ในวันที่ 31 ม.ค.นี้ ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยคดีกล่าวหานายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาเพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่
พีพีทีวีได้พูดคุยกับนักวิชาการด้านนิติศาสตร์ มองแนวทางการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีดังกล่าวอย่างน่าสนใจ
ย้อนฟังประธานศาล รธน. ปลายทางคดี 112 ถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่!
ย้อนไทม์ไลน์ก้าวไกล จากนโยบายแก้ 112 สู่คำวินิจฉัยยุบพรรค!
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นถึงแนวทางการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีดังกล่าวว่า พ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 92 ให้เหตุศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมืองใดๆ อย่างกว้างขวางมาก ทั้งนี้ปัญหาคือ มาตรา 92 (2) ใช้คำว่ากระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีคำว่า “อาจ” ซึ่งเป็นปัญหา เพราะอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองคืออะไร ก็กลายเป็นว่ากว้างขนาดนี้ ก็แล้วแต่ศาลรัฐธรรมนูญจะเอาอย่างไร ซึ่งเป็นการให้อำนาจมากเกินไปซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดี ต้องแก้ไข เพราะอาจจะเกิดปัญหาในแง่การใช้อำนาจ ว่าท่านอคติไหม ท่านเข้าข้างใคร มีการเมืองเข้ามาหรือเปล่า ซึ่งจะมีคำถามเยอะแยะเลย หากเขียนไว้กว้างแบบนี้
ทั้งนี้การแก้ไขมาตรา 112 หรือนโยบายที่จะแก้ไขมาตรา 112 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่ ตนคิดว่าลำพังเพียงการเสนอแก้ไขกฎหมายฉบับหนึ่งฉบับใด หรือมาตราหนึ่งมาตราใด มันเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าเป็นการกระทำที่อาจล้มล้างการปกครอง หรือเป็นปฏิปักษ์แล้ว และมาตรา 112 ก็เคยแก้มาแล้วในอดีต ไม่ใช่ไม่เคยแก้ ซึ่งหลังการยึดอำนาจ 6 ต.ค.2519 คณะปฏิวัติก็ใช้เหตุการปราบปรามนักศึกษาที่ธรรมศาสตร์เป็นเหตุในการแก้มาตรา 112 มาแล้ว
ดังนั้นลำพังเพียงเหตุนี้น่าจะไม่ถึงขนาดยุบพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนด้วย เพราะการยุบพรรคด้วยเหตุมาตรานี้ อาจจะส่งผลกระทบไปถึงสิ่งที่มาตรานี้ต้องการจะคุ้มครองได้ อาจจะเกิดผลที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นมาได้ ดังนั้นตนคิดว่าถ้าจะมีการยุบพรรคก้าวไกล มันอาจจะมาจากเหตุอื่น เพราะหากใช้มาตรานี้อาจจะเกิดปัญหาไม่พึงประสงค์ตามมาได้
แต่ตามคำร้องเป็นแค่การขอให้หยุด
“ความหมายผมคือถ้าพรรคก้าวไกลถูกยุบ การเมืองมันจะตีกลับ หมายถึงพรรคก้าวไกลที่มีข้อวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่อย่างนั้นอย่างนี้ คนส่วนมากก็จะมองข้ามไปเลย และจะมาเลือกพรรคใหม่ที่ขึ้นมาแทนพรรคก้าวไกล ถ้าคิดด้วยเหตุผลทางการเมืองการยุบน่าจะเป็นผลเสียยิ่งกว่า เพราะจะยิ่งโต และคนจะมองข้ามจุดอ่อนของพรรคก้าวไกลไป... ถ้ามองในแง่นี้แล้ว การยุบพรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นการบรรลุเป้าหมาย แต่เป้นการทำให้เป้าหมายของพรรคก้าวไกลบรรลุมากขึ้นต่างหาก”
อย่างไรก็ตามศาลรัฐธรรมนูญต้องใช้ข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ในการพิจารณา มากกว่าเรื่องการเมือง และหวังว่าท่านจะเอาความยุติธรรมเป็นที่ตั้ง เพราะความเห็นต่างและความขัดแย้งทุกสังคมมีได้หมด ประชาชนไม่จำเป็นต้องเลือกพรรคเดียวกันหรือคิดเหมือนกัน ประชาธิปไตยอนุญาตให้เราเห็นต่างกันได้แต่อยู่ร่วมกันได้ ทั้งนี้ต้องมีกรรมการที่เที่ยงธรรม
ขยายผล! เจออีกเคส "แก๊งศรีสุวรรณ" ตบทรัพย์เรียกเงิน 100 ล้าน?
ออปต้า ทำนายผลแข่ง ทีมชาติไทย พบ อุซเบกิสถาน รอบ 16 ทีม เอเชียน คัพ
“แบม ไพลิน” เปิดใจสละตำแหน่งมิสแกรนด์ระนอง ยอมรับกำลังตั้งท้อง