ICC เริ่มสอบสวนคดีอาชญากรรมสงครามในยูเครน

โดย PPTV Online

เผยแพร่

อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC เปิดเผยว่าจะเปิดกระบวนการสอบสวนข้อหา ‘อาชญากรรมสงครามในยูเครน’ ทันทีและล่าสุดวันนี้บรรดาสื่ออิสระเริ่มเก็บข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสอบสวนแล้ว

เมื่อวานนี้ คาริม ข่าน อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ เปิดเผยว่าเขาจะเปิดกระบวนการสอบสวนข้อกล่าวหา “อาชญากรรมสงครามในยูเครน” ทันที โดยระบุว่า การสอบสวนนี้เริ่มขึ้นหลังจากที่ 39 ชาติที่ร่วมลงนามในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ได้ยื่นคำร้องให้ไอซีซีเริ่มต้นการสอบสวนคดีอาชญากรรมสงคราม

การสอบสวนนี้จะย้อนหลังกลับไปถึงวันที่ 21 พ.ย. ปี 2013 ที่เกิดเหตุการณ์การประท้วงต่อต้านรัฐบาลสายโปรรัสเซียที่เกิดขึ้นในกรุงเคียฟของยูเครน

ระเบิดดังทั่วเคียฟ-รัสเซียเดินหน้าถล่มหนัก

น้ำมัน..อาวุธลับรัสเซีย เมื่อราคาทะยาน จนไม่รู้ว่าจะวิ่งไปไกลแค่ไหน

เจ้าหน้าที่จะจำกัดวงการสอบสวนไปที่ข้อกล่าวหาอาชญากรรมสงครามต่อมนุษยชาติ หรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนของยูเครนไม่ว่าจะโดยบุคคลใดก็ตาม

ศาลอาญาระหว่างประเทศเกิดขึ้นโดยธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ปี 2002 โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮกของเนเธอร์แลนด์

ศาลนี้มีอำนาจในการตัดสินคดี 4 คดี คือ คดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมการรุกราน

ตอนนี้มี 123 ประเทศเป็นสมาชิกของ ICC โดยประเทศไทยได้ลงนามรับรองธรรมนูญศาลเมื่อปี 2002 ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย  แต่ไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันจึงไม่ได้เป็นสมาชิกแบบเต็มตัวเพราะอยู่ในการพิจารณาสาระที่มีผลต่อไทยซึ่งใช้เวลามากว่า 20 ปีแล้ว

อาชญากรรมสงครามเป็นการกระทำอันฝ่าฝืนกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง เช่น การฆ่าพลเรือนหรือนักโทษโดยเจตนา, การทรมาน, การทำลายทรัพย์สินพลเรือน เป็นต้น ซึ่งในที่นี่อาจจะมีการพุ่งเป้าไปที่การโจมตีพลเรือนในยูเครน ทำให้ผู้กระทำต้องรับผิดทางอาญาเป็นการเฉพาะตัว

นอกจากศาล ICC แล้ว ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ที่พยายามร่วมรวมหลักฐานอาชญากรรมสงครามในยูเครน หนึ่งในนั้นคือ Bellingcat

ล่าสุดวันนี้ สื่อต่างประเทศรายงานว่า Open-source intelligence community ได้เริ่มรวบรวมข้อมูลจากโอเพ่นซอร์สเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมสงครามในยูเครน

โอเพ่นซอร์สข่าวกรอง (OSINT) คือการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากโอเพ่นซอร์ส เช่น ข่าว ภาพนิ่ง ภาพวิดีโอ เพื่อสร้างข่าวกรองที่นำไปใช้ได้จริง

หนึ่งในหน่วยงานที่สืบหาเรื่องนี้คือ Bellingcat ซึ่งเป็นกลุ่มวารสารเชิงสืบสวนแบบไม่แสวงหากำไรที่มีฐานอยู่ในเนเธอร์แลนด์

โดยอีเลียต ฮิกกินส์หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Bellingcat ระบุว่ามีหลักฐานว่ารัสเซียคุกคามความปลอดภัยประชาชนและใช้ระเบิดคัสเตอร์ในเขตพลเรือนจริงพร้อมทั้งแนบภาพที่รวบรวมมาได้จากที่ต่าง ๆ ในยูเครนไว้ในเว็บไซต์และเธรดทวิตเตอร์ของเขา

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่มีนัยสำคัญคือ การลงมติของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสมัยพิเศษเมื่อคืนที่ผ่านมา ที่บอกว่ามีนัยสำคัญคือ เราจะเห็นว่าประเทศไหนคิดอย่างไร มีจุดยืนอย่างไรต่อการรุกรานของรัสเซียในยูเครน ใครคือพันธมิตรที่เหนียวแน่นของรัสเซียในยามนี้

ผลการลงมติพบว่า 141 เสียงรวมถึงประเทศไทยเห็นด้วยกับมติดังกล่าว  ส่วน 35 ประเทศ เช่น จีนและอินเดีย งดออกเสียง  อีก 5 ประเทศประกอบไปด้วย รัสเซีย เบลารุส เอริเทรีย เกาหลีเหนือ และซีเรีย ลงมติคัดค้าน

ทำไมถึงมี 5 ประเทศที่ลงมติคัดค้าน คำตอบคือประเทศเหล่านี้เป็นพันธมิตรที่ดีของรัสเซีย โดยเบราลุสมีพรมแดนติดกับรัสเซีย ตลอดจนประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน และประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโกเป็นมิตรที่ดีต่อกันและช่วยเหลือกันมาตลอด

เอริเทรียมีผลประโยชน์ร่วมกับรัสเซียมาตั้งแต่ปี 2018 ในฐานะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ การทูต และการทหาร ส่วนซีเรีย รัสเซียเคยส่งกองกำลังไปช่วยปราบกลุ่มต่อต้านรัฐบาลบัชชาร์ อัล-อัสซาด ซึ่งประธานาธิบดีคนปัจจุบัน

จากข้อมูลทางเว็บไซต์ของสหประชาชาติระบุว่า การเปิดประชุมสมัชชาใหญ่สมัยพิเศษเป็นการฉุกเฉินแบบนี้ดกิดขึ้นครั้งล่าสุดก็คือปี 1997 หรือเมื่อ 25 ปีที่แล้วในกรณีความขัดแย้งอิสรา-ปาเลสไตน์

อย่างไรก็ตามการมติประนามรัสเซียในคราวนี้ ไม่ได้มีผลผูกพันทางกฎหมายใดๆ แต่มันคือสัญลักษณ์และสัญญาณว่ารัสเซียกำลังถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลกอย่างแท้จริงแล้ว แม้แต่เพื่อนหรือพันธมิตรอย่างจีน คาซัคสถาน ยังไม่โหวตให้แต่งดออกเสียงแทน

ICC จ่อสอบสวนรัสเซียบุกยูเครน “ปูติน” เสี่ยงเข้าข่ายอาชญากรสงคราม

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ