จากกรณีที่ประชุมประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง “บิ๊กต่าย” พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) นั้น แต่ยังไม่ทันไรก็กลายเป็นประเด็นร้อนอีกรอบ
โดย “ทนายตั้ม” นายษิทรา เบี้ยบังเกิด เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนฯ ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ว่า ไม่ได้เหนือความคาดหมายยังไงก็เป็น พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ 100% แต่หลังจากนี้ตนจะไปยื่นเรื่องร้องเรียนนายกฯฐานผิดจริยธรรม
ทั้งนี้เนื่องจาก พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ปี 2565 และกฎ ก.ตร.ระบุว่าการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจขึ้นเป็น ผบ.ตร. ต้องคำนึงถึงหลักอาวุโสและความรู้ความสามารถ ถึงแม้ว่าพล.ต.อ.กิตติ์รัฐ จะมีลำดับอาวุโสสูงสุด แต่ในกฎหมายระบุด้วยว่าคนที่จะเป็น ผบ.ตร.จะต้องผ่านงานด้านการสืบสวนสอบสวนและงานด้านการปราบปรามมาก่อน เมื่อย้อนกลับไปดูคุณสมบัติของพล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ก่อนจะขึ้นมาถึงต่ำแหน่ง รอง.ผบ.ตร. ไม่เคยผ่านงานการเป็นผู้กำกับโรงพัก หรือระดับผู้บัญชาการสายงานสืบสวนปราบปรามเลย
พระราชทานเพลิงศพ ครู-นักเรียน 23 ร่างเหยื่อรถบัสไฟไหม้ ประชาชนแห่อาลัยแน่นโรงเรียน
รวบ “เชฟอ้อย” คดียักยอกเพชรแฟนคลับสูญเงิน 2 ล้าน!
นักฟิสิกส์ควอนตัมพบเรื่องประหลาด ปรากฏการณ์ “เวลาติดลบ”
นอกจากประเด็นเรื่องคุณสมบัติแล้ว พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ยังเป็นคู่กรณีของ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรอง ผบ.ตร. ซึ่งมีเรื่องร้องเรียนอยู่ที่ ป.ป.ช. เข้าข่ายเป็นคดีทุจริต แต่นายกฯกลับแต่งตั้งให้เป็น ผบ.ตร. นายกฯก็ถือว่ามีความผิดเรื่องจริยธรรม คล้ายๆกับกรณีที่แต่งตั้งรัฐมนตรีที่มีปัญหาความไม่ซื่อสัตย์สุจริต
ขณะที่ความเห็นของอดีตตำรวจที่ทำงานด้านปฎิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่าง พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม มองว่า การแต่งตั้ง พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ขึ้น เป็น ผบ.ตร. ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่าจะดันม้ามืดคนของฝ่ายการเมืองขึ้นมานั้น ก็คงเป็นความพยายามของฝ่ายผู้มีอำนาจทางการเมืองที่อยากจะได้คนที่ตนเองถูกใจ ทำงานสนองนโยบายของรัฐบาลได้ ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับความปลอดภัยของผู้มีอำนาจด้วย ก็คงต้องการคนที่ฝ่ายตัวเองไว้วางใจมากที่สุดอยู่แล้ว แต่โดยเงื่อนไขของกฎหมายทำไม่ได้ เป็นไปได้ว่าคงต้องรออีกระยะนึง เรียกว่าเล่นบทตามเพลงกันไปก่อน
ส่วนประเด็นที่ทนายตั้มบอกว่า จะไปร้องเอาผิดนายกฯฐานผิดจริยธรรมนายกฯ ที่ตั้งคนมีคดีขึ้นมาเป็น ผบ.ตร.และขาดคุณสมบัตินั้น พ.ต.อ.วิรุตม์ มองว่า คนจะร้องก็มีสิทธิร้องได้ แต่คงจะไม่ถึงขั้นผิดกฎหมาย เพราะถึงแม้ว่าพล.ต.อ.กิตติ์รัฐจะมีคดีค้างที่ ป.ป.ช. แต่คงจะไม่ถึงขั้นเอาผิดนายกฯได้ ส่วนในแง่ความสง่างามก็อาจจะถูกสังคมตั้งคำถามได้ว่าทำไมเอาคนที่มีปัญหามาเป็น ผบ.ตร. ส่วนเรื่องคุณสมบัติกฎหมายเขียนกว้างๆ เอาไว้ไม่ได้ผ่านงานสืบสวนปราบปรามก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
เมื่อถามว่าการตั้งพล.ต.อ.กิตติ์รัฐ เป็น ผบ.ตร.ตัวจริงจะมีปัญหาภายหลังในคดีพล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หรือไม่ถ้าหากผลการสอบวินัยออกมาว่าไม่ได้ผิดวินัยร้ายแรงหรือศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครอง พ.ต.อ.วิรุตม์ คิดว่า คงจะไม่มีผลให้ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร เพราะถ้าพล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ ชนะคดีได้กลับมาเป็นแคนดิเดทก็ต้องไปลุ้นเอารอบต่อไป
เมื่อถามว่าเหตุผลที่นายกฯหยิบชื่อพล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ซึ่งเชื่อว่าเป็นคนที่ฝ่ายการเมืองไว้วางใจ และเพื่อมาสานต่อนโยบายยาเสพติดของรัฐบาลและปราบปรามการหลอกลวงออนไลน์ตามกระแสข่าวที่ออกมาหรือไม่ พ.ต.อ.วิรุตม์ มองว่า เรื่องการทำงานสนองนโยบายรัฐบาลก็ปฎิเสธไม่ได้หรอก เพราะต่ำแหน่ง ผบ.ตร.นอกจากจะต้องทำงานตามกฎหมายก็ต้องทำงานสนองนโยบายของฝ่ายการเมืองด้วย เพราะองค์กรตำรวจก็ไม่ใช่องค์กรที่มีอิสระ ตามโครงสร้างอำนาจนายกฯเป็นประธาน ก.ตร. เพียงแต่ฝ่ายการเมืองจะแทรกแซงอำนาจการสอบสวนไม่ได้ จริงก็คือหน้าที่โดยตรง แต่ถ้ารัฐบาลต้องการให้ตำรวจสนองนโยบายเพื่อแก้ปัญหาของสังคมจริงๆ ก็ควรจะต้องมีการประเมินผลงานของ ผบ.ตร.ด้วย เช่น ใช้ KPI ว่าจะแก้ปัญหาได้ภายในกี่เดือน 3 เดือนหรือ 6 เดือน ไม่ให้เลือกคนที่ฝ่ายตนเองไว้วางใจแต่ไม่ได้ทำงานเพื่อแก้ปัญหาสังคมเลย
ส่วนเรื่องการปฎิรูปตำรวจและปัญหาที่ ผบ.ตร.คนใหม่ควรจะต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วนเลยก็คือเรื่องส่วย โดยมองว่า ถ้า ผบ.ตร.จัดการเรื่องส่วยได้ปัญหาอาชญกรรมทุกเรื่องจะลดลงทันทีภายใน 1 เดือนมากถึง 50% เพราะเกี่ยวโยงกันหมด อีกเรื่องคือความขัดแย้งในภายในองค์กรตำรวจก็ต้องเร่งสะสางไม่ควรมองว่าการกระทำตามกฎหมาย เช่น การตรวจสอบตำรวจที่ทำผิดเป็นความขัดแย้ง แต่เป็นหน้าที่ที่ต้องทำ อยากจะฝากไปถึงตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ลดความอยากเป็น ผบ.ตร.ลงบ้าง ปัญหาการมาจ้องเลื่อยขาเก้าอี้กันจะยิ่งทำให้องค์กรตำรวจไปไหนไม่ได้