสูงสุด 164 ที่นั่ง รองลงมา คือ ภูมิใจไทย ได้จํานวน 112 ที่นั่ง จํานวนต่ําสุด 87 ที่นั่ง และจํานวนสูงสุด 137 ที่นั่ง อันดับ 3 ก้าวไกล ได้จํานวน 63 ที่นั่ง จํานวนต่ําสุด 38 ที่นั่ง และจํานวนสูงสุด 88 ที่นั่ง อันดับ 4 พลังประชารัฐ ได้จํานวน 61 ที่นั่ง จํานวนต่ําสุด 36 ที่นั่ง และจํานวนสูงสุด 86 ที่นั่ง อันดับ 5 ประชาธิปัตย์ ได้จํานวน 49 ที่นั่ง จํานวนต่ำสุด 24 ที่นั่ง และจํานวน สูงสุด 74 ที่นั่ง อันดับ 6 รวมไทยสร้างชาติ ได้จํานวน 46 ที่นั่ง จํานวนต่ําสุด 21 ที่นั่ง และจํานวนสูงสุด 71 ที่นั่ง อันดับ 7 พรรคอื่นๆ ได้จํานวน 30 ท่ีนั่ง จํานวนต่ําสุด 5 ที่นั่ง และจํานวนสูงสุด 55 ท่ีนั่ง
ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตว่า เสียงกลุ่มขั้วอนุรักษ์นิยมไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาก โดยภูมิใจไทยมาที่สองรองจากเพื่อไทย เพราะภาพลักษณ์นายอนุทิน ชาญวีรกูล ที่สู้เพื่อคนตัวเล็ก อีกทั้งนโยบายกัญชาทางการแพทย์มากขึ้น นโยบายผู้สูงอายุ โดนใจกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ รวมถึงส่วนประชาธิปัตย์นั้นคะแนนยังนำในภาคใต้และในช่วงสุดท้ายจีแรงเหวี่ยงจากนโยบาย ความเป็นสถาบันรวมทั้งภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์สุจริต ทำให้เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้คะแนนเพิ่มพุ่งไปถึง 74 ที่นั่ง
ศาสตราจารย์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา กล่าวว่า วันนี้กระแสพรรคก้าวไกล ที่มาแรงขึ้นมาใน 2 สัปดาห์สุดท้าย เป็นการบอกชัดเจนว่ากระแสมีความสำคัญ
ดังนั้นถ้าฝ่ายอนุรักษ์นิยม ไม่มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเมือง เพื่อดึงคะแนนช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนเลือกตั้ง14 พค.มีโอกาสที่ขั้วอนุรักษ์นิยมแพ้สูง คือ ขั้วรัฐบาลปัจจุบัน ส่วนโอกาสที่เพื่อไทยแลนด์สไลต์เป็นไปไม่ได้ สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้งถ้ากระแสยังเป็นแบบนี้ ฝ่ายเสรีประชาธิปไตย นำโดยเพื่อไทยเป็นแกนนำตั้งรัฐบาล โดยมีก้าวไกล ประชาชาติเข้าร่วม แต่เชื่อว่าสูตรนี้จะมีโอกาสทำให้ก้าวไกลขี่คอเพื่อไทยเลือกกระทรวงสำคัญแน่นอน ดังนั้นให้จับตาสัปดาห์สุดท้ายพรรคการเมืองต่างๆจะปล่อยกระสุนและคีย์แมทเซ็ตออกมาถูกต้อง ทำให้มีผลต่อกระแสการเมืองเปลี่ยนแปลงแค่ไหน