ท่ามกลางข่าวการระบาดของโรคฝีดาษลิงที่ทำให้หลายคนทั่วโลกกังวล อีกโรคหนึ่งที่ระบาดมาตั้งแต่ ต.ค. ปีที่แล้วและยังไม่หายไป รวมถึงยังไม่มีใครทราบสาเหตุการเกิดคือ “โรคตับอักเสบปริศนาในเด็ก”
ล่าสุดมีเด็กทั่วโลกป่วยด้วยเจ้าโรคนี้แล้วมากกว่า 600 ราย และมี 11 รายที่เสียชีวิต โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดสหราชอาณาจักร 197 ราย รองลงมาคือสหรัฐฯ มีผู้ป่วย 180 ราย ซึ่งส่วนใหญ่อาการอยู่ในระดับที่ต้องรักษาในโรงพยาบาล
เฝ้าระวังไวรัสตับอักเสบระบาดในเด็ก หลังพบคนอายุต่ำกว่า 10 ปีป่วยมากสุด
พบเด็กป่วย “ตับอักเสบปริศนา” แล้วเกือบ 300 รายใน 20 ประเทศทั่วโลก
ญี่ปุ่นพบเด็กป่วย “ตับอักเสบปริศนา” เคสแรกของเอเชีย หลังพบใน 12 ประเทศ
แต่แม้ว่าจะมีการตรวจพบผู้ป่วยโรคตับอักเสบปริศนามากขึ้น แต่สาเหตุการเกิดโรคนี้ยังคงเป็นปริศนา
การพบผู้ป่วยโรคตับอักเสบรุนแรงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ โดยปกติ สหราชอาณาจักรมีผู้ที่ต้องปลูกถ่ายตับ 8-10 รายในแต่ละปี แต่ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ป่วยต้องเข้ารับการปลูกถ่ายตับไปแล้วถึง 11 ราย
จากการตรวจเลือดพบว่า โรคตับอักเสบปริศนานี้ ไม่ได้เกิดจากตัวก่อโรคตามปกติใดเลย รวมถึงไวรัสตับอักเสบ A, B, C, D และ E ก็ไม่ใช่สาเหตุของโรคตับอักเสบปริศนาตัวนี้
ผู้ต้องสงสัยอันดับต้น ๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้เชี่ยวชาญคือ ไวรัสอะดีโน (Adenovirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคทั่ว ๆ ไปหลายโรค รวมถึงหวัดธรรมดา หรือท้องร่วง ไวรัสตัวนี้มีกว่า 50 ชนิดที่แตกต่างกัน
โดยมีการตรวจพบไวรัสอะดีโนในเลือดของผู้ป่วยโรคตับปริศนาส่วนใหญ่ โดยเฉพาะไวรัสอะดีโน 41 ซึ่งมักก่อให้เกิดกระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ แต่ปกติไม่ได้ทำให้เกิดตับอักเสบ
อีกสาเหตุหนึ่งที่อาจเป็นไปได้ คือ เป็นผลกระทบระยะยาวจากโควิด-19 เพราะในช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนัก มีการพบความเชื่อมโยงระหว่างโควิด-19 กับการทำงานของตับที่ผิดปกติ รวมถึงความเป็นไปได้ในการเกิดโรคตับอักเสบหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ก็เคยทีรายงานพบทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ตลอดช่วงเวลาที่มีการระบาดใหญ่
ขณะเดียวกัน บางคนมองว่า โรคตับอักเสบปริศนา อาจเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก หรือ มิสซี (MIS-C) ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังติดเชื้อโควิด-19
อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศพบว่า เด็กที่เป็นโรคตับปริศนาบางราย ไม่มีประวัติการติดเชื้อโควิด-19 เลย
ด้วยเหตุนี้ แม้ผ่านมา 7 เดือนแล้วนับตั้งแต่มีการพบเด็กที่ป่วยโรคตับปริศนาครั้งแรก แต่ยังคงไม่มีใครทราบสาเหตุการเกิด ทำให้การรักษายังคงเป็นการรักษาไปตามอาการ และไม่มีวิธีการป้องกันที่แน่ชัด
เรียบเรียงจาก The Guardian
ภาพจาก Shutterstock
พบมาลาเรียสายพันธุ์ “โนวไซ” แพร่เชื้อจากลิงสู่คน ตราดป่วยแล้ว 11 ราย