หมู่บ้านในยูเครนยอมเปิดเขื่อนให้น้ำท่วม เพื่อให้รัสเซียบุกโจมตีไม่ได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“น้ำท่วม” อาจเป็นหายนะ แต่ในบางโอกาสมันก็อาจเป็นทางรอด เมื่ออุทกภัยทำให้หมู่บ้านยูเครนแห่งหนึ่ง รอดพ้นจากเงื้อมมือของรัสเซีย

ขึ้นชื่อว่าสงคราม สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมมีแต่ความโหดร้าย นั่นทำให้หลายคนหากเลือกได้ ก็อาจจะขอเลือกเจอวิกฤตอย่างอื่นมากกว่าการเผชิญกับไฟสงครามและการรุกรานจากศัตรู

เช่นเดียวกับประชาชนในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของยูเครน “เดมีดิฟ (Demydiv)” ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเคียฟไปทางเหนือประมาณ 50 กิโลเมตร ในช่วงเริ่มต้นของสงครามรัสเซีย-ยูเครน พวกเขาประเมินแล้วว่า ในการมุ่งหน้าไปยังเมืองหลวง รัสเซียจะต้องบุกโจมตีผ่านหมู่บ้านของพวกเขาแน่ จึงตัดสินใจที่จะ “ทำให้น้ำท่วมหมู่บ้านตัวเอง”

อินเดียระงับส่งออกข้าวสาลี ซ้ำเติมวิกฤตอาหารโลกจากสงครามยูเครน

หน่วยข่าวกรองคาด รัสเซียสูญเสียกำลังรบที่ใช้บุกยูเครนไปแล้ว 1 ใน 3

ยูเครนนำตัวทหารรัสเซีย ไต่สวนคดีอาชญากรรมสงครามครั้งแรก

โดยกองกำลังยูเครนและชาวบ้านตัดสินใจเปิดเขื่อนใกล้กับหมู่บ้านเดมีดิฟ ทำให้มวลน้ำจากแม่น้ำเอียร์ปิน (Irpin) ไหลท่วมหมู่บ้านและพื้นที่กว่า 130 ตารางกิโลเมตรรอบ ๆ หมู่บ้าน

การตัดสินใจดังกล่าวทำให้ทหารและรถถังรัสเซียมต้องใช้เส้นทางอื่นในการบุกไปยังกรุงเคียฟแทน และทำให้หมู่บ้านแห่งนี้ไปถูกโจมตีทำลาย โดยชาวบ้านบอกว่า การปกป้องหมู่บ้านไว้ได้นั้น คุ้มค่ากับการเสียสละทั้งหมด

โวโลดิมีเมียร์ อาร์เตมชุก ชาวบ้านในเดมีดิฟวัย 60 ปีกล่าวว่า “การปล่อยให้น้ำท่วมเป็นเรื่องที่ดี”

ขณะที่ โอเล็กซานเดรอ ไรบัลโก ชาวบ้านเดมีดิฟวัย 39 ปี กล่าวว่า “จะเกิดอะไรขึ้นหากกองกำลังรัสเซียสามารถข้ามแม่น้ำแล้วมุ่งหน้าไปยังเคียฟได้”

ด้านนักนิเวศวิทยายูเครน โวโลดิเมียร์ โบเรย์โก ได้ตั้งชื่อเล่นให้กับแม่น้ำเอียร์ปินว่า “แม่น้ำวีรชน (Hero River)”

เขาบอกว่า “ผมคิดว่าแม่น้ำเอียร์ปินควรมีชื่อว่า 'แม่น้ำวีรบุรุษ' และหลังจากนี้ควรได้รับการปกป้องทางสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เพราะแม่น้ำเอียร์ปินมีบทบาทในการปกป้องเมืองหลวงของเรา ทั้งในครั้งนี้ และเมื่อ 1,000 ปีก่อน”

โควิด 10 จังหวัดป่วยสูงสุด กทม. รองลงมาสุรินทร์-บุรีรัมย์

โบเรย์โกเล่าว่า “พันปีที่แล้ว ในสมัยเครือรัฐ Kyivan Rus แม่น้ำเอียร์ปินได้ปกป้องกรุงเคียฟซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากการโจมตีทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Polovtsians และ Pechenegs เมื่อบริเวณนี้เกิดน้ำท่วม จะทำให้ทหารม้าของศัตรูไม่สามารถผ่านได้

2 เดือนผ่านไปแล้วหลังจากที่รัสเซียบุกยูเครน ระดับน้ำในหมู่บ้านเดมีดิฟและพื้นที่โดยรอบลดลงไปส่วนหนึ่ง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงต้องใช้เรือในการสัญจรไปมา และปลูกพืชผักตามพื้นที่ที่น้ำลดลงไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม การปล่อยให้น้ำท่วมในบริเวณหมู่บ้านเดมีดิฟก็มีราคาที่ต้องจ่าย โดยมีการประเมินว่า ความอุดมสมูรณ์ทางระบบนิเวศรอบ ๆ เดมีดิฟอาจต้องใช้เวลาอีกยาวนานในการฟื้นฟู

ขณะที่ โบห์ดัน พรอตส์ จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติยูเครน กล่าวว่า ที่ราบบริเวณแม่น้ำเอียร์ปินั้น เป็นพื้นที่ “ฮอตสปอต” ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีพื้นที่ชุ่มน้ำอันกว้างใหญ่ประกอบด้วยบึง หนองน้ำ ริมฝั่งแม่น้ำที่มีพืชพรรณหนาทึบ

“พื้นที่นี้เคยเต็มไปด้วยปลาดุกยักษ์และปลาสเตอร์เจียน เช่นเดียวกับนกในพื้นที่ชุ่มน้ำและนกล่าเหยื่อ เช่น อินทรีหางขาว ที่ตอนนี้หายไปแล้ว” พรอตส์บอก

เขาบอกว่า เดิมทีพื้นที่บริเวณแม่น้ำเอียร์ปินกำลังประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว ทั้งจากเขื่อน การพัฒนาชุมชนที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแถบนี้

“ระบบนิเวศบริเวณนี้เสื่อมโทรมอย่างมากอยู่แล้วในหลายปีที่ผ่านมา และอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเกิดการฟื้นตัวทางนิเวศวิทยา” เขากล่าวเสริม

แม้การที่น้ำท่วมจะทำให้ความชุ่มชื้นกลับคืนสู่พื้นที่นี้ แต่ความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศเป็นสิ่งที่ไม่อาจฟื้นกลับมาได้ง่าย

ด้าน อเล็กเซย์ วาซิลยัก นักชีววิทยา ผู้ก่อตั้งและประธานกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติยูเครน (UNCG) กล่าวว่า เขาหวังว่า หลังสงครามสิ้นสุด พื้นที่ชุ่มน้ำเอียร์ปินที่ตอนนี้ถูกน้ำท่วม จะยังคงมีน้ำมากขนาดนี้อยู่

“อย่างแรกเลย ตอนนี้มวลน้ำเหล่านี้กำลังทำหน้าที่ป้องกันเมืองเคียฟ ดังนั้นจนกว่าเราจะแน่ใจว่ารัสเซียจะไม่พยายามยึดเคียฟอีก ผมมองว่า เรายังไม่ควรสูบน้ำหรือไล่น้ำบริเวณนี้ออกไป ... ประการที่สอง หากพูดตามสมมติฐาน มันอาจจะกลายเป็นแหล่งวางไข่ที่ดีมากสำหรับพันธุ์ปลาที่ลดจำนวนลงอย่างมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา และยังกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญสำหรับนกในพื้นที่ชุ่มน้ำหายากหลายชนิดอีกด้วย”

แต่วาซิลยักกล่าวว่า ในโอกาส มวลน้ำนี้ก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน เขาบอกว่า “ระบบนิเวศในท้องถิ่นของลุ่มน้ำเอียร์ปินอยู่ในสภาพที่ไม่ดีอยู่แล้วก่อนน้ำจะท่วม และตอนนี้ รถถังและยุทโธปกรณ์ของรัสเซียจำนวนมากจมอยู่ใต้น้ำที่นี่ สารเคมีและน้ำมันจากถังเชื้อเพลิงกับมลพิษจากบรรดายุทโธปกรณ์ถือเป็นภัยคุกคามครั้งใหญ่”

ทั้งโบเรย์โด พรอตส์ และวาซิลยัก ต่างเห็นตรงกันว่า ยูเครนควรเห็นความสำคัญของแม่น้ำเอียร์ปินและพื้นที่ชุ่มน้ำแถบนี้มากกว่านี้

“ในขณะที่ทหารของกองทัพยูเครนกำลังต่อสู้เพื่อหยุดยั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยูเครน เราคิดว่า หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญกับการป้องกันการฆ่าล้างทำลายสิ่งแวดล้อมเช่นกัน” วาซิลยักกล่าว

เขาเสริมว่า “เอียร์ปินอาจเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีค่าและสำคัญที่สุดในยูเครน ไม่ใช่แค่เพราะว่ามันเป็นพื้นที่เปราะบางหรือมีความหลากหลายทางชีวภาพ แต่เพราะหากไม่มีด่านกำแพงน้ำนี้ การต่อสู้เพื่อปกป้องเมืองหลวงอาจมีผลลัพธ์ที่ต่างออกไปมาก”

สรุปเหรียญ ซีเกมส์ 2021 ล่าสุด ประจำวันจันทร์ที่ 23 พ.ค. 65
โปรแกรมถ่ายทอดสดซีเกมส์ 2021 นักกีฬาไทย ประจำวันจันทร์ที่ 16 พ.ค. 65

เรียบเรียงจาก Reuters / The Guardian

ภาพจาก The Guardian

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ