องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (ICUN) เผยแพร่รายงานประจำปี เพื่อประเมินความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ พบว่า 28% ของสิ่งมีชีวิต 138,374 สายพันธุ์บนโลก ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีสีแดง (Red List) ซึ่งหมายถึงมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะสูญพันธุ์ โดยปริมาณของปลาทูน่า 4 สายพันธุ์หลัก ซึ่งรวมถึงปลาทูน่าครีบน้ำเงินแอตแลนติก และปลาทูน่าครีบเหลือง เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังมีการจำกัดโควต้าการจับทูน่าอย่างเข้มงวด
อินโดนีเซีย จ่อเก็บค่าชม "มังกรโคโมโด" ปีละ 30,000 บาท
อินโดนีเซียทลายแก๊งลักลอบค้า "มังกรโคโมโด" ผ่านเฟซบุ๊ก
แต่สถานการณ์ของฉลามและกระเบน ยังไม่สู้ดีนัก โดย 37% ของประชากรฉลามและปลากระเบน เผชิญกับความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งเป็นผลจากการทำประมงที่มากเกินไป
ขณะที่ 31% ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย และ 10% ได้รับผลกระทบจากภาวะสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง
ส่วน "มังกรโคโมโด" ซึ่งเป็นตะกวดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีถิ่นอาศัยในประเทศอินโดนีเซีย ก็กลายเป็นสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ จากปัจจัยเรื่องแหล่งที่อยู่อาศัยลดลง ซึ่งเป็นผลจากกิจกรรมและการรุกรานของมนุษย์ รวมถึงภาวะโลกร้อนที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า การที่สัตว์ป่าจำนวนมากเผชิญความเสี่ยงสูญพันธุ์เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากเรื่องสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องที่น่ากังวล และควรหยิบยกขึ้นมาหารืออย่างจริงจัง ก่อนการประชุมเวทีสำคัญระดับโลกเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน หรือ COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ ของสกอตแลนด์