สหรัฐฯ เรียกร้อง กองทัพเมียนมา คืนอำนาจรัฐบาลพลเรือน
สหรัฐฯ ระงับความช่วยเหลือเมียนมา พร้อมประณามกองทัพ
โธมัส แอนดริว เจ้าหน่าที่สอบสวนด้านสิทธิมนุษยนชนฝ่ายกิจการเมียนมาร์ในเมียนมาออกแถลงการณ์เรียกร้องคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาใน 2 เรื่องนี้ คือ ยุติการขายอาวุธ และคว่ำบาตรบริษัทน้ำมันและก๊าซธนรรมชาติที่เป็นแหล่งรายได้ใหญ่ของกองทัพเมียนมาร์อย่าง Myanmar Oil and Gas Enterprise ข้อเรียกร้องของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเอ็นรายนี้น่าสนใจ เพราะการห้ามขายอาวุธให้กับกองทัพเมียนมา เป็นมาตรการที่ประชาคมโลกยังไม่ได้แตะถึงในการคว่ำบาตรกองทัพครั้งนี้
แต่ประเด็นสำคัญคือ มาตรการนี้จะทำได้หรือไม่ ได้ไม่ได้ต้องมาดูว่า ตอนนี้ประเทศไหนขายอาวุธให้กองทัพเมียนมาร์บ้าง
อ้างอิงข้อมูลของคณะกรรมการสืบหาความจริงของสหประชาติเมื่อปี 2019 ระบุว่า ในช่วงวิกฤตโรฮิงญา มี 14 บริษัทจาก 7 ประเทศที่ขายอาวุธให้กับกองทัพเมียนมา นั่นคือจีน เกาหลีเหนือ อินเดีย อิสราเอล ฟิลิปปินส์ รัสเซีย และยูเครน
อาวุธที่ว่ามีตั้งแต่ครื่องบินรบ เรือรบ รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ และขีปนาวุธ
เกาหลีเหนือขายขีปนาวุธสกั๊ด ซึ่งเป็นขีปนาวุธที่ผลิตขึ้นระหว่างสงครามเย็นให้
จีนแต่ที่สำคัญคือ จีนกับรัสเซีย อาวุธกว่าร้อยละ 50 ของกองทัพเมียนมาร์ซื้อมาจากจีน และประมาณร้อยละ 17 ซื้อจากรัสเซีย
ในวันที่ทหารยึดอำนาจ รถลำเลียงพลหุ้มเกราะจำนวนมากที่ถูกนำมาลาดตระเวณเป็นของรัสเซีย
เช่น บีทีอาร์-3 ที่เมียนมาซื้อมาจากยูเครนเมื่อปี 2001 เป็นรุ่นที่เป็นเทคโนโลยีของรัสเซีย
อีกรุ่นคือ บีดีอาร์เอ็ม-2 ซึ่งเป็นรถลำเลียงพลหุ้มเกราะสัญชาจิรัสเซียที่กองทัพเมียนมาเพิ่งซื้อมาในปี 2020
สถาบันวิจัยด้านสันติภาพระหว่างประเทศสต็อกโฮล์มระบุว่า รถลำเลียงพลหุ้มเกราะของรัสเซียที่กองทัพทัตมะดอว์นำมาใช้ในการก่อรัฐประหารครั้งนี้ ตอกย้ำความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นระหว่างกองทัพเมียนมากับรัสเซีย
ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สื่อญี่ปุ่นให้ความสนใจ Nikei Review ของญี่ปุ่นตีพิมพ์บทความระบุว่า เมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา หรือเพียง 9 วันก่อนที่จะมีการยึดอำนาจ รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซีย เซอร์เก ซอยกูเดินทางเยียนเมียนมาร์เพื่อปิดดีลการขายอาวุธ
อาวุธที่อยู่ในดีลการซื้อขายครั้งนี้รวมถึงPantsir-S1 ซึ่งระบบป้องกันภัยทางอากาศ และสุดท้ายคือ อากาศยานไร้นักบินแบบ Orlan-10E ที่สามารถบินได้ไกล 140 กิโลเมตรจากสถานีควบคุม
นิเกอิรีวิวระบุว่า เมียนมาร์น่าจะดป็นลูกค้าต่างชาติรายแรกของอากาศยานนี้ ซึ่งในปี 2018 รัสเซียกับเมียนมาเคยมีดีลซื้อขายอาวุธเช่นกัน คือเครื่องบินขับไล่ รุ่นซู-30 จำนวน 6 ลำ เป็นเครื่องบินสองขับไล่โจมตีสองที่นั้ง ที่สามารถใช้งานได้ในทุกสภาพอากาศ
ทั้งดีลขายอาวุธไม่กี่วันก่อนรัฐประหาร และการเลือกใช้รถลำเลียงพลหุ้มเกราะของรัสเซียมาวิ่งบนท้องถนน สะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัสเซียกับกองทัพเมียนมาร์
ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนบอกไม่น่าแปลกใจ เพราะในแง่ยุทธศาสตร์ รัสเซียคือตัวเลือกที่ดีในการ Offset หรือลดอิทธิพลของจีนที่มีต่อเมียนมาร์และผู้นำกองทัพเมียนมาร์อย่างนายพลมินอ่องหล่ายก็ไม่เคยปกปิดในเรื่องนี้ เป็นที่รู้กันว่า นายพลคนนี้มีความแนบแน่นกับรัสเซีย
เขาเคยเดินทางไปเยือนรัสเซียแล้ว 6 ครั้ง ที่สำคัญคือ การเดินทางไปร่วมงานเฉลิมฉลองวันครบรอบ 75 ปี ที่กองทัพโซเวียตเอาชนะกองทัพนาซีได้ หรือที่เรียกว่า วัน V Day และนี่คือเหตุผลที่กองทัพเมียนมาร์พึ่งพิง ซื้ออาวุธจากรัสเซียด้วย แทนที่จะพึ่งพาจากจีนเพียงแย่างเดียว
ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการซื้อขายอาวุธระหว่างทัตมะดอว์กับรัสเซีย ถูกเผยแพร่ในปี 2019 ระบุว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กองทัพซื้ออาวุธจากรัสเซียรวมแล้วเป็นมูลค่า 807 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
จึงต้องจับตาดูว่า มาตรการห้ามขายอาวุธให้กองทัพเมียนมา จะถูกคณะมนตรีความมั่นคงของยูเอ็นตอบรับหรือนำไปพิจารณาได้มากน้อยแค่ไหน เพราะรัสเซียกับจีนเองก็นั่งเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงอยู่ และที่ผ่านมาทั้งสองประเทศนี้ก็มักวีโต้หรือยับยั้งมาตรการตอบโต้กองทัพเมียนมา