นักวิจัยชาวบราซิลพบว่า โมเลกุลในพิษของงูชนิดหนึ่งยับยั้งการแพร่พันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในเซลล์ลิงได้ ซึ่งเป็นก้าวแรกที่เป็นไปได้สู่การต่อยอดเป็นยาเพื่อต่อสู้กับโควิด-19
ผลการศึกษาดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Molecules ในเดือนนี้ โดยระบุว่า โมเลกุลในพิษที่ผลิตโดยงูพิษจาราราคัตสุ (Bothrops jararacussu) สามารถยับยั้งความสามารถของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในการแบ่งเซลล์และแพร่กระจายตัวในเซลล์ลิงได้ 75%
สารประกอบจาก “เห็ดหนิวจังจือ” อาจเป็นอาวุธต้านโควิด-19 ในอนาคต
แอฟริกาใต้พบโควิด-19 "C.1.2" อีกหนึ่งสายพันธุ์ใหม่ที่ต้องจับตา
WHO ยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์โคลอมเบีย มอบโค้ดเนม “สายพันธุ์มิว”
ราฟาเอล กุยโด ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเซาเปาโลและผู้ทำการศึกษาดังกล่าวกล่าวว่า “เราพบว่า สารประกอบส่วนหนึ่งจากพิษงูชนิดนี้สามารถยับยั้งโปรตีนที่สำคัญมากของไวรัสโควิด-19 ได้”
โมเลกุลจากพิษงูดังกล่าวเป็นเปปไทด์หรือสายกรดอะมิโนที่สามารถเชื่อมต่อกับเอนไซม์ชนิดหนึ่งของโควิด-19 ที่เรียกว่า PLPro ซึ่งมีความสำคัญต่อการแบ่งตัวของไวรัสโดยไม่ทำอันตรายต่อเซลล์อื่น
กุยโดกล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า เปปไทด์เป็นที่รู้จักในด้านคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย และห้องแล็บสามารถสังเคราะห์เปปไทด์ได้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องจับหรือเลี้ยงงูเพื่อนำพิษมาสกัดเปปไทด์ออกมา
จูเซปเป ปัวร์โต นักสัตววิทยาที่ดูแลการรวบรวมตัวอย่างทางชีววิทยาของสถาบันบูตานตานในเซาเปาโลกล่าวว่า “เราขอเตือนคนที่จะออกไปล่างูจาราราคัตสุรอบ ๆ บราซิลเพราะคิดจะกอบกู้โลก … อย่าหาทำ! ไม่ใช่พิษของมันที่จะรักษาโควิด-19 เป็นแค่หนึ่งในส่วนประกอบเท่านั้น”
หลังจากนี้ นักวิจัยจะประเมินประสิทธิภาพของปริมาณโมเลกุลที่แตกต่างกันว่า สามารถป้องกันไม่ให้ไวรัสโควิด-19 เข้าสู่เซลล์ตั้งแต่แรกได้หรือไม่ พวกเขามีแผนว่าจะทดสอบสารในเซลล์ของมนุษย์ แต่ยังไม่ได้ชี้แจงรายละเอียด
จาราราคัตสุเป็นงูที่ใหญ่ที่สุดในบราซิล มีความยาวไม่เกิน 2 เมตร มักอาศัยอยู่ในป่าแอตแลนติกชายฝั่งและยังพบในโบลิเวีย ปารากวัย และอาร์เจนตินา มีสื่อหลายสำนักเคยจัดอันดับว่า เป็น 1 ใน 10 งูพิษที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก
เรียบเรียงจาก Reuters
ภาพจาก AFP
เปิดวิธีรับชุดตรวจโควิด-19 ATK ผ่าน แอปพลิเคชัน "เป๋าตัง"
เงินเยียวยานักเรียน 2,000 บาท 4 กลุ่มรับได้เลย ตั้งแต่ 1 ก.ย.นี้