เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2566 ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ(ผบ.ทร.) พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เปิดเผยถึงการกู้เรือหลวงสุโขทัย ว่ากองทัพเรือได้มีการเสนอของบประมาณจากงบกลาง จำนวน 200 ล้านบาท ในการกู้เรือ ซึ่งกองทัพเรือได้เตรียมพร้อมทำสัญญากับบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินการในการกู้เรือ
ทั้งนี้ จำนวนเงินที่กู้ไปกับกระทรวงหลาโหม 200 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งการใช้งบกลางต้องขออนุญาตกับ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
แต่ปัจจุบันยังอยู่ในการพิจารณาของสำนักงบประมาณ โดยจะพิจารณาจัดสรรงบประมาณเท่าใดนั้น จะแจ้งให้กับกองทัพเรือทราบ อาจจะใช้งบกลางทั้งหมด หรือใช้งบกลางบางส่วน และให้กองทัพเรือใช้งบประมาณเหลือจ่ายของกองทัพเรือสมทบให้ครบตามจำนวน 200 ล้านบาท พร้อมยืนยันงบประมาณที่เสนอเป็นไปตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง โดยกองทัพเรือมีความพร้อมที่จะจัดตั้งบริษัทเข้าทำการกู้เรือทันทีที่งบประมาณอนุมัติ ซึ่งขณะนี้มีบริษัทที่มาเสนอประมาณ 4-5 บริษัท
“ธนกร” แนะ “พิธา” หากจะเป็นนายกฯที่ดี ให้ยึด “ประยุทธ์” เป็นแบบอย่าง
เลือกตั้ง 2566 : ส.ว.เสียงแตก ข้อเสนอตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ชี้เป็นไปได้ยาก
พล.ร.อ.เชิงชาย กล่าวว่า กองทัพเรือ มีความต้องการกู้เรือทั้งลำ ไม่ให้ตัดชิ้นส่วนหรือแยกชิ้นส่วนของเรือ ทั้งนี้ เรือจมอยู่ที่ระดับความลึก 50 เมตร การทำงานใต้น้ำที่ระดับความลึกดังกล่าวนั้น มีข้อจำกัดในการดำน้ำลึก จึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติการกู้เรือและนำเรือขึ้นมาในระดับความลึกที่สามารถปฏิบัติงานได้ก่อนที่จะนำเรือขึ้นมาลอยลำให้สามารถซ่อมแซมเรือ และนำเรือกลับมาที่อู่ของกองทัพเรือได้ โดยระยะเวลาการกู้เรือประมาณ 3 เดือน ส่วนกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต้องดำเนินการไปตามระเบียบ คาดว่าอาจจะไม่ทันภายในปี 2566 เนื่องจากเมื่อรับงบประมาณมาครบแล้ว จะใช้เวลาการจัดซื้อจัดจ้างประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นจะใช้เวลาในการกู้เรืออย่างน้อย 3 เดือน
ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวอีกว่า บริเวณที่เรือหลวงสุโขทัยอับปาง กองทัพเรือ ยังคงส่งเรือ และอากาศยาน เข้าตรวจสอบพื้นที่ โดยพบว่า สภาพเรือจมอยู่ที่เดิมและเป็นภาพที่ตั้งลำเหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพียงแต่มีเพียง หรือ สัตว์น้ำเข้ามาเกาะอยู่บ้าง
โดยระยะทางปัจจุบันที่เรือจมอยู่ห่างจาก อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 20 ไมล์ทะเล เป็นพื้นที่ที่ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จำกัดให้เป็นเขตภัยพิบัติ ห้ามไม่ให้ผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว เพราะอาจจะเกิดอันตรายได้ อีกทั้งเรือหลวงสุโขทัยยังเป็นทรัพย์สินของราชการ
ดังนั้นบุคคลที่เข้าไปในพื้นที่ มีความผิด ตามพระราชัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ปี พ.ศ.2562 หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำและปรับ และหากผู้ใดนำชิ้นส่วน อุปกรณ์ ยุทธภัณฑ์ ของเรือออกจากเรือ มีโทษลักทรัพย์ ทั้งจำและปรับ