นักวิชาการ คาด ส.ว.กลับลำไม่โหวตพิธา จ่อเสนอ ประวิตร-อนุทิน-พีระพันธ์

โดย PPTV Online

เผยแพร่

นับถอยหลัง ไม่กี่วัน ก็จะเข้าสู่ วันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ท่าที ส.ว. บางคน ที่เคยออกมาบอกว่า จะโหวตให้นายพิธา เป็นนายกฯ เริ่มกลับลำ สอดคล้องกับความเห็นนักวิชาการ ส.ว.มีแนวโน้มกลับลำไม่โหวตให้พิธา  

เราประมวลเหตุผลของสมาชิกวุฒิสภา หรือส.ว.บางคนมาให้ดู ที่มีทั้งคนที่ไม่โหวตนายพิธา และ คนที่เริ่มกลับคำพูดจากเดิมจะโหวตนายพิธา ก็เริ่มเปลี่ยนเป็นไม่โหวตให้นายพิธา ลองไล่เรียง ส.ว.ชื่อเด่นๆ แต่ละคน ว่ามีเหตุผลอะไรที่ไม่โหวตเลือกนายพิธา

จดหมายเปิดผนึก “ส.ว.วุฒิพันธุ์” หนุนโหวตนายกจากพรรคที่มี ส.ส. มากสุด

ส.ว.มีอำนาจ-หน้าที่อะไร! นอกเหนือจากการร่วมโหวตนายกฯ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ให้เหตุผลว่า " ไม่ได้รังเกียจ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯพรรคก้าวไกล แต่ที่ไม่โหวตให้ เพราะ นโยบายแก้ไข ม.112 "

 

นายสมชาย แสวงการ ระบุว่า " มีหลักฐานว่า ร่างกฎหมายแก้ไข ม.112 โดยพรรคก้าวไกล ต้องการนำ ม.112 ออกจากหมวดความมั่นคง  "

นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ให้เหตุผลที่ไม่โหวตว่า " เสียง ส.ว. ส่วนใหญ่ ตัดสินใจไม่เลือกนายพิธา  ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้ว "

นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน เคยออกมาบอกว่า จะโหวตนายพิธา แต่ตอนนี้เปลี่ยนใจ ไม่โหวตให้นายพิธา โดยให้เหตุผลว่า "มีไม่ถึง 10 คน ที่จะโหวตให้นายพิธา "

ส่วน นายทรงเดช เสมอคำ ที่เคยระบุว่าพร้อมสนับสนุน นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี หากสามารถรวบรวมเสียงข้างมากของพรรคการเมืองได้เกิน 250 เสียง

ล่าสุด เปลี่ยนใจ ไม่โหวตให้นายพิธา เนื่องจาก พรรคก้าวไกลยังมีจุดยืนแก้ไข ม.112 ทำให้ไม่สามารถโหวต นายพิธา ให้เป็นนายกฯได้ เพราะ ม.112 ต้องคงไว้ ไม่ควรยกเลิกหรือแก้ไข 

ด้านพรรคก้าวไกลเมื่อวานนี้ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคฯ ออกมา ยืนยันว่า ตอนนี้ มีเสียงส.ว.สนับสนุน 64 เสียง เพียงพอส่ง นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี แล้ว แต่ยังไม่หยุดเดินสายพูดคุยเพราะมองว่า ต้องมีเสียงสำรองไว้ด้วย

ที่นี่เรามาไล่ดูกันถ้า จะจำแนกส.ว.ออกเป็นกลุ่มๆ เราแบ่งกลุ่มได้แบบไหนบ้าง ในจำนวน 250 คน มีรายงานว่า แบ่งกลุ่ม ได้เป็น 6 กลุ่มหลัก คือ ส.ว. ที่ได้รับการสนับสนุน จาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กลุ่มนี้มีอยู่ราวๆ 60 คน

ส่วน กลุ่ม พลอ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ มีอยู่เกือบ 80 คน บางจังหวะสถานการณ์การเมือง 2 กลุ่มนี้ก็จะเห็นพ้องต้องกัน  หรือบางครั้งก็ ฟาดฟัน ถกเถียงกันเอง

กลุ่มที่ 3 เชื่อกันว่า คือ สายบ้านใหญ่ เป็น ส.ว. ที่ ยึดโยงกับกลุ่มการเมือง มีอยู่ราวๆ 50 คน // ส.ว.กลุ่มนี้ ถูกระบุว่า เป็นกลุ่มที่ ภาคการเมืองคัดสรรมา แล้วส่งให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คัดเลือกตั้งแต่งตั้งส.ว.

กลุ่มถัดไป คือ ส.ว.ที่เป็นนักกฎหมาย เป็นสายของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กลุ่มนี้มีอยู่ประมาณ 25 คน แหล่งข่าวบอกว่า กลุ่มนี้จะเป้นส.ว.หน้าเดิม ที่เวลา มีการยึดอำนาจ ต้องแต่งตั้งส.ว. คนกลุ่มนี้ก็จะวนเวียนอยู่ในสภา เช่น เป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติ โดยมีเหตุผลระบุว่า เป็นผู้ชำนาญการในสภา

กลุ่มถัดไป คือ เด็กฝาก เป็นกลุ่มที่ มีคนเอาไปฝากกับทั้งพล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร เพื่อขอให้เป็น ส.ว. มีอยู่ราว 20 คน

และ กลุ่มสุดท้าย สายข้าราชการประจำ มีประมาณ 15 คน

 

ด้าน รศ.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มสธ. กล่าวว่า ส.ว. ปักธง จะไม่โหวตให้นายพิธา ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว แต่ด้วยกระแสวิพากย์วิจารณ์ทางสังคม ทำให้ ส.ว.บางกลุ่ม ต้องออกมาแสดงท่าทีจะโหวตเลือกนายพิธา แต่พอถึงการโหวตจริง ก็มีการกลับคำพูดอย่างที่เห็น

รศ.ยุทธพร ยังวิเคราะห์ต่ออีกว่า จากสถานการณ์การเมืองในตอนนี้ นายพิธา มีโอกาสที่จะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น

ขณะที่วันนี้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล จะลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อขอบคุณประชาชนที่สนับสนุนคะแนนเสียง

Bottom-BDMS Bottom-BDMS

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด คุณสนใจหรือไม่?

Arena 36

Arena 36

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ