ประเด็นทางการเมืองที่กำลังเป็นที่จับตาอยู่ในขณะนี้ยังคงเต็มไปด้วยเรื่องของสงครามการฟ้องร้องระหว่างแต่ละขั้วแต่ละฝ่าย
ทั้งนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ที่ถูกร้องแล้วมากกว่า 10 เรื่อง รวมถึงกรณี “นักร้อง” ที่เป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ไปร้องเรียนการทำท่า “มินิฮาร์ต” ในชุดพิธีการ หรือฝั่งพรรคพลังประชารัฐเองก็กำลังถูกร้องในประเด็น “คลิปเสียง” ซึ่งมีการคุยกันเรื่องเงินที่หลุดออกมา แล้วมีการเชื่อมโยงกันว่าเป็นเรื่องราวภายใน “บ้านป่า”
ประกาศฉบับที่ 1 พายุ“ดีเปรสชัน” รับมือฝนตกหนักถึงหนักมาก
เปิดใจ 2 นักบินอวกาศนาซา หลังต้องติดอยู่ในอวกาศ 8 เดือน
วิเคราะห์ฟุตซอลโลก 2024 ทีมชาติไทย พบ คิวบา 17 ก.ย.67
“นักร้อง” ร้องเอง ไม่เกี่ยวกับพรรค
ต่อประเด็นที่เกิดขึ้นนี้ คุณสามารถ เจนชัยจิตรวนิช รองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ ได้เปิดเผยในรายการเข้มข่าวเย็น ช่วง Exclusive Talk ทางช่อง PPTV HD 36 ว่า การร้องเรียนของเหล่านักร้อง ไม่เกี่ยวข้องกับพรรคพลังประชารัฐ
“พปชร.ใช้กฎกติกาในสภาผู้แทนราษฎรในการตรวจสอบรัฐบาลมาโดยตลอด ... แต่วันนี้ที่มีนักร้อง เพราะกลไกสภาไม่มีการตรวจสอบเท่าที่ควร เป็นนายกฯ ต้องไม่มีจุดสร้างความเคลือบแคลงสงสัย มีประชาชนเชื่อว่าขาดคุณสมบัติ จึงยื่นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ” คุณสามารถกล่าว
เขาเสริมว่า “แต่จริง ๆ ถ้าสภาตรวจสอบผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 และมาตรา 170 ตรวจสอบคุณสมบัตินายกฯ สามารถลงชื่อ 1 ใน 10 ของสภาเพื่อยื่นสอบได้ แต่เราไม่เคยเห็นกระบวนการนี้ในสภาผู้แทนราษฎรเลยตั้งแต่สมัยอดีตนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน”
คุณสามารถบอกว่า เมื่อเทียบกันแล้ว ย้อนไปสมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ ตอนนั้นพรรคก้าวไกลจับมือกับเพื่อไทยตรวจสอบแบบไม่ให้พักหายใจ แต่ทำไมเมื่อถึงคราวอดีตนายกฯ เศรษฐา หรือนายกฯ แพทองธารจึงไม่มีการตรวจสอบ ทำให้ภาคประชาชนต้องยื่นกันเอง
รองโฆษกพรรค พปชร. บอกว่า คนที่ยื่นร้องคือประชาชนที่เป็นแค่สมาชิกพรรค ซึ่งทั้งหมดมีอยู่ 6 หมื่นกว่าคน คนเหล่านี้มีความสนใจในเรื่องการเมืองอยู่แล้ว เมื่อพบประเด็นก็เคลื่อนไหวเอง ไม่ใช่การกระทำโดยมติพรรค
“สส.ควรตรวจสอบกรณีสนามกอล์ฟอัลไพน์ ซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ เมื่อคุณแพทองธารไม่มีสิทธิเป็นนายกฯ คนที่เสียคือประเทศชาติและประชาชน กระบวนการนี้เคยเกิดจาก สส. หรือไม่ ดังนั้นประชาชนชาวบ้านที่ทนไม่ได้จึงมาร้อง” คุณสามารถกล่าว
ร้องได้ แต่เรื่องไม่เป็นเรื่อง ควรร้องหรือไม่?
ด้าน คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ กล่าวว่า การตรวจสอบเป็นเรื่องที่ดี โดยที่ผ่านมาอาจไม่ได้ตรวจสอบเรื่องที่มีคนร้อง แต่ตรวจสอบเชิงนโยบาย ซึ่งนั่นคือการตรวจสอบที่ดีเพราะนั่นคือนโยบายเรือธง เป็นเรื่องปากท้องประชาชนจริง ๆ
“ส่วนเรื่องที่เป็นเชิงเทคนิค คุณสมบัตินายกฯ การทำท่ามินิฮาร์ต ประชาชนอาจจะถามว่าได้อะไร นอกจากแรงกระเพื่อมทางการเมือง เป็นเรื่องดีที่มีการตรวจสอบ แต่ต้องทำให้เห็นว่าตรวจแล้วเกิดอะไร ... สมมติวันนี้นายกฯ แพทองธารแก้น้ำท่วมแล้วเอางบไปใช้ผิด ตรวจสอบได้เลย ถ้า พปชร. ตรวจสอบจะเอาใจช่วยเลย” คุณวีรพัฒน์กล่าว
เขาเสริมว่า “ถ้ากระทบประชาชนตรวจสอบเลย ฝากบอกสมาชิกพรรค พปชร. ว่า ถ้าประชาชนส่ายหน้าก็อย่าทำเลย ตรวจสอบสิ่งที่มีประโยชน์กับประชาชนดีกว่า”
คุณสามารถค้าน โดยบอกว่า คนจะเป็นนักการเมืองต้องถูกตรวจสอบถี่ถ้วน ยิ่งตะแกรงถี่ยิ่งสกปรกน้อย ซึ่งถ้าผิดก็ตรวจสอบ แต่ถ้าไม่ผิดก็อย่าไปกลั่นแกล้งดิสเครดิตกัน
“ท่ามินิฮาร์ท ถ้าไม่ตรวจสอบอีกหน่อยอาจจะใส่ชุดขาวทำกันปกติ แต่กำลังพูดเรื่องอื่น เรื่องสนามกอล์ฟ พรรคประชาชนแพ้เลือกตั้งพิษณุโลกเพราะไม่จริงจังเรื่องนี้ อภิปรายไม่ไว้วางใจไม่เคยเห็นก้าวไกลยื่นตั้งแต่คุณเศรษฐามาคุณแพทองธาร” รองโฆษกพรรค พปชร. บอก
คุณสามารถกล่าวอีกว่า “ถ้าเราจะให้ทุกคนเคารพกฎหมาย ต่อให้เป็นกฎหมายเล็กน้อยก็ต้องเคารพ เหมือนกฎหมายจราจรคนถามใส่หมวกกันน็อกทำไม อันนี้มินิฮาร์ตในชุดขาวก็ต้องตรวจ จะได้เป็นบรรทัดฐาน”
คุณวีรพัฒน์โต้แย้งว่า “เรื่องเล็กตรวจสอบได้ แต่เรื่องไม่เป็นเรื่องอย่าไปตรวจสอบ ... พปชร. เป็นกำลังสำคัญฝ่ายค้าน ฝากความหวังตรวจสอบเรื่องน้ำท่วม เดี๋ยวฝุ่นมาอีก เรื่องแจกงบ ตรวจสอบได้ แต่เรื่องที่ประชาชนบอกไม่ใช่เรื่อง อย่างมินิฮาร์ตในชุดขาว ไม่ได้คายหมากฝรั่งหรือร้องรำทำเพลง นายกฯ ก็ยังไปทำงานปกติ อยากให้ใช้เวลาตรวจสอบเรื่องปากร้องความเดือดร้อนมากกว่า”
คนเก่งแต่ไม่ดี ไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน
คุณสามารถบอกว่า การจะเป็นนายกฯ เป็นเรื่องซีเรียส จริยธรรมต้องสูงกว่าคนอื่น คนที่เกิดมาเป็นนายกฯ ต้องไม่ด่างพร้อยเลย
“คนที่มีโอกาสอยากเป็นนายกฯ มีเยอะแต่ขาดโอกาส นายกฯ ต้องไม่มาจากการสืบสันดานสายเลือดนามสกุล ย้อนมาอัลไพน์ สส.ถือที่ดิน ส.ป.ก. ยังโดนจริยธรรมร้ายแรงตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีพเลย นี่ที่ธรณีสงฆ์ร้ายแรงกว่าอีก ... เรื่องนี้ควรให้ศาลพิสูจน์ว่าผิดไม่ผิด เข้ากระบวนการ ถ้าพิสูจน์ว่าไม่ผิดก็สง่างามได้ความศรัทธา” รองโฆษกพรรค พปชร. บอก
คุณวีรพัฒน์มองว่า เราจำเป็นต้องตรวจสอบนักการเมืองก็จริง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องการดึงคนเก่งมาทำงานการเมือง แต่การตรวจสอบหยุมหยิมทำให้คนที่เคยทำธุรกิจ เคยได้มรดก ไม่อยากเข้าการเมือง
“ดูอย่างคุณเศรษฐาเคยสร้างแสนสิริ ปรากฏมีข่าวพ้นนายกฯ จะไปทำงานธุรกิจต่อก็มีปัญหา เพราะมีกฎในตลาดหลักทรัพย์ สมมติผมเป็นผู้บริหารธุรกิจก็ไม่กล้าเข้าการเมืองเหมือนกัน” นักกฎหมายอิสระกล่าว
คุณสามารถแย้งว่า ถ้าเป็นคนเก่งแล้วไม่ดีอย่าเอามา ถ้าเอาอำนาจให้คนเก่งแต่ไม่ดี ประชาชนจะได้อะไร “นักการเมืองควรเป็นคนดีก่อน การให้อำนาจคนดีจะแบ่งเค้กเท่ากัน ส่วนคนเก่งจะแบ่งตามผลประโยชน์ ไม่ควร ที่ผ่านมาถึงได้แต่คนเก่ง จัดการผลประโยชน์ดี แต่เราไม่ต้องการ ต้องการคนดี ให้สังคมเหลื่อมล้ำหดลงมา”
ร้องเรียนเรื่อง “คลิปเสียง” เป็นเรื่องเลอะเทอะ
คุณสามารถบอกว่า เรื่องที่ พปชร. ถูกร้องอยู่ขณะนี้ เอาอะไรมาร้อง ปล่อยมาแต่ละคนไม่มีหลักการ เผยตนสงสาร คุณพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย อย่างมาก เพราะมาร้องซี้ซั้วอาจจะเดือดร้อน ให้ไปถาม คุณจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน ตอนอยู่ในเรือนจำมีใครไปเยี่ยมบ้าง
รองโฆษกพรรค พปชร. ยืนยันว่า ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิต วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค ถูกตรวจสอบมาตลอด โดนทุกรอบ ไม่มีรอบไหนไม่โดน แต่ก็ได้คะแนนความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด มากกว่า พล.อ.ประยุทธ์ ด้วยซ้ำ
ส่วนเรื่องคลิปเสียงหลุด คุณสามารถย้ำว่าเป็นของปลอม ถ้าจะร้อง ต้องร้องในสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง เป็นเรื่องเล็กน้อยได้ แต่ต้องจริง ถ้าจะดิสเครดิตกันเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เรื่องไม่มีจริงไม่มีประโยชน์กับประชาชน
คุณวีรพัฒน์กล่าวว่า ฟังคลิปเสียงแล้ว ถ้าเป็นเรื่องชู้สาวคงไม่มีคนสนใจ แต่เผอิญมีคำว่าเงินก คำว่าพรรค ตำแหน่ง ดังนั้น ฝ่ายที่อยากตรวจสอบจึงมีสิทธิตรวจสอบ ถ้าไม่ผิดก็ชี้แจง “ถ้าผมเป็น พปชร. จะไม่รอกระบวนการตรวจสอบ แต่จะตั้งกรรมการสอบเองเลยว่าจริงไม่จริง สมมติปลอม ก็เอาข้อสรุปมาเลย ให้เห็น เอาข้อเท็จจรงมาฟาด ประชาชนได้ประโยชน์
คุณสามารถโต้ว่า “เรื่องคลิปเสียงเลอะเทอะกว่ามินิฮาร์ตอีก คลิปไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใครอัด ใครปล่อย เงินอะไรก็ยังไม่รู้ แต่ไปร้องแล้ว เลอะเทอะ มินิฮาร์ตในชุดขาวนี่สิความผิดเกิดแล้ว กระทำไปแล้ว”
รองโฆษกพรรค พปชร. เสริมว่า “วันนี้ยังไม่มีใครออกมายืนยันเลยว่าเป็นคลิปจริง ไม่มีใครพูดเลยว่าเป็นคนอัด คนจะกล่าวหาต้องมีพยานหลักฐานว่าทำผิด อันนี้ยังไม่รู้เลยใครอัด ไปร้องแล้ว หรือสมมติเป็นคลิปจริง ก็มีกฎหมายการเปิดเผยคลิป ใช้เพื่อประโยชน์ ต้องโทษจำคุก 5 ปี ทำไมชอบทำผิดกฎหมาย อะไรละเมิดกฎหมายล่ะทำกันจัง เป็นพรรครัฐบาลได้ไง”
คุณสามารถย้ำว่า เรื่องคลิปเสียงไม่อยากพูดแล้ว เก่าเกินไป ควรคุยเรื่องอื่น ส่วนตัวเชื่อว่าการดักฟังเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดกับใคร ไม่ใช่แค่ พล.อ.ประวิตร ไม่ควรถูกสื่อเปิดเผยด้วยซ้ำ ยังไม่รู้เลยเงินอะไร เอาผิดอะไรได้ กลายเป็นการดิสเครดิตทางการเมือง ไม่ยุติธรรม การใส่ร้ายป้ายสีไม่ควรเกิด
คุณวีรพัฒน์กล่าวว่า “ถ้าบอกว่าเราต้องรู้ว่าผิดค่อยตรวจสอบ แล้วมิมิฮาร์ตรู้แล้วหรือ ขณะที่คลิปเสียงในทางกฎหมายถือเป็นพยานหลักฐานศที่าลสามารถนำไปพิจารณาชั่งน้ำหนักได้”
นักกฎหมายอิสระเสริมว่า “ถ้าจะตรวสอบมินิฮาร์ตหรือสนามกอล์ฟอัลไพน์ คลิปเสียงก็ต้องตรวจสอบ”
คุณสามารถยืนยันว่า มินิฮาร์ตการกระทำเกิดขึ้นแล้ว ส่วนคลิปเสียงยังไม่ได้พิสูจน์ ต้องพิสูจน์ มากล่าวหากันถูกที่ไหน
“ทำไมจะต้องตรวจ ในเมื่อมันไม่จริง ... คนร้องยังไม่ได้ตรวจสอบเท็จจริงเลย เวลาร้องต้องกลั่นกรองข้อเท็จจริง ไม่ใช่ไปร้องแล้วไม่ใช่ ... การเปิดคลิปเสียงประชาชนไม่ได้ประโยชน์ ไม่ควรเกิดขึ้นกับใครในประเทศไทย” คุณสามารถกล่าว
คุณวีรพัฒน์ปิดท้ายการสนทนาว่า สุดท้ายเรื่องนี้ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน
“ประชาชนดูเอง ว่าเรื่องไหนตรวจสอบแล้วเป็นประโยชน์ ถ้า พปชร. มองว่าฟ้องมินิฮาร์ตเป็นประเด็น แล้วประชาชนเห็นด้วย เดี๋ยวคะแนนก็มา ส่วนเรื่องใหญ่คลิปเสียง สังคมพูดกันทั่วบ้านเมือง ถ้าประชาชนบอกไม่ใช่ประเด็นก็ตามนั้น ... ให้ประชาชนตัดสินเอง” คุณวีรพัฒน์กล่าว