จากกรณีที่ประชุมวุฒิสภา มีการพิจารณาเรื่องด่วน ที่ประธานที่ประชุมแจ้ง คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหนังสือ ขอออกหมายเรียก นายอุปกิต ปาจรียางกูร สมาชิกวุฒิสภา เพื่อไปสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาคดีอาญา
แต่ตามกระบวนการในรัฐธรรมนูญ ระบุว่า ในระหว่างสมัยประชุม หากมีการเรียกตัว จะต้องทำหนังสือแจ้งมา และ ต้องได้รับการเห็นชอบจากสภาก่อน ซึ่งทำให้วันนี้มีการโหวตลงมติกัน ปรากฎว่า วุฒิสภา ไม่อนุมัติการส่งตัว นายอุปกิต ให้ ตำรวจสอบสวนในคดีฟอกเงิน-ยาเสพติด
ส.ว.อุปกิต เข้ารับทราบข้อหา คดีเอี่ยวฟอกเงิน "ทุน มิน ลัต"
“ส.ว.อุปกิต” แจงน้ำตานอง ยันไม่เคยเอี่ยวยาเสพติด-ทุน รทสช. จ่อฟ้องทุกคนที่ใส่ร้าย
ศาลอาญารับฟ้องคดี"ส.ว.อุปกิต" ฟ้อง"โรม" หมิ่นประมาท
ปรากฎว่า ผลการลงมติของสมาชิกวุฒิสภา คือ ไม่อนุญาตให้ตำรวจเรียกตัว นายอุปกิต ปาจรียางกูร สมาชิกวุฒิสภาไปสอบสวนในระหว่างสมัยประชุม โดยผลการลงมติ คือ 174 เสียง ไม่เห็นด้วย กับการออกหมายเรียกตัวนายอุปกิตไปสอบสวนฐานะผู้ต้องหาคดีอาญาระหว่างสมัยประชุม
ซึ่งมีเพียง 7 เสียง ที่เห็นด้วย และ มี สมาชิกวุฒิสภา 10 คน งดออกเสียง โดยที่ประชุมวุฒิสภา ใช้เวลาในการอภิปราย แจ้งให้ทราบ รวมถึงเปิดโอกาสให้ นายอุปกิต ชี้แจง และลงมติ วาระด่วนนี้ ร่วม 2 ชั่วโมง
ทั้งนี้สำหรับใจความสำคัญของการชี้แจง นายอุปกิต คล้ายกับที่เคยแถลงข่าว คือ ยืนยันว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัท อัลลัวร์ กรุ๊ป พร้อมขอบคุณที่ประชุมวุฒิสภาที่เปิดโอกาสให้ชี้แจงข้อเท็จจริง นอกจากนั้นยังบอกอีกว่า เขาถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรม ได้รับความทุกข์ทรมานมากว่า 1 ปี
อย่างไรก็ตามนายอุปกิต ยังยืนยันว่า ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่ง สว.ในปี 2562 เขาออกจากการเป็นกรรมการหุ้นส่วนบริษัท อัลลัวร์ กรุ๊ป แล้ว และตลอดเวลาที่ทำหน้าที่ เป็นตัวแทนซื้อขายไฟระหว่างไทยกับเมียนมาร์ไม่เคยมีปัญหาแม้แต่ครั้งเดียว
ส่วนเรื่องที่นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เคยอภิปรายและกล่าวหาว่าเป็นสว.ทรงเอ เกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดนั้น นายอุปกิต บอกว่า เขาฟ้องกลับนางรังสิมันต์ เป็นคดีความกันอยู่ 2 คดี นายอุปกิต ยังมองว่าการออกหมายจับตัวเขา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มองว่าถูกกลั่นแกล้ง
จากนั้น ที่ประชุมเปิดโอกาสให้ สมาชิกวุฒิสภา อภิปรายเรื่องนี้ มีหลายคนลุกขึ้นอภิปราย เช่น พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ พล.อ.ต.เฉลิมชัย เครืองาม นายจัตุรงค์ เสริมสุข นายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร พร้อมระบุว่า ไม่เห็นชอบให้นำตัวนายอุปกิตไปดำเนินคดี หรือ มีการเสนอว่า หากจะเอาตัวไป ตำรวจควรต้องมาชี้แจงในที่ประชุมวุฒิสภาก่อน
ขณะที่มี สว.บางส่วนอภิปรายสนับสนุนให้ สว.ลงมติเห็นชอบ เพื่อเคารพหลักการของรัฐธรรมนูญ พร้อมยกตัวอย่างที่ผ่านมาในช่วงการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 พบว่ามี 2 สว. ถูกขอหมายไปดำเนินคดีระหว่างสมัยประชุม ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวกับการฆาตกรรมภรรยาตนเอง และ เรื่องโอนเงินสหกรณ์ ซึ่งวุฒิสภาในช่วงเวลานั้นเห็นชอบ
ที่ประชุมลงมติไม่เห็นชอบ ซึ่งหมายความว่า หากจะมีการเรียกตัวนายอุปกิตไปสอบสวน จะต้องรอหมดสมัยประชุมก่อน หรือ หลังวันที่ 30 ตุลาคม
“กลุ่มฮามาส” คือใคร? มีจุดประสงค์อะไรจึงต้องโจมตีอิสราเอล?
สภาพอากาศวันนี้ ฝนถล่ม 54 พื้นที่ เหนือ-อีสาน ฝนตกหนักถึงหนักมาก!